ผู้พิพากษามิใช่ปากที่เปล่งเสียงของกฎหมาย

Main Article Content

สมชาย ปรีชาศิลปกุล

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการโต้แย้งต่อความเข้าใจเรื่องการใช้อำนาจโดยผู้พิพากษาว่าเป็นด้วยความเป็นกลางหรือด้วยความเป็นหลักวิชา อันเป็นความเชื่อซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคมไทย โดยจะนำเอาแนวความคิดสัจนิยมทางกฎหมายแบบอเมริกันมาปรับใช้ แนวความคิดนี้มีหลักการพื้นฐานว่ากฎหมายที่แท้จริงคือสิ่งที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติจริง การศึกษาเพียงบทบัญญัติในลักษณะที่เป็นนามธรรมจะไม่สามารถเข้าถึงความจริงของกฎหมายได้ และในการตัดสินคดีข้อพิพาทต่างๆ ก็จะมีเงื่อนไขภายนอกเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญไม่ว่าจะโดยตระหนักรู้หรือไม่ก็ตาม


บทความนี้จะวิเคราะห์คำพิพากษาในคดีระหว่างโรงไฟฟ้าถ่านหินและผู้คัดค้านโครงการผ่านคำตัดสินของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เพื่อชี้ให้เห็นถึงความไม่สม่ำเสมอ ความแตกต่าง ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในคำตัดสินในแต่ละศาล การวิเคราะห์นี้จะทำให้เห็นความไม่เป็นระบบและไม่อาจคาดหมายได้ในคำตัดสินซึ่งสามารถปรากฏได้แม้จะไม่ใช่คดีทางการเมืองก็ตาม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

คำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 3283/2546 ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546.

คำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 2355/2548 ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548.

คำพิพากษาฎีกาที่ 13005/2553 วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553.

มงเตสกิเออ, เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย (วิภาวรรณ ตุวยานนท์ แปล) พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.

สมชาย ปรีชาศิลปกุล. นิติปรัชญาทางเลือก. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2546.

Curzon, L.B. Jurisprudence. London: Cavendish Publishing, 1995.

Priel, Dan. What the Judge Had for Breakfast: A Brief History of an Unpalatable Idea. Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=2982716 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.2982716.

Freidman, Lawrence M., Law and Society: An Introduction. New Jersey: Prentice-Hall Inc., Englewood Cliffs, 1977.

Montesquieu, The Spirit of the Laws. Cambridge University Press, 1989.

Rumble, W.E. American Legal Realism: Skepticism, Reform and Judicial Process. New York: Cornell University Press, 1968.