มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับนายหน้ารายย่อยและแรงงานเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่อง

Main Article Content

สุรศักดิ์ มีบัว
ศิริมา ทองสว่าง

บทคัดย่อ

ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเป็นลำดับต้นๆ ของโลก แต่อย่างไรก็ดียังคงประสบสภาวะขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่อง จึงต้องพึ่งพาแรงงานเมียนมาเข้ามาทดแทนและขับเคลื่อนภาคการผลิตในอุตสาหกรรมดังกล่าวให้ดำเนินต่อไปได้ แต่ในทางกลับกันการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติมีข้อจำกัดบางประการเกิดขึ้นและก่อให้เกิดผลกระทบตามมา ผลการวิจัย พบว่าจากปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดทำให้แรงงานเมียนมาต้องการเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องจำนวนมาก แต่ด้วยข้อจำกัดบางอย่างทำให้เกิดนายหน้ารายย่อยประเภทต่างๆ ขึ้นมาและมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยสัมพันธ์กับความต้องการแรงงานเพื่อเข้ามาเติมเต็มตำแหน่งงานที่ว่างลง ลักษณะของนายหน้านั้นประกอบไปด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายที่ทำงานร่วมกันทั้งคนเมียนมาและคนไทย ซึ่งช่วยเหลือแรงงานเมียนมาด้านต่างๆ โดยเรียกหรือรับค่าจ้างตอบแทนจำนวนสูงในการอำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง การจัดทำเอกสารและการขจัดปัญหาเมื่อมีการดำรงอยู่และตั้งถิ่นฐานของแรงงานเมียนมาในพื้นที่ ก่อให้เกิดลักษณะการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยการเรียกหรือรับสินบนเพื่อละเว้นกระทำการหรือเร่งดำเนินการ ส่งผลกระทบทั้งต่อแรงงานเมียนมาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ รวมทั้งกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ และแม้ว่าทุกภาคส่วนพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ยังไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้ เนื่องด้วยปัจจัยที่เอื้อให้นายหน้าและการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถดำรงอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับการคอร์รัปชัน ข้อจำกัดของแรงงานเมียนมาและเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคนเข้าไปมีส่วนได้เสียโดยอาศัยอำนาจหน้าที่ ผู้เขียนจึงเสนอแนะการแก้ไขปัญหา 2 ประการ ได้แก่ มาตรการในการป้องกันควรบูรณาการความร่วมมือจากคนในสังคมในการแจ้งเบาะแสโดยปรับปรุงมาตรการจูงใจให้มีความชัดเจน ทบทวนกระบวนการจัดทำบัตรผ่านแดนให้มีความเข้มงวด ปรับปรุงกระบวนการจัดทำเอกสารของแรงงานเมียนมาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตัดวงจรนายหน้าที่เชื่อมโยงกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนมาตรการในการปราบปรามควรทบทวนบทกำหนดโทษทางกฎหมายแก่แรงงานเมียนมาและนายจ้างให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมและเศรษฐกิจ แต่ควรกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่คอร์รัปชันเพื่อให้เกิดความเกรงกลัว ซึ่งจะส่งผลให้การคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐลดลงในท้ายที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. “กรมเจรจาฯ พอใจความตกลงเอฟทีเอ ดันส่งออก สินค้า ประมงและผลิตภัณฑ์อาหารทะเลไทยขึ้นอันดับ 2 ของโลก.” สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2562 https://uatweb.dtn.go.th/th/news/5cff75a01ac9ee073b7c07b5?cate=5

cff753c1ac9ee073b7bd1c5.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. ทฤษฎีการลงโทษ ชุดกฎหมายและอาชญาวิทยาชั้นสูง หน่วยที่ 6. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.

มาลี เจษฎาลักษณ์, “กระบวนการเข้าสู่ตลาดแรงงานของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารทะเลแปรรูป จังหวัดสมุทรสาคร” (การ ค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารจัดการสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558), 7-8. อ้างถึงใน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย, “สถานการณ์อพยพข้ามชาติในประเทศไทย,” เอกสารวิชาการคณะกรรมการสมานฉันท์ แรงงานไทย. ลำดับที่ 1:1.

วิลาสินี โสภาพล. “พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวแก้ปัญหาไม่ตรงจุด มุ่งแต่สร้างความหวาดกลัว.” สืบค้น เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 https://www.thairath.co.th/content/993333

สภาทนายความ. นโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิรักษ์

ไทย, 2554.

สภานิติบัญญัติ. คณะกรรมาธิการพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและการแรงงาน. “รายงานพิจารณา เรื่อง แนวทางการลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือสำหรับภาคอุตสาหกรรม.” สืบค้น เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562

https://www.senate.go.th/document/m Subject/Ext85/85403_0001. PDF?fbclid=IwAR3a0lvr0uFm_3h7W0Szzu1Sa0qjNkOXFAmSdDBCQOhY10

H8T-iE7jVloE

สถานทูตสหรัฐฯและสถานกงสุลในประเทศไทย. “คำแถลงเรื่องรายงานการค้ามนุษย์ประจำปี พ.ศ. 2561.” สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2562 https://th.usembassy.gov/th/statement–on–2018–trafficking–in–persons– tip–report–th/

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. “เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ/เส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน.” สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=

&chap=5&page=t32-5-infodetail04.html

สิริรัฐ สุกันธา. “การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศ ไทย.” วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 18, ฉ.1 (2557): 55.

สมพงศ์ สระแก้ว และคณะ. รายงานสถานการณ์เด็กข้ามชาติและแรงงานเด็กข้ามชาติในกิจการ อุตสาหกรรมต่อเนื่องประมง พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพ: แตร์เดอ ซอมม์ เยอรมันนีและมูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน, 2558.

สำนักงานสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ. แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวใน เขตเศรษฐกิจพิเศษ กรณีศึกษา: เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด. กรุงเทพฯ: บางกอก บล๊อก, 2558.

อุดม รัฐอมฤต. การแก้ไขปัญหาการทุจริตในระบบการเมืองและวงราชการไทย. กรุงเทพฯ: สำนัก เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544.

Khoman, Sirilaksana, Chayun Tantivasadakarn, and Phongthorn Wrasai. ComparativeStudy of Anti - corruption Measures and Procedures in Selected APEC Economies. Singapore: APEC Secretariat. 2009.

Lovell, R. B. (1980). Adult Learning. อ้างถึงใน พรทิพย์ วานิชจรูญเกียรติ, “ความคิดเห็นของ ผู้แทนยาของบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทยที่มีต่อปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงาน” (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553), 11.

Migrant Working Group. “Statistics, Policies and Laws related to Migrant.” Accessed May 30, 2019 https://mwgthailand.files.wordpress.com/2017/09/migrant- policy-and-law-by-mwg-july-august-17-en.pdf