การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลกับคดีเกี่ยวกับความมั่นคง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและข้อจำกัดของการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง และอธิบายเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของพยานหลักฐานดิจิทัล ตลอดจนแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานดิจิทัลในคดีอาญา โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยและการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึกจากนักวิชาการ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล จากการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีการจัดทำมาตรฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล โดยศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ทำให้กระบวนการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลมีมาตรฐานการปฏิบัติการที่ชัดเจน แต่อำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตรวจพยานหลักฐานดิจิทัลรวมศูนย์อยู่ที่หน่วยงานภาครัฐ
ในคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐานดิจิทัล โดยเฉพาะในคดีความมั่นคงที่รัฐเป็นผู้ฟ้องคดี พบว่ามีประเด็นความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นกับผู้ถูกกล่าวหา เช่น ข้อจำกัดในการเข้าถึงและการรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล และประเด็นสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในคดีความมั่นคง ตลอดจนการรับฟังและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานดิจิทัลของศาล เป็นต้น
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้ กล่าวคือ ในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการจัดการพยานหลักฐานดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการสืบสวน สอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐานดิจิทัล ตลอดจนการรับฟังพยานหลักฐานดิจิทัล ควรมีแนวทาง มาตรฐานการปฏิบัติที่ชัดเจนและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตลอดจนการเปิดโอกาสให้หน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพและมาตรฐานเข้ามาร่วมทำงานในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัล อีกทั้งควรมีกฎหมายหรือหลักประกันที่เป็นมาตรฐานในการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐาน ซึ่งนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
We are social. “Digital 2019.” We are social. accessed April 12 2020 https://wearesocial .com/global-digital-report-2019.
เจษฎา คำรินทร์. “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ในคดีอาญา.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศ์ 6, ฉ.9 (2562): 4549-4550.
แลร์รี อี แดนเนียล และลาร์ส อี แดนเนียล. การตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย.แปลโดย สุนีย์ สกาวรัตน์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง, 2559.
ไอซีที. “8 เดือนคดีไซเบอร์แซงปี61 ปอท. เฟ้นหาไวต์แฮกเกอร์.” ประชาชาติธุรกิจ. 13 กันยายน 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563. https://www.prachachat.net/ict/news-370708.
ไอลอว์. “ฐานข้อมูลคดีสุรภักดิ์.” ไอลอว์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 https://freedom. ilaw.or.th/th/case/176.
ไอลอว์. “ฐานข้อมูลคดีอำพล : อากงเอสเอ็มเอส.” ไอลอว์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2562 https://freedom.ilaw.or.th/th/case/21.
ไอลอว์. “สถิติศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ.” ไอลอว์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 https://freedom.ilaw.or.th/case?page=7&Offense=9%2B10&d_ from=&d_to =&k=&p=.
นลินี ฐิตะวรรณ. โลกใหม่ ใครกำกับ?. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง, 2557.
ประชาไท. “การรวบรวมพยานหลักฐานในคดีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์.” ประชาไท. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 https://prachatai.com/journal/2019/12/85402#_ftn14.
ประชาไท. “หลักฐานดิจิทัล#1: ความเข้าใจพื้นฐาน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องรู้!.” ประชาไท. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 https://prachatai.com/journal/2015/10/61879.
ประชาไท. “หลักฐานดิจิทัล#1: ความเข้าใจพื้นฐาน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องรู้!.” ประชาไท. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 https://prachatai.com/journal/2015/10/61879.
ปิยบุตร แสงกนกกุล. “สภาวะยกเว้นในความคิดของ Giorgio Agamben.” วารสารฟ้าเดียวกัน 8, ฉ.1 (2553): 84-91.
พรเพชร วิชิตชลลัย. คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2555.
ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์. ข้อเสนอแนะมาตรฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์ พยานหลักฐานดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, 2559.
ศูนย์ดิจิทัลฟอเรนสิกส์. ข้อเสนอแนะมาตรฐานการจัดการอุปกรณ์ดิจิทัลในงานตรวจพิสูจน์ พยานหลักฐานดิจิทัล.กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, 2559.
สำนักการต่างประเทศ. “รายงานของคณะข้าราชการตุลาการหลักสูตร กฎหมายอาชญากรรม คอมพิวเตอร์และกฎหมายเกี่ยวกับพยานหลักฐานดิจิตอล.” สำนักการต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 https://oia.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/9041/iid/154331.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. “ศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภา.” สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2563 http://www.royin.go.th/coined_word/.