ปัญหาของผู้เสียหายในการเป็นโจทก์ดำเนินคดีอาญากับเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด

Main Article Content

สุภธิดา สุกใส

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดซึ่งต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีอาญา แต่หากพิจารณาถึงสิทธิในการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด พบว่ามีบทบัญญัติที่เป็นอุปสรรคต่อผู้เสียหายในการดำเนินคดี โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดเอง กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขในการฟ้องคดีว่าห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว เว้นแต่ผู้เสียหายจะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสถานพินิจหรือได้รับอนุญาตจากศาลเยาวชนและครอบครัวก่อน ผู้เสียหายจึงจะเป็นโจทก์ฟ้องคดีได้ซึ่งเป็นการเพิ่มเงื่อนไขในการฟ้องคดีของผู้เสียหาย อันเป็นการจำกัดสิทธิในการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้เสียหายที่ควรได้รับการคุ้มครอง ผู้เขียนจึงได้ศึกษาอุปสรรคและปัญหาดังกล่าวเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องเงื่อนไขและข้อจำกัดในการดำเนินคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดโดยผู้เสียหายเป็นโจทก์ เพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการคุ้มครองสิทธิของเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิด รวมถึงคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยแนวทางการพิจารณากระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูชั้นก่อนฟ้องคดี พ.ศ. 2557, สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564, https://trnjc.coj.go.th/th/content/category/detail/id/53/iid/120498

ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่าด้วยแนวทางการพิจารณากระบวนการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูชั้นก่อนฟ้องคดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561, สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564, https://jla.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/120/iid/121985

คณิต ณ นคร. “วิธีพิจารณาความอาญาไทย: หลักกฎหมายกับทางปฏิบัติที่ไม่ตรงกัน.” วารสารนิติศาสตร์, ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 (2528): 2-5.

เฉลิมวุฒิ บัวบาน. “บทบาทพนักงานอัยการ: ศึกษากรณีผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาก่อนฝ่ายเดียว.” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2560).

ไชยศ วิพุธานุพงษ์. “ระบบความยุติธรรมกับชุมชน.” วารสารอัยการ, ปีที่ 21 ฉบับที่ 240 (2541): 21-22.

ณรงค์ ใจหาญ. หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรงุเทพฯ: วิญญูชน, 2544.

ปณิธาน มาลากุล ณ อยุธยา. “การคุ้มครองผู้เสียหายกรณีพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง.” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552).

สหรัฐ กิติ ศุภการ. คำอธิบายพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2562.

อรรถพล ใหญ่สว่าง. คำอธิบายวิชาสัมมนากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2562.

Acguile, Roger. Criminal Procedure. London: Butterworth, 1969.

Ahmad, Moe. Who prosecutes criminal cases?. Accessed May 20, 2021, https://www.ahmadlawfirm.com/blog/2019/june/who-prosecutes-a-criminal-case-

Crown Prosecution Service. The Code for Crown Prosecutors. Accessed May 21, 2021, https://www.cps.gov.uk/ publication/code-crown-prosecutors

Declaration of Basic Principles of Justice for Victims of Crime and Abuse of Power Adopted by General Assembly (29 November 1985). Accessed April 10, 2020, https://www.unodc.org/pdf/compendium/compendium_2006_part_03_02.pdf

Doyle, Charles. Juvenile Delinquents and Federal Criminal Law: The Federal Juvenile Delinquency Act and Related Matters. Accessed May 20, 2021, https://www.everycrsreport.com/reports/RL30822.html

Joan McCord, Cathy Spatz Widom, Nancy A Crowell, National Research Council (U.S.), Committee on Law and Justice. Juvenile Crime, Juvenile Justice. Accessed May 15, 2021, https://www.nap.edu/read/9747/chapter/1

Prosecution of Offences Act 1985 (c.23). Accessed May 21, 2021, https://www.legislation.gov.uk/ukpga/ 1985/23

The Annie E. Casey Foundation, What Is Juvenile Justice?. Accessed May 15, 2021, https://www.aecf.org/blog/what-is-juvenile-justice

Universal Declaration of Human Rights. Accessed March 25, 2020, http://humanrights.mfa.go.th/upload/pdf/udhr-th-en.pdf

U.S. government, Points of Intervention, accessed May 12, 2021, https://youth.gov/youth-topics/juvenile-justice/points-intervention