เป็นประจำเดือนแต่ไม่มีผ้าอนามัย และเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุข: ปัญหาที่แก้ได้ด้วยภาษีและสวัสดิการสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การขาดแคลนวัสดุซึมซับ หรือรองรับประจำเดือน และการเข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุข ตลอดจนยาเพื่อการจัดการสุขภาพประจำเดือนที่ดี ทั้งในกลุ่มผู้มีประจำเดือนทั่วไป ผู้มีประจำเดือนที่เป็นผู้ต้องขัง และคนไร้ที่พึ่ง ยังคงเป็นปัญหาที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทยซึ่งส่งผลให้ผู้มีประจำเดือนต้องประสบกับความเสี่ยงด้านสุขภาวะ การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และอุปสรรคในการทำงาน และการศึกษาซึ่งจุดประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และกระตุ้นให้ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยคลี่คลายปัญหาดังกล่าว กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรโดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการจัดสวัสดิการเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการดำเนินการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากกฎหมายไทยที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวก็ยังพบว่ามีส่วนที่ต้องปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้กฎหมายมีบทบาทในการจัดการปัญหาได้อย่างแท้จริง และเนื่องจากในปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีความรุดหน้าในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปมากแล้ว การศึกษากฎหมายของประเทศเหล่านั้นจึงเป็นประโยชน์และสามารถนำใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายไทยได้โดยผู้เขียนได้เลือกที่จะศึกษากรณีตัวอย่างจากประเทศสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาซึ่งมีการออกมาตรการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้า และบริการเพื่อจัดการสุขภาพประจำเดือน การให้เครดิตภาษีชนิดขอคืนเป็นเงินได้เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับสินค้า และบริการดังกล่าว และการจัดสรรสินค้าเพื่อซึมซับหรือรองรับประจำเดือนในเรือนจำและสถานสงเคราะห์ ทั้งนี้ จากการศึกษาที่กล่าวมาผู้เขียนเสนอให้มีการบรรเทาและขจัดภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายการ
สินค้าและบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพประจำเดือน โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 สำหรับการขายหรือนำเข้าสินค้าสุขอนามัยผู้หญิง ประกอบกับการให้เงินช่วยเหลือผ่านการให้เครดิตภาษีสำหรับใช้ซื้อสินค้ากลุ่มเดียวกันนั้น นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มีการปรับปรุงหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบโดยเฉพาะในประเด็นของการกระจายตัวของบริการและความสามารถในการเข้าถึงบริการของผู้มีสิทธิ ความครอบคลุมของการบริการ ตลอดจนประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริการ และประการสุดท้ายควรมีการปรับปรุงกฎหมายราชทัณฑ์และกฎหมายคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งโดยเฉพาะในด้านความเพียงพอและคุณภาพของสินค้าเพื่อจัดการสุขภาพประจำเดือนที่แจกจ่าย และการส่งเสริมให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมกับอาการเจ็บป่วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ. แนวทางการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง 2558. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย: กองทุนคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต., 2558.
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล, “คุกหญิง: ชีวิตที่ขาดพร่อง ความเป็นมนุษย์ที่ขาดหาย,” ประชาไทย, สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564 https://prachatai.com/journal/2016/10/68561.
กองบรรณาธิการ, “การเมืองเรื่องผ้าอนามัย : เริ่มหวั่น แม้วันมามาก,” The 101.World. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563 https://www.the101.world/sanitary-products-policy.
กองพัฒนาข้อมูลและตัวชี้วัดสังคม. รายงานการวิเคราะห์สถานกาณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำของประเทศไทยปี 2562. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ., 2562.
เชียงใหม่นิวส์, “หนุ่มอาสาฯ รับบริจาคผ้าอนามัย,” เชียงใหม่นิวส์, สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563 https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/472577.
พิมพิไล ทองไพบูลย์ และคณะ. “การจัดบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังหญิงหลังคลอดในเรือนจำ.” วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 21, 1 (2558).
ภรภัทร จูตระกูล, “หัวลำโพง ทำเลดี คนไร้บ้าน,” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563 https://www.thaihealth.or.th/Content/48943-"หัวลำโพง"...ทำเลดี%20"คนไร้บ้าน".html.
ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ์, “ครั้งแรกของฉัน เกิดขึ้นตอน 11 ขวบครึ่ง–เมื่อเด็กไทยมีประจำเดือนเร็วขึ้น,” the 101.World, สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564 https://www.the101.world/early-puberty.
ภัสริน รามวงศ์, “ความจนประจำเดือน (Period Poverty) ภาระของผู้หญิงที่ควรเป็นสวัสดิการ,” Workpoint Today. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564 https://workpointtoday.com/policylab-period-poverty.
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์, “การศึกษาแนวทางพัฒนากฎหมายสำหรับคนไร้ที่พึ่งและพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557.” วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 24, 1 (2559).
ศุภาว์ เผือกเทศ และคณะ, “การวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาสถานพยาบาลแดนหญิงในเรือนจำ.” วารสารสภาการพยาบาล 32 (2560).
สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอร้านยาคุณภาพกับระบบริการสุขภาพถ้วนหน้า 2556. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย: สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย., 2556.
สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ. ทิศทางการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมสำหรับคนเร่ร่อน. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์., 2559.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ระบบหลักประกันสุขภาพไทย 2555. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ., 2555.
โสภณ พรโชคชัย, “คนเร่ร่อนในสังคมไทย แก้อย่างไร,” ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย, สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563 https://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey
=press_announcement3339.htm.
Baylor College of Medicine, “Menstrual Disorder,” Baylor College of Medicine สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563.https://www.bcm.edu/healthcare/
specialties/womens-health-maternity/obgyn-conditions/menstrualdisorders.
Caitlin Gruer et al. “Seeking Menstrual Products: a Qualitative Exploration of the Unmet Menstrual Needs of Individuals Experiencing Homelessness in New York City.” Reproductive Health 18 (2021).
Centers for Disease Control and Prevention, “Heavy Menstrual Bleeding,” Centers for Disease Control and Prevention, สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563 https://www.cdc.gov/ncbddd/blooddisorders/women/menorrhagia.html.
Federal Bureau of Prisons. Operations Memorandum Provision of Feminine Hygiene Products. Washington, DC: Federal Bureau of Prisons., 2021.
HM Revenue & Customs. Guidance on Health Professionals and Pharmaceutical Products (VAT Notice 701/57). London, UK: HM Revenue & Customs., 2021.
HM Revenue & Customs. Guidance – Women’s Sanitary Products (VAT Notice 701/18). London, UK: HM Revenue & Customs., 2021.
Jennifer Bird-Pollan. “Who’s Afraid of Redistribution? An Analysis of the Earned IncomeTax Credit.” Missouri Law Review 74 (2009).
Jesse M. Cunha. “Testing Paternalism: Cash Versus In-Kind Transfers.” American Economic Journal: Applied Economics 6 (2014).
Lydia Morrish, “How Severe PMS Nearly Stopped These Women’s Careers in Their Tracks,” REFINERY29, สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2563. https://www.refinery29.com/engb/pmdd-work-stories.
Maitreesh Ghatak, Chinmaya Kunar, and Sandip Mitra. Working paper: Cash Versus Kind Understanding the Preferences of the Bicycle Programme Beneficiaries in Bihar. London, UK: International Growth Center., 2013.
Sumana Chompootweep et al. “The Menopausal Age and Climacteric Complaints in Thai Women in Bangkok.” Maturitas 17 (1993).
Surasit Lochid-amnuay and others. “Community Pharmacy Model under the Universal Coverage Scheme in Thailand.” Thai Journal of Hospital Pharmacy 19 (2010).
Tatchai Kamonmooneechote et al. “Menstrual Pattern in Upper Secondary School Students, Khon Kaen, Thailand.” Srinagarind Med Journal 22, no.1 (2014).
Thaireform, “หมอ-พยาบาล’ ในเรือนจำ งานที่ยังคงขาดแคลน,” สำนักข่าวอิศรา, สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563 https://www.isranews.org/thaireform/thaireform-documentary/72130-reform-72130.html.
The U.S. Internal Revenue Service. Advance Child Tax Credit Payments in 202. Washington, DC: The U.S. Internal Revenue Service., 2021.
UN Women. Discussion Paper: Gender Equality and Human Rights. New York, NY: UN Women., 2015.
YouGov, “90% of Thai Women Who Have Suffered from Period Pain Say It Has Affected Their Ability to Work,” YouGov, สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563 https://th.yougov.com/en-th/news /2017 /10/12/period-pain-suffer.