การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวและสิทธิในชื่อเสียงโดยการประจานในพื้นที่ซื้อขายสินค้าออนไลน์

Main Article Content

ณัฐณิชา คุ้มแพทย์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อมนุษย์ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ซ) หรือการซื้อขายสินค้าออนไลน์ เนื่องจากการทำธุรกรรมมีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยผู้ประกอบธุรกิจไม่จำเป็นต้องเปิดร้านเป็นของตัวเอง แต่สามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อขายสินค้าบนพื้นที่ออนไลน์ได้ และผู้บริโภคก็สามารถเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การซื้อขายสินค้าออนไลน์ส่งผลให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กันแบบตัวต่อตัว อีกทั้งธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ผู้บริโภคต้องเป็นฝ่ายโอนเงินให้กับผู้ประกอบธุรกิจก่อนจึงจะได้รับมอบสินค้า แนวปฏิบัติในรูปแบบเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมา กล่าวคือ ในกรณีที่ผู้บริโภคสั่งสินค้าแต่ไม่ได้โอนเงินไปให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือยกเลิกการสั่งสินค้า ผู้ประกอบธุรกิจบางรายจะนำข้อความการสนทนาออนไลน์ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลบางอย่างที่อาจระบุตัวตนของผู้บริโภคได้มาประจานต่อสาธารณชนซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว เช่น ชื่อและสกุล รูปถ่ายบุคคล ที่อยู่ อี-เมล์ หรือชื่อบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น


            การกระทำดังกล่าวเป็นมาตรการลงโทษผู้บริโภคโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการทำให้ผู้บริโภคเสียชื่อเสียง โดยผู้ประกอบธุรกิจบางรายเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำในการเตือนผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น ให้ระมัดระวังพฤติกรรมหรือหลีกเลี่ยงการขายสินค้าให้กับผู้บริโภครายนั้น ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคสำหรับกรณีดังกล่าวจากกฎหมายหลายฉบับ พบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 มีมาตรการที่ครอบคลุมที่สุด เนื่องจากมีกลไกการเยียวยาผู้บริโภคหลายกลไก ได้แก่ การร้องเรียนผ่านคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ การเยียวยาผู้บริโภคทางแพ่ง และความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจ (ผู้ควบคุมข้อมูล) ทั้งทางอาญา และทางปกครอง โดยผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ หากผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจสามารถประนีประนอมได้สำเร็จตั้งแต่ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยจากกลไกการร้องเรียนก็จะเป็นประโยชน์ต่อคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมากที่สุด


            อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่าควรเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการโฆษณาคำขอโทษ คำสั่งของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ หรือคำพิพากษาของศาลไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติในช่องทางเดียวกับที่กระทำละเมิดด้วยเช่นเดียวกับบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา จะทำให้การคุ้มครองเยียวยาผู้บริโภคมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Al-Dwairi, Radwan. “E-commerce Web Sites Trust Factors: An Empirical Approach.” ResearchGate. accessed July 18, 2018. https://www.researchgate.net/ profile/Radwan_AlDwairi2/publication/279769373_E- commerce_web_ sites_trust_factors_An_empirical_approach/links/5763d4c608ae421c447f401d/E-commerce-web-sites-trust-factors-An-empirical-approach.pdf?origin= publication_detail. (p. 5)

Antebi, Sabrina. “The New Age of Scarlet-Letter Punishment.” Justice Action Center Student Capstone Journal, (2008): 1-20. accessed April 29, 2018, http://www.nyls.edu/documents/justice-action-center/student_capstone_ journal/capstone070801.pdf.

Goldman, Lauren M. “Trending Now: The Use of Social Media Websites in Public Shaming Punishments.” American Criminal Law Review 52, no. 415 (2015): 418.

McKnight, D. Harrison, and Norman L. Chervany. “What Trust Means in E-Commerce Customer Relationships: An Interdisciplinary Conceptual Typology.” International Journal of Electronic Commerce 6, no. 2 (2001 – 2002): 35-59.

Udo, Godwin. “Privacy and Security Concerns as Major Barriers for e‐commerce: A Survey Study.” Information Management & Computer Security 9, no. 4 (2001): 165-174. accessed April 8, 2018, https://www.researchgate.net/ profile/Godwin_Udo2/publication/220208001_Privacy_and_security_concerns_as_major_barriers_for_ecommerce_A_survey_study/links/55e4cf9f08ae2fac4722f291/Privacy-and-security-concerns-as-major-barriers-for-e-commerce-A-survey-study.pdf

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : พลสยามพริ้นติ้ง, 2551.

เครือข่ายพลเมืองเน็ต. “รายงานพลเมืองเน็ต 2556.” เครือข่ายพลเมืองเน็ต. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2561. https://thainetizen.org/wp-content/uploads/netizen-report-2013.pdf. (หน้า 39)

เจษฎา ชมภูจันทร์. “กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ศึกษากรณีข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ให้เปิดเผย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ, 2556.

เรย์มอนด์ แวคส์. ความเป็นส่วนตัว: ความรู้ฉบับพกพา = Privacy: A Very Short Introduction.กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส, 2556.

แบรีแมน, เจอรัลด์ ดี. เบื้องหลังหน้ากาก. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2549.

ไพจิตร ปุญญพันธ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะละเมิด. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: นิติบรรณการ, 2553.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. “E-commerce ไทย ผู้ซื้อมั่นใจ ผู้ประกอบธุรกิจเชื่อถือได้.” กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561. http://www.dbd.go.th/mobile/news_view.php?nid=4179.

กรุงเทพธุรกิจ, “ศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก ‘ศิริโชค’ 2 ปี หมิ่นนักธุรกิจดัง,” กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 เมษายน 2563, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/ 833948.

กิตติพันธุ์ เกียรติสุนทร. “มาตรการทางอาญาในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.

คณะวิชาการ. ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ล่าสุด พ.ศ.2562). กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร, 2562.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิดและลหุโทษ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2557.

นพมาศ เกิดวิชัย. “การพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557.

บูดิเยอร์, ปิแยร์. เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2550.

ภัทรศักดิ์ วรรณแสง. หลักกฎหมายละเมิด. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555.

วิชัย อริยะนันทกะ. รวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ 72 ปีการศึกษา 2562 เล่ม 5. การบรรยายครั้งที่ 1 วิชากฎหมายลักษณะละเมิด, 2562.

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. “บทที่ 6 Access Control.” สืบค้นวันที่ 25 เมษายน 2561. http://www.ce.kmitl.ac.th/download.php?DOWNLOAD_ID=1353&database=subject_download.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). “รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560.” สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การ มหาชน). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561. https://www.etda.or.th/publishingdetail/thailand-internet-user-profile-2017.html. (หน้า 24)