มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะทะเล พื้นที่หาดเจ้าหลาวและแหลมเสด็จ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ทรงพร ประมาณ
ฐิติรัตน์ อิทธิมีชัย
ชญานาภา ลมัยวงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เกี่ยวกับขยะทะเลบริเวณหาดเจ้าหลาวและแหลมเสด็จ จังหวัดจันทบุรี โดยเป็นการวิจัยแบบเอกสาร ทั้งนี้หาดเจ้าหลาวและแหลมเสด็จนับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรี แต่เมื่อมีนักท่องเที่ยว และมีการค้าขายริมชายหาดมากขึ้น ก็เกิดปัญหาขยะเกลื่อนตามชายหาดและในทะเล เช่น ขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว โฟม เป็นต้น ถัดมาคือขยะจาก การทำการประมง เช่น อวน เชือก เป็นต้น ยังไม่รวมขยะอื่น ๆ ที่สามารถพบได้ในทะเล เช่น ถุงพลาสติก ฝาน้ำ และเศษบุหรี่ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการเกี่ยวกับขยะในทะเลที่เหมาะสมและจริงจัง จึงส่งผลให้ปัญขยะในทะเลยังคงอยู่ เพราะไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเกี่ยวกับขยะทะเล ปัญหาขยะล้นทะเลไทยจึงเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัญหาที่สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยยังขาดการจัดการขยะอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งสวนทางกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการเติบโตของเศรษฐกิจ ดังนั้น การที่ประเทศไทยยังมีขยะล้นเมืองอยู่จำนวนมากและกำจัดได้ยากนั้น เกิดจากการขาดจิตสำนึกเพื่อสาธารณะ เมื่อประชาชนยังเห็นแก่ความสะดวกสบาย จึงสร้างขยะมากมายโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะการใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยากและเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งยังขาดแรงจูงใจในการจัดการขยะ เนื่องจากคนไทยไม่ได้เห็นประโยชน์ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากพอ ดังนั้น จึงสมควรต้องมีกฎหมายและบทลงโทษเกี่ยวกับปัญหาขยะทะเลโดยเฉพาะ โดยการกำหนดลักษณะ ประเภทของขยะ การทิ้งขยะลงสู่ทะเลโดยตรง แม้กระทั่งผู้ประกอบการหรือพ่อค้าแม่ค้าหาบเร่แผงลอย จนไปถึงนักท่องเที่ยวที่ทิ้งขยะลงทะเลโดยตรงเหล่านี้ จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายกำหนด จากนั้นจะต้องมีมาตรการที่สำคัญออกมาบังคับใช้ตามจังหวัดต่าง ๆ ที่มีปัญหาขยะทะเลเกิดขึ้นจำนวนมาก

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กนกวรรณ เนตรสิงแสง, “การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำผิวดินและปลาในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์” (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2563), 1.

เบ็ญจมาศ จันทะภา ไพบูลย์กิจกุล, “ปริมาณและทิศทางการไหลของตะกอนบริเวณชายหาดท่องเที่ยว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี” ใน “แก่นเกษตร” บรรณาธิการโดย พัชริน ส่งศรี, ฉบับพิเศษ, วารสารแก่นเกษตร 44, ฉ.1 (2559): 1048.

พิชญ์สินี ศรีสวัสดิ์, การควบคุมขยะพลาสติกในทะเลจากแหล่งบนบกตามอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982, SOUTHEAST BANGKOK JOURNAL Vol. 6 No.2 (2020): 73.

มณีรัตน์ ภาคธูป, “การมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะทะเลของประชาชนในเขตพื้นที่ชายฝั่ง ทะเลจังหวัดชลบุรี,” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 11, ฉ.2 (2564): 2.

สุชนา ชวนิชย์, ผลกระทบของขยะที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมและการสร้างการตระหนัจิตสำนึก, กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563.

ศูนย์ข่าวพลังงาน. “สู่ปีที่ 2 “ระยองโมเดล” พื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะพลาสติก.” ศูนย์ ข่าวพลังงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 https://www.energynewscenter.com.

เอกสารเผยแพร่สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฉบับที่ 53 (แปลและเรียบเรียงจาก “Guide to Marine Debris and International Coastal Cleanup”), คู่มือขยะทะเลและกิจกรรมชายหาดสากล, 2557, 5-7.