ผู้บัญชาการทหารสูงสุด: ประวัติศาสตร์ผู้เผด็จการภายใต้ ระบอบรัฐธรรมนูญไทย ช่วง พ.ศ. 2483 – 2487

Main Article Content

ศุภณัฐ บุญสด

บทคัดย่อ

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎรจะนำมาสู่การก่อตั้งระบอบประชาธิปไตย ผ่านการจัดทำรัฐธรรมนูญเพื่อประกาศให้อำนาจสูงสุดภายในรัฐเป็นของประชาชนและจัดตั้งองค์กรทางรัฐธรรมนูญที่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนขึ้นมาใช้อำนาจรัฐตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ แต่ชีวิตของระบอบใหม่ก็มิได้ดำเนินไปอย่างปกติตลอดเวลาหลังจากนั้นแต่อย่างใด เพราะระบอบใหม่ของคณะราษฎรต้องเผชิญกับทั้งวิกฤติการตอบโต้ของขบวนการทางการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองและที่สำคัญที่สุดคือภัยอันเกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้บทบาทของคณะราษฎรฝ่ายทหารในฐานะผู้พิทักษ์ของระบอบใหม่สูงเด่นขึ้นจนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายด้วยการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่มีชื่อว่าผู้บัญชาการทหารสูงสุดให้มีสถานะเป็นผู้เผด็จการแบบชั่วคราวเพื่อใช้อำนาจเด็ดขาดทางการทหารทำภารกิจทางการสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้เผด็จการชั่วคราวก็ได้มีพลวัตจนนำมาสู่การยกเว้นระบบการเมืองและกฎหมายที่ถูกก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 และถ่ายโอนอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติและการบังคับบัญชาองค์กรตุลาการซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่ใช้อำนาจตุลาการให้มาอยู่กับผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตำแหน่งดังกล่าวจึงแปรสภาพเป็นผู้เผด็จการแบบรัฏฐาธิปัตย์ซึ่งได้ใช้อำนาจก่อตั้งระบอบเผด็จการทหารขึ้นมาแทนที่ระบอบประชาธิปไตยที่คณะราษฎรมุ่งสร้างขึ้นในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2483 – 2487 ในท้ายที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

“Dictatorship.” etymonline. accessed January 1. 2021. https://www.etymonline.com /word/dictatorship.

Schmitt, Carl. Dictatorship. Cambridge : Polity Press, 2014.

Varol,Ozan O.. “The democratic Coup d’Etat.” Havard International Law Journal. 53, No.2 (Summer 2012): 291-359.

กุหลาบ สายประดิษฐ์. เบื้องหลังการปฏิวัติ 2475. กรุงเทพมหานคร : มิ่งมิตร, 2548.

แจ้งความประธานคณะกรรมการราษฎร ย้ายและบรรจุนายทหาร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 ตอน ง, (6 กรกฎาคม 2475) : 1281-1284.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. ปฏิวัติ 2475. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2560.

ณัฐพล ใจจริง. กบฏบวรเดช : เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475. กรุงเทพมหานคร : มติชน, 2559.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2559.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกรมบัญชาการทัพใหญ่ เรื่อง ยกเลิกกำหนดในทางอรรถคดีให้ดินแดนบางแห่งเป็นเขตซึ่งกองทัพได้กระทำสงคราม. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 62 ตอน 15 ก (13 มีนาคม 2488): 216-217.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกรมบัญชาการทัพใหญ่ เรื่อง ยกเลิกข้อบังคับกองบัญชาการทหารสูงสุดที่ 1/2485. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 61 (28 พฤศจิกายน 2487): 1151.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกรมบัญชาการทัพใหญ่ เรื่อง ยกเลิกคำสั่ง ท. สนาม ที่ 54/86, ที่ 76/86, ที่ 131/86. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 62 ตอน 11 ง (11 กุมภาพันธ์ 2488): 201-202.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกรมบัญชาการทัพใหญ่ เรื่อง ยกเลิกคำสั่งและระเบียบของกองทัพสนามเกี่ยวกับเรืองการควบคุมยานยนต์เพื่อประโยชน์แห่งการสงครามและห้ามนำยานพาหนะออกนอกราชอาณาจักร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 62 ตอน 58 ง (23 ตุลาคม 2488): 1558-1559.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกรมบัญชาการทัพใหญ่ เรื่อง ยกเลิกประกาศของกองบัญชาการทหารสูงสุดออกตามประกาศแก้ไขเพิ่มเติมการใช้กฎอัยการศึก ลงวันที่ 25 เมษายน พุทธศักราช 2485. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 61 ตอน 79 ก (31 ธันวาคม 2487): 1296-1297.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องตั้งผู้บัญชาการทหารบก. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 ตอน ง (16 มกราคม 2481): 1387-1388.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง การปกครองสหรัฐไทยเดิม. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 60 ตอน 31 ก (15 มิถุนายน 2486): 1082-1083.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง กำหนดหน้าที่คณะกรรมการประสานงานทหาร-พลเรือน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอน 11 ก (17 กุมภาพันธ์ 2485): 477-478.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง ตั้งคณะกรรมการประสานงานทหาร-พลเรือน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอน 8 ก (1 กุมภาพันธ์ 2485): 334-335.

ไทย. ประกาศ, ประกาศกองบัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง ตั้งคณะกรรมการประสานงานทหาร-พลเรือน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอน 8 ก (1 กุมภาพันธ์ 2485): 334-335.

ไทย. ประกาศ, ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งซ่อมสมาชิกประเภทที่ 2 แห่งสภาผู้แทนราษฎร. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 51 ตอน ง (30 ธันวาคม 2476): 3849-3850.

ไทย. ประกาศ, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง อำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและอำนาจหน้าที่ของผู้บัญชาการทหารสูงสุด. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอน 11 ก (17 กุมภาพันธ์ 2485): 470-476.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบเลิกแม่ทัพใหญ่, รองแม่ทัพใหญ่, แม่ทัพบก, เรือ, อากาศ, รองแม่ทัพบก, เรือ, อากาศ, ผู้บัญชาการตำรวจสนาม, ผู้บัญชาการเขตภายใน, รองและผู้ช่วยผู้บัญชาการเขตภายใน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 62 ตอน 66 ก (13 พฤศจิกายน 2488): 669-670.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดหน้าที่เสนาบดีและตั้งคณะกรรมการกลางกลาโหม. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 ตอน ก (20 กรกฎาคม 2475) : 209-212.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดอำนาจผู้บัญชาการทหารสูงสุด พุทธศักราช 2484. ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 58 ตอน ก (18 พฤศจิกายน 2484): 1681-1682.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดอำนาจและหน้าที่ของผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดเกี่ยวกับราชการของกระทรวงกลาโหม. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 ตอน ก (25 พฤศจิกายน 2484): 1720-1722.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศจัดระเบียบป้องกันอาณาจักร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 ตอน ก (6 กรกฎาคม 2475): 190-194.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศใช้กฎอัยการศึก. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 ตอน ก (10 ธันวาคม 2484): 1781-1782.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน 14 ราย). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 ตอน ก (25 มิถุนายน 2476): 392-393.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี (นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขิตตะสังคะ)). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 55 ตอน ก (16 ธันวาคม 2481): 706-707.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด แม่ทัพบก แม่ทัพเรือ แม่ทัพอากาศ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 ตอน ก (13 พฤศจิกายน 2483): 728-730.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 63 ตอน 7 ก (29 มกราคม 2489): 66-67.

ไทย. พระบรมราชโองการ, พระบรมราชโองการ ประกาศ ยุบเลิกตำแหน่งผู้บัญชาการทหาสูงสุดและรองผู้บัญชา การทหารสูงสุด และแต่งตั้งแม่ทัพใหญ่และรองแม่ทัพใหญ่ (พลเอก พจน์ พหลโยธิน (พระยาพหลพลพยุห เสนา) เป็นแม่ทัพใหญ่, พลโท ชิต มั่นศิลป์สินาถโยธารักษ์ เป็นรองแม่ทัพใหญ่). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 61 ตอน 52 ก (24 สิงหาคม 2487): 754-755.

ไทย. พระราชกฤษฎีกา, พระราชกฤษฎีกาตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 พุทธศักราช 2476. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 ตอน ก (9 ธันวาคม 2476): 816-821.

ไทย. พระราชกฤษฎีกา, พระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรและตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50 ตอน ก (1 เมษายน 2476): 1-4.

ไทย. พระราชบัญญัติ, พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31 ตอน ก (11 กันยายน 2457): 388-395.

ไทย. รัฐสภา. สภาผู้แทนราษฎร. รายงานประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1, สมัยวิสามัญ สมัยที่หนึ่ง, 2476.

ธงชัย วินิจจะกูล. ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง ว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : ฟ้าเดียวกัน, 2556.

ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (2475-2517). กรุงเทพมหานคร : รัฐกิจเสรี, 2517.

พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์. ความคิดทางการเมืองของคาร์ล ชมิทท์ : ความเป็นการเมือง, สภาวะสมัยใหม่ และเสรีประชาธิปไตย.

วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. กรุงเทพมหานคร : 6 ตุลารำลึก, 2544.

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2) สร 0201 เรื่อง ยกเลิกประกาศ, คำสั่งของ ท. สนาม และผู้บัญชาการทหารสูงสุด (9 ธันวาคม 2484 - 20 ตุลาคม 2487).

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2) สร 0201 เรื่อง สำเนาคำสั่งของ ผ.บ. ทหานสูงสุดหรือกรมบัญชาการทัพใหญ่ (18 พฤศจิกายน 2474 - 3 กุมภาพันธ์ 2487).

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ศธ.0701.51/35 กล่อง 2 เรื่อง อำนาจผู้บัญชาการทหารสูงสุด (พ.ศ. 2487).

สำรวจ กาญจนสิทธิ์. ชีวิตพระยาทรงฯในต่างแดน. กรุงเทพมหานคร : บงกช, 2523.

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. แผนชิงชาติไทย ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่สอง (พ.ศ. 2491-2500).กรุงเทพมหานคร : 6 ตุลารำลึก, 2553.

สุพจน์ ด่านตระกูล. ประวัติรัฐธรรมนูญ. นนทบุรี : สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม, 2550.