ไม่รู้จักฉัน ไม่รู้จักเธอ : คนล่องหนในพื้นที่สาธารณะจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

Khemmachart Tonboon

บทคัดย่อ

คนไร้บ้านเป็นบุคคลที่ใช้พื้นที่สาธารณะในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้พื้นที่เพื่ออาศัยพักผ่อนและใช้ทำมาหากิน ซึ่งมักถูกคนทั่วไปมองว่าเป็นคนที่ก่อให้เกิดภาระต่อสังคม และเกี่ยวข้องกับปัญหาอาชญากรรมต่างๆ แต่แท้จริงแล้วคนไร้บ้านเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและเป็นกลุ่มด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการและหลักประกันด้านต่างๆ


            ในการสำรวจประชากรคนไร้บ้านเชียงใหม่ พบว่าภูมิหลังของคนไร้บ้านเชียงใหม่อยู่ในเขตภาคเหนือและมีสาเหตุการกลายมาเป็นคนไร้บ้านมาจากปัญหาทะเลาะกับคนในครอบครัว และต้องการชีวิตอิสระ ทั้งนี้ คนไร้บ้านเชียงใหม่มีความต้องการปัจจัยขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในพื้นที่สาธารณะ และความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินของคนไร้บ้าน


            อย่างไรก็ตาม การจัดการปัญหาของคนไร้บ้านจะมีทั้งหน่วยงานภาครัฐและฝ่ายต่างๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้าน โดยหน่วยงานภาครัฐจะบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและให้อาศัยชั่วคราวในศูนย์คนไร้ที่พึ่ง รวมถึงองค์กรฝ่ายต่างๆ เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นักวิชาการ สถาบันการศึกษา เป็นต้นจะเป็นฝ่ายสนับสนุนให้คนไร้บ้านรวมกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่ายในการผลักดันแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน สิ่งสำคัญในการจัดการปัญหาคนไร้บ้านคือการปรับเปลี่ยนมุมมองทัศนคติที่มีต่อคนไร้บ้าน ผู้มีชีวิตในพื้นที่สาธารณะในฐานะเพื่อนมนุษย์ ไม่ได้เป็นปัญหาของสังคม ซึ่งต้องได้รับการคุ้มครองเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Boonlert Visetpricha. “โลกของคนไร้บ้าน พิมพ์ครั้งที่ 3”. [Homeless society (3th ed.)]. Nonthaburi: Sameskybooks Publishing, 2017. (in Thai)

Committee on Social, Children, Youth, Women, the Elderly, the Disabled and the Underprivileged Affairs, The National Legislative Assembly. “การให้โอกาสกับผู้ด้อยโอกาส”. [Giving disadvantaged people a chance]. Accessed March 2, 2018. https://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures /comm/1549/ file_1435217194.docx. (in Thai)

Hampan Boonyoiyad and Permsak Makarabhirom. (2012). “สิทธิมนุษยชนกับกระบวนการต่อสู้ของคนไร้บ้านในเขตพระนคร”. [Human Rights and the Struggles of the Homeless in Phra-Nakorn District]. Parichart journal Vol 25 No 3 (2012). (in Thai)

Issarachon Foundation. "ความหมายของผู้ใช้ชีวิตที่สาธารณะ”. [Meaning of People live in Public area]. (n.d.). Accessed March 2, 2018. https://issarachon.org/vision-mission-definition-thai/. (in Thai)

Nantachat Nusrikaew. “รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การสำรวจสถานการณ์ประชากรคนไร้บ้านเทศบาลนครเชียงใหม่”. [On Account of the Research "Survey of Homeless People in Chiangmai]. Bangkok : Thai Health Promotion Foundation, 2017. (in Thai)
Naruepon Duangwiset. “ความหมายของคำว่า"คนไร้บ้าน"”. [Meaning of “Home” of homeless]. (n.d.). Accessed March 2, 2018. https://www.sac.or.th/databases/ anthropology-concepts/glossary/66. (in Thai)

Nopphan Phromsri. “รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาแนวทางช่วยเหลือบุคคลไร้ที่อยู่อาศัย (คนไร้บ้าน) : กรณีการจัดศูนย์พักคนไร้บ้าน ภายใต้ชุดโครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะด้านสิทธิที่เชื่อมโยงกับสุขภาวะ”. [The Humanitarian Assistance Project for Homeless People: A Case Study at a Homeless Shelter under the Development Program, Participation in Public Policy Setting about the Rights Linked to Wellness]. (n.d.). Accessed March 2, 2018. https://humanset.org /index.php/action/life/homeless/18-2013-09-20-15-04-57. (in Thai)

Paisit Panitchkul. “รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและสนับสนุนองค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้าน”. [Problem Analysis of Legal Knowledge Supporting to Improve Life of Homeless People, A Complete Research]. Bangkok : Thai Health Promotion Foundation, 2017. (in Thai)

Penguin Homeless. “คนไร้บ้านเชียงใหม่ เดอะซีรีส์ (2) จากคนไร้บ้านสู่คนทำงานพัฒนา”. (2017, May 22). [From Homeless Person to Development Worker]. Accessed March 2, 2018. https://penguinhomeless.com/thong-homelessseries-chiangmai/. (in Thai)

Penguin Homeless “คนไร้บ้านเชียงใหม่ เดอะซีรีส์ (6) ผู้หยิ่งทระนง เย้ยฟ้า ท้าทายชีวิตพิการ และไร้บ้าน #1”. [The Man Who's Homeless, Handicapped, Arrogant and Uncompromising]. (2018, February 14). Accessed March 2, 2018. https://penguinhomeless.com/homeless-chiangmai-series-narin/. (in Thai)

Prachatai. “Asean Weekly : ชีวิตคนไร้บ้านในมะนิลา”. [Asean Weekly: Homeless People on the Streets of Manila.]. (2013, September 19). Accessed March 2, 2018. https://prachatai.com /journal/2013/09/48828. (in Thai)

Prachatham. “คนไร้บ้าน อีกด้านของชีวิตที่มีทางเลือก”. [Homeless People, Another Side of Alternative Life]. (2017, February 24). Accessed March 2, 2018. https://prachatham.com/article_detail.php?id=469. (in Thai)

Rittirong Chutapruttikorn et al. “ความหมายของคำว่า “บ้าน” ของคนไร้บ้าน”. [Meaning of “Home” of Homeless”]. Veridian E-Journal, Vol 8 No 1 (January - April). (in Thai)

Shayaniss Khono. “รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ อายุเฉลี่ยที่เสียชีวิตและการเสียชีวิตของคนไร้บ้านในกรุงเทพมหานคร”. [Average Age to Death and Death of Homeless People in Bangkok, A Complete Research]. Bangkok : Thai Health Promotion Foundation, 2017. (in Thai)

Sudarut Kaewgumnerd. “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองคนเร่ร่อน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557”. [Legal Problems on the Protection of the Homeless under the Vagrant Protection Act B.E. (2014)]. Master of Law, Public law, faculty of law, Sripatum University, 2016. (in Thai)

Yanika Aksornnum. “พลวัตความหมายคำว่า “บ้าน” ของคนไร้บ้าน”. [House, Shelter, Home: Homelessness and Dynamic Meanings of Home Among the Homeless]. Master of art, Faculty of Sociology and Anthropology Thammasat University, 2015. (in Thai)