อำนาจรัฐกับสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน: กรณีการระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 (Covid-19 pandemic) ที่เกิดขึ้นกับทั่วโลก ส่งผลให้รัฐบาลของหลายประเทศต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและนำมาตรการพิเศษมาใช้เพื่อจัดการกับวิกฤตโรคระบาด กล่าวคือมีการเพิ่มอำนาจให้กับฝ่ายบริหารโดยเป็นอำนาจที่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ในสถานการณ์ปกติ ซึ่งย่อมมีผลเป็นการลดทอนสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชน
ในทางทฤษฎี นักทฤษฎีกฎหมายบางท่านเห็นว่าการใช้มาตรการดังกล่าวไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม มีนักกฎหมายหลายท่านเห็นแย้ง โดยเห็นว่าแม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน แต่การใช้อำนาจของรัฐดังกล่าวก็ยังจำเป็นต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR) และหลักการต่าง ๆ ซึ่งขยายความกติกาสากลดังกล่าว กล่าวคือ การใช้อำนาจรัฐเช่นว่าจะต้องอยู่ภายใต้หลักความจำเป็น หลักความได้สัดส่วน ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และมีฐานกฎหมายรองรับ
บทความนี้สำรวจการใช้อำนาจรัฐของรัฐบาลไทยภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยการศึกษากฎหมายและมาตรการที่รัฐนำมาบังคับใช้ ผ่านแนวคิดเกี่ยวกับการใช้อำนาจรัฐในสถานการณ์ฉุกเฉินและหลักการของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งที่บทความนี้นำมาใช้ศึกษาวิเคราะห์ประกอบไปด้วย ICCPR และหลักการซิราคูซ่าซึ่งขยายความบทบัญญัติของ ICCPR ประกอบกับเอกสารแนวปฏิบัติที่ออกโดย สํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ (OHCHR) ซึ่งในที่สุดแล้วบทความนี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้อำนาจรัฐและมาตรการควบคุมโรคระบาดในประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและขัดกับหลักการที่ปรากฏในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ทั้งในแง่ของตัวบทกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น บทความนี้จึงเสนอว่ารัฐควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินให้เป็นไปตามหลักการสากล และยิ่งไปกว่านั้น ในฐานะที่รัฐไทยเป็นรัฐภาคีสมาชิกของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง รัฐไทยมีพันธกรณีที่จะต้องเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกติกาสากลดังกล่าว โดยมีหน้าที่ที่ต้องยุติการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ และหันมาคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพให้เป็นไปตามพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศให้มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, “ความคิดทางการเมืองของ Giorgio Agamben: ว่าด้วย ชีวิตที่เปลือยเปล่า องค์อธิปัตย์ในสภาวะสมัยใหม่ และการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุด”.
“เคาะต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เดือนที่ 7 ท่ามกลางผู้ถูกดำเนินคดีจากการชุมนุมไม่น้อยกว่า 73 คน”, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2564 https://www.facebook.com/lawyercenter2014/posts/3287517207964777
เอกลักษณ์ ไชยภูมี, “การปกครองตามธรรมชาติ: กฎเหล็กสามข้อของการปกครองแบบผสม”, วารสารสังคมศาสตร์ 48, ฉบับที่ 1 (2561).
““โรม” ซัดรัฐบาลสองมาตรฐานดูแลม็อบราษฎร-เสื้อเหลือง เหน็บฝั่งหนึ่งเสิร์ฟน้ำ อีกฝั่งฉีดน้ำ “บิ๊กช้าง” แจงสลายการชุมนุมเป็นไปตาม กม.”, MGR Online, 4 พฤษจิกายน 2563, สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 https://mgronline.com/politics/detail/9630000114287
“คนไทยยังไม่ได้กลับบ้าน! ฟ้องสองศาล แพ้สองศาล เหตุมีพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มครองแล้ว”, iLaw, 17 เมษายน 2563, สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 https://ilaw.or.th/node/5612
“จับตาตร.เอาผิด 2 ผับดังทองหล่อ ไล่เช็กผู้ถือหุ้น จะสาวถึง ‘อ๊อด มิยาบิ’ไหม,” มติชนออนไลน์, 14 เมษายน 2564, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564, https://www.matichon.co.th/local/crime/news_2672739
“จับศิลปินโพสต์เฟสว่าไม่มีการคัดกรองโควิดที่สนามบิน โดน พ.ร.บ.คอมฯ”, ประชาไท, สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 https://prachatai.com/journal/2020/03/86883
ญาดา หัตถธรรมนูญ, “การงดเว้นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมในภาวะฉุกเฉินตามกฎหมายระหว่างประเทศ และทางปฏิบัติของรัฐ: ศึกษากรณีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีโดยตุลาการที่เป็นอิสระและสิทธิในหลักประกันเกี่ยวกับการจังกุมและควบคุมตัวบุคคล”, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2555).
ณัฐวุฒิ คล้ายขำ, “รับมือโควิดในฝรั่งเศส : สร้างระบบกฎหมายขึ้นใหม่ “สถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข” ไม่ปนกับการทหาร,” iLaw, 21 เมษายน 2563, สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 https://www.ilaw.or.th/node/5619
““ดีเจมะตูม” เจอคุก 2 เดือน ปรับ 2 หมื่น ละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน,” ประชาชาติธุรกิจ, 19 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564, https://www.prachachat.net/spinoff/entertainment/news-617110
“ดีอีเอส เตรียมดำเนินคดีกรณีมีผู้แอบอ้างนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม หวังดิสเครดิตรัฐบาล,” infoquest, 29 พฤษภาคม 2564, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564, https://www.infoquest.co.th/2021/91714
“ประกาศพรก.ฉุกเฉิน ห้าในหกครั้ง ยกเลิกทันทีเมื่อเหตุจำเป็นสิ้นสุดแล้ว”, iLaw, 9 พฤษภาคม 2563, สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 https://ilaw.or.th/node/5653
ปิยบุตร แสงกนกกุล, “สภาวะยกเว้น” ในความคิดของ Giorgio Agamben”, วารสารฟ้าเดียวกัน 8, ฉบับที่ 1 (2553).
“พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ: หนึ่งเดือนหลังใช้ "ยาแรง" เราเห็นอะไรบ้าง”, iLaw, 12 พฤษภาคม 2563, สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 https://ilaw.or.th/node/5657
“พรึ่บ! บวงสรวง ‘พระตรีมูรติ’ ขอเรื่องความรัก-การงาน หนุ่ม-สาวเต็มลานเซ็นทรัลเวิลด์,” มติชนออนไลน์, 11 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564, https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_2574531
พัชร์ นิยมศิลป, “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยาแรงที่ไม่แก้โควิด-19”, iLaw, 13 มิถุนายน 2563, สืบค้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 https://ilaw.or.th/node/5694
“รวมข่าว ‘ข้อมูลผิดพลาด (Misinformation)’ จากรัฐบาลที่พานทำให้ประชาชนงง!”, ประชาไท, 21 พฤษภาคม 2564, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564, https://prachatai.com/journal/2021/05/93131
“ราวกับคสช.ยังไม่จากไปไหน: 6 ปีรัฐประหาร การละเมิดสิทธิที่ยังคงอยู่,” ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, 22 พฤษภาคม 2563, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564, https://tlhr2014.com/archives/17788
“วิจารณ์ยับ “สองมาตรฐาน” กิจกรรม “รัตนโกเซิร์ฟ” ของมาดามเดียร์ เข้าร่วม 300 คน ขณะที่อีกมุม…," Catdumb, 29 มีนาคม 2564, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564 https://www.catdumb.tv/double-standard-119/?fbclid=IwAR3C8mutuhR2mpvEbkOCKNmQJCNrGbh7Gtf89gKYhC7YfoBdg7aGvAutn94
“ศาลปลดล็อกคลิปธนาธรไลฟ์ 'วัคซีนพระราชทาน: ใครได้ใครเสีย?' – ปัดตกคำร้องกระทรวงดิจิทัลฯ,” ประชาไท, 8 กุมภาพันธ์ 2564, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564, https://prachatai.com/journal/2021/02/91583
“ศูนย์ทนายฯ ชี้ 1 ปี สถานการณ์ฉุกเฉิน คดีพุ่งเกินร้อย เน้นคุมม็อบ-ศาลไม่ตรวจสอบ,” ประชาไท, 27 มีนาคม 2564, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564, https://prachatai.com/journal/2021/03/92291
“สนามมวย-บ่อน-เลานจ์ บทเรียนสกัดคลัสเตอร์ใหม่,” กรุงเทพธุรกิจ, 12 เมษายน 2564, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564, https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/932012
สมยศ จันทรสมบัติ, “ระบบกฎหมายพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะในประเทศไทยกับหลักความเป็นนิติรัฐ”, (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559).
“ส่องการผลักดันโครงการรัฐที่กระทบประชาชน ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วม”, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, 28 พฤษภาคม 2563, สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 https://tlhr2014.com/archives/17957
Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers”, World Health Organization, accessed 18 February 2021 https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19#:~:text=เราสามารถรับเชื้อจาก,เพราะฉะนั้น%20จึงจำเป็นอย่างยิ่ง
Greater London Authority, Mayor declares ‘major incident’ following rapid spread of Covid-19, 8 January 2021, accessed 18 February 2021 https://www.london.gov.uk/press-releases/mayoral/hospitals-at-risk-of-being-overwhelmed-in-capital
James Gallagher, “Covid: Why is coronavirus such a threat?”, BBC, accessed 18 February 2021 https://www.bbc.com/news/health-54648684
Jennifer Brown, Sarah Barber, and Daniel Ferguson, Coronavirus: Lockdown laws, House of Commons Library Briefing Paper Number 8875, 6 January 2021 https://commonslibrary.parliament.uk/research-briefings/cbp-8875/
Katharina Buchholz, “COVID-19 Cases per Million Inhabitants: A Comparison”, Statista, 18 January 2021, accessed 18 February 2021 https://www.statista.com/chart/23391/covid-19-infection-density-in-selected-countries/
Listings of WHO’s response to COVID-19”, World Health Organization, accessed 18 February 2021 https://www.who.int/news/item/29-06-2020-covidtimeline
Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights “Emergency Measures and Covid-19: Guidance”, 27 April 2020, accessed 18 February 2021 https://www.ohchr.org/Documents/Events/EmergencyMeasures_COVID19.pdf
President Trump Declares State of Emergency for COVID-19”, National Conference of State Legislatures, accessed 18 February 2021 https://www.ncsl.org/ncsl-in-dc/publications-and-resources/president-trump-declares-state-of-emergency-for-covid-19.aspx#:~:text=the%20Stafford%20Act.-,Stafford%20Act,ongoing%20COVID%2D19%20response%20efforts.
United Nations Economic and Social Council, “Note verbale dated 24 August 1984...”, accessed 26 February 2021 https://undocs.org/pdf?symbol=en/E/CN.4/1985/4;
Wei Yao (Kenny) Chng, “Legal constraint in emergencies: Reflections on Carl Schmitt, the Covid-19 Pandemic and Singapore | Symposium on Covid-19 & Public Law,” Research Collection School Of Law, Singapore Management University, 1 July 2020, 2, accessed 17 February 2021 https://ink.library.smu.edu.sg/sol_research/3173