ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกำหนดสิทธิและหน้าที่ ตามกฎหมายในการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19: กรณีศึกษาประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

Main Article Content

สุนิสา เบาเออร์

บทคัดย่อ

ภายใต้สภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น วัคซีนถือเป็นความหวังของทั่วโลกที่จะยุติการระบาดครั้งนี้ได้ อย่างไรก็ดี การนำวัคซีนมาใช้กับประชาชนนั้น อาจเกิดประเด็นข้อถกเถียงในทางกฎหมายได้ ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประการแรก คือ ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายหากจะมีการกำหนดให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 แม้ว่าบริษัทสัญชาติเยอรมันจะเป็นผู้ร่วมลงทุนผลิตวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 และรัฐบาลจัดหาวัคซีนให้โดยประชาชนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ฯ ก็เคยมีคำวินิจฉัยว่า มาตรการตามพระราชบัญญัติป้องกันโรคติดต่อ (Infektionsschutzgesetz) และพระราชบัญญัติป้องกันโรคหัด (Masernschutzgesetz) ที่กำหนดให้เด็กที่จะเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาลของรัฐต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดก่อนนั้น เป็นมาตรการที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่จนถึงปัจจุบันรัฐบาลเยอรมันกลับเลือกที่จะปล่อยให้เป็นเสรีภาพของประชาชนในการตัดสินใจรับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ปัญหาประการต่อมาคือ รัฐบาลเยอรมันยังต้องพบกับข้อโต้แย้งถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎว่าด้วยสิทธิในการได้รับวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 (Coronavirus-Impfverordnung – CoronaImpfV) ซึ่งแบ่งบุคคลออกเป็นกลุ่มโดยเหตุเรื่องอายุ สุขภาพ และอาชีพ ฯลฯ และให้สิทธิในการได้รับวัคซีนในลำดับแรก มาตรการดังกล่าวจึงถูกตั้งคำถามถึงหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ บทความนี้จึงมุ่งศึกษาหลักความชอบรัฐธรรมนูญของมาตรการทางกฎหมายที่กำหนดสิทธิและหน้าที่การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 โดยใช้ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นกรณีศึกษา ซึ่งอาจนำมาใช้วิเคราะห์เปรียบเทียบกับสถานการณ์ในประเทศไทย หากจะมีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายแก่ประชาชนในการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชนว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2563.

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. “เสรีภาพทางกายภาพตามแนวคิดทางกฎหมายของฝรั่งเศส.” Pub Law Net. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564. http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=670.

จิกิตสา วิทยา. “แอนตี้วัคซีน ข่าวปลอมที่จะทำลายภูมิคุ้มกันหมู่ของมนุษยชาติ.” Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564. https://www.hfocus.org/content/2020/08/20021.

ธีระ สุธีวรางกูร. ระบบศาลและการพิจารณาคดีของศาลในทางกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานบางประการของกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2562.

Gretschel, Vanessa. “Die Einführung einer allgemeinen Impfpflicht –Sicherheit vor Freiheit?.“ Bachelor's thesis, Hochschule für öffentliche Verwaltung und Rechtspflege des Freistaates Sachsen Germany, 2020. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563. https://opus.bsz-bw.de/hsf/frontdoor/deliver/index/docId/1161/file/Gretschel_Vanessa-Bachelorarbeit.pdf.

Hufen, Friedhelm. Staatsrecht II Grundrechte. 8th ed.. München: C.H.Beck, 2020.

Ketter, Tobias. “Corona-Krise: Warum sich so viele Pflegekräfte nicht impfen lassen wollen.”

FrankfurterRundschau. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564. https://www.fr.de/hessen/corona-impfung-impfstoff-pfleger-aerzte-langzeitfolgen-deutschland-karl-lauterbach-krankenhaus-zr-90162116.html.

Kingreen, Thorsten, and Ralf Poscher. Grundrechte Staatsrecht II. 36th ed. Heidelberg: C.F. Müller, 2020.

Legal Tribune Online.“Die Wiederherstellung des verfassungsgemäßen Zustandes.” LTO. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564. https://www.lto.de/recht/nachrichten/n/gutachten-wissenschaftlicher-dienst-diskriminierung-impfung-sonderrechte-privilegien-grundrechte-corona/.

Podolski, Tanja. “Bei der Impfverordnung geht es teilweise um Leben.“ LTO. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564. https://www.lto.de/recht/justiz/j/bsg-jahresbericht-corona-impfen-priorisierung-bundestag/.

Reinhard, Merkel. “§ 14 Abs. 3 Luftsicherheitsgesetz : Wann und warum darf der Staat töten?–Über taugliche und untaugliche Prinzipien zur Lösung eines Grundproblems des Rechts.“ JZ 62 (2007): 373, 380 อ้างถึงใน ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2562.

Rixen, Stephan. “Verfassungsfragen der Masernimpfpflicht: Ist die Impfpflicht nach dem geplanten Masernschutzgesetz verfassungswidrig?.“ Docplayer. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564.

https://docplayer.org/184516156-Verfassungsfragen-der-masernimpfpflicht-ist-die-impfpflicht-nach-dem-geplanten-masernschutzgesetz-verfassungswidrig.html.

Thiele, Alexander. Interview by Hasso Suliak. “Der Schutz des Lebens ist nicht alles.“ LTO. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564. https://www.lto.de/recht/hintergruende/h/verfassung-grundgesetz-corona-gesetz-parlament-bundestag-bverfg-weimar-nationalsozialismus-bund-laender-thiele/

Tonti, Lauren. “Covid-19: Die Gratwanderung der Impfpflicht.” MAX-PLANCK-GESELLSCHAFT. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564. https://www.mpg.de/14902645/covid-19-impfpflicht.

Vosgerau, Ulrich. “Zur Kollision von Grundrechtsfunktionen, Ein zentrales Problem der Grundrechtsdogmatik.“ AöR 133, (2008): 346, 360, อ้างถึงใน ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2562.

Wolff, Johanna. “Darf es eine Impfpflicht gegen Corona geben.“ Friedrich Erbert Stiftung. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2564. http://library.fes.de/pdf-files/dialog/16339.pdf.