งานวิจัยทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศหลากหลายในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การยอมรับบุคคลเพศหลากหลายที่เพิ่มมากขึ้นโดยลำดับในสังคมไทยไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิความเสมอภาคของบุคคลเพศหลากหลายเท่านั้น ในขณะเดียวกันการศึกษาวิจัยในประเด็นสิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศหลากหลาย เริ่มได้รับความสนใจจากนิสิตนักศึกษาตลอดจนนักวิชาการในหลายสถาบัน ทว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศหลากหลายในประเทศไทยยังคงจำกัดอยู่เฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติ ในบริบทของการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อบุคคลเพศหลากหลายหรือการขาดกฎหมายรับรองสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศหลากหลาย โดยการวิพากษ์ถึงความสอดคล้องของบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือร่างพระราชบัญญัติฉบับต่างๆ กับหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ละฉบับเป็นหลัก ในขณะที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนภายใต้บริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับก่อน ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อความเสมอภาคในสิทธิเสรีภาพของบุคคลเพศหลากหลายได้ ประกอบกับการที่สิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศหลากหลายมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับในระบบกฎหมายไทยอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนำไปสู่สภาพปัญหาใหม่ด้านกระทบต่อสังคมและระบบกฎหมายที่ยังไม่เคยได้รับการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังมาก่อน รวมทั้งยังคงขาดการศึกษาวิจัยที่ลึกซึ้งถึงหลักเกณฑ์ที่มีลักษณะเชิงภววิสัยและเป็นระบบในสาระสำคัญของเพศ การสมรสและครอบครัวในระบบกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพศหลากหลาย ซึ่งจะทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับสิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศหลากหลายในประเทศไทยมีความสมบูรณ์และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
Raub, Amy, Cassola, Adele, Latz, Isabel and Jody Heymann. “Protections of Equal Rights across Sexual Orientation and Gender Identity: An Analysis of 193 National Constitutions.” Yale Journal of Law and Feminism 28, no. 1 (2017): 149-169.
Sáez, Macarena. “Same-Sex Marriage, Same-Sex Cohabitation, and Same-Sex Families Around the World: Why “Same” is so Different?” American University Journal of Gender Social Policy and Law 19, no. 1 (2011): 1-54.
Suriyasarn, Busakorn. Gender Identity and Sexual Orientation in Thailand. Bangkok: International Labour Organization, 2014.
Swennen, Frederik, and Yves-Henri Leleu. “National Report: Belgium.” American University Journal of Gender Social Policy and Law 19, no. 1 (2011): 57-84.
ฉัตรชัย เอมราช. “ความไม่เสมอภาคในการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .....” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557.
ชวลิต ศรีโฉมงาม และคณะ. รายงานการวิจัย เรื่อง การคุ้มครองสิทธิในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2559.
ชวินโรจน์ ธีรพัชรพร. “สิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกกฎหมายมหาชน, สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559.
ชัญญานุช วรแสน. “ปัญหาการได้มาซึ่งสิทธิในการขอถือสัญชาติโดยการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558.
ญาดา ศิริสม. “วิเคราะห์ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนคู่ชีวิต ศึกษากรณีการรับบุตรบุญธรรม.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.
ณนุช คำทอง. “การสมรสของพวกรักร่วมเพศ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546.
ณัฐวุฒิ ชัยสายัณห์. “กฎหมายรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มบุคคลที่มีเพศวิถีแบบรักเพศเดียวกัน.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558.
ณัฐวุฒิ ชื่นโพธิ์กลาง. “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรับรองสถานภาพสมรสของบุคคลที่มีเพศเดียวกัน.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตร์, คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต, 2557.
ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์, มณีมัย ทองอยู่, และเยาวลักษณ์ อภิชาตวัลลภ. “ผลจากการแปลงเพศสู่การพัฒนาตัวตนคนข้ามเพศ,” วารสารวิจัย มข 1, ฉ. 1 (2554): 79-94.
ไพโรจน์ กัมพูสิริ. “การสมรสของบุคคลที่มีเพศเดียวกัน (ภาคสาม).” วารสารนิติศาสตร์ 43, ฉ. 2 (2557): 242-263.
ไพโรจน์ กัมพูสิริ. “พัฒนาการของกฎหมายเกี่ยวกับการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกันในประเทศฝรั่งเศส.” วารสารนิติศาสตร์ 43, ฉ. 3 (2557): 498-515.
ภาณพ มีชำนาญ. “การศึกษาสภาพปัญหาความเสียเปรียบของคู่ความหลากหลายทางเพศอันเนื่องมาจากการไม่มีกฎหมายรับรองการสมรสในประเทศไทย.” การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
ยุทธนา สุวรรณประดิษฐ์. “สิทธิและเสรีภาพของรักร่วมเพศชายตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ: วิเคราะห์จากปัญหาของสังคมไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชานิติศาสตร์, ภาควิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
ริญญาภัทร์ ณ สงขลา. “การรับรองสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558.
วราภรณ์ อินทนนท์. “การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของปัจเจกชนบนพื้นฐานของความหลากหลายทางเพศ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขากฎหมายระหว่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.
วิชาญ ทรายอ่อน. “เพศสภาพ.” ห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 http://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2558/hi2558-055.pdf
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. “รายงานการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 24 วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2557.” 13 พฤศจิกายน 2557.
สภาร่างรัฐธรรมนูญ. “หนังสือที่ 0912/2550 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงาน คณะกรรมาธิการวิสามัญบันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุและตรวจรายงานการประชุม สภาร่างรัฐธรรมนูญ.” 3 สิงหาคม 2550.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. “จากระบบกฎหมายแบบทวิเพศสู่ระบบกฎหมายแบบพหุเพศ,” วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6, ฉ. 1 (2556): 5-25.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. บุคคลเพศหลากหลายในระบบกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ, 2558.
อารยา สุขสม. “รัฐธรรมนูญไทยกับความหลากหลายทางเพศ,” วารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 11, ฉ. 2 (2561): 87-120.
อารยา สุขสม. “สิทธิมนุษยชนในเรื่องวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศในระบบกฎหมายไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2559.