ความซ้ำซ้อนในกระบวนการกลั่นกรองคดีซึ่งประชาชนยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ: ศึกษากรณีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 68/2562

Main Article Content

ฉัตรชัย เอมราช

บทคัดย่อ

แม้ว่ามูลเหตุอันนำมาสู่การยื่นคำร้องขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายต่อศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นการกระทำทางปกครอง แต่หากไม่ได้มีการยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองก็ย่อมไม่มีช่องทางที่ศาลอาจเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 212 ประกอบกับการที่ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยให้ยุติเรื่องด้วยเห็นว่ายังไม่อาจถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศอันมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) กรณีย่อมไม่มีหนทางอื่นที่จะเยียวยาสิทธิตามรัฐธรรมนูญของผู้ร้องได้อีก การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยกคำร้องโดยอ้างบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 47 (2) จึงยังไม่ตรงกับข้อเท็จจริงนัก อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าเมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องแล้วไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญก็ควรที่จะอ้างบทบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 46 วรรคสาม ประกอบมาตรา 48 วรรคสี่ขึ้นเป็นเหตุในการสั่งไม่รับคำร้อง อนึ่ง หากศาลรัฐธรรมนูญจะได้จัดให้มีหลักเกณฑ์หรือแนวทางเกี่ยวกับสาระของคำร้องอันควรได้รับการวินิจฉัยที่ชัดเจนก็จะสามารถช่วยลดภาระคดีของศาลรัฐธรรมนูญลงได้มากทั้งยังสอดคล้องกับหลักความมั่นคงแห่งนิติฐานะด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... ในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. รายงานผลการศึกษาหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ..... กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2560.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง กระบวนการกลั่นกรองคดีที่จะเข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 264. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2549.

บรรเจิด สิงคะเนติ, วรกร โอภาสนันท์, และ อารยา สุขสม. รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2553.

อภิวัฒน์ สุดสาว. “ปัญหาในทางปฏิบัติของการยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ.” จุลนิติ 6, ฉ.7 (2553): 137-144.

“How to Lodge a Constitutional Complaint.” Bundesverfassungsgericht. Accessed November 27, 2021 https://www.bundesverfassungsgericht.de/EN/Homepage/_zielgruppeneinstieg/Merkblatt/Merkblatt.html.