อำนาจการสอบสวนคดีอาญา ภายใต้ระบบ ‘นายสั่ง’
Main Article Content
บทคัดย่อ
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้กำหนดอำนาจและขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยกำหนดให้ ‘พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ’ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนความผิดนั้นๆ เพื่อดำเนินคดี สรุปสำนวนคดีและมีความเห็นสั่งฟ้องหรือทำความเห็นไม่ฟ้องผู้ต้องหา อันเป็นต้นธารของกระบวนการยุติธรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ในความเป็นจริงอำนาจการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน หรือการสรุปสำนวน ความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีก็ตาม ไม่ได้ขึ้นอยู่แต่กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว แต่ยังมีผู้บังคับบัญชาหรือ ‘นาย’ เข้ามามีอิทธิพล ทำให้อิสระของการสอบสวนของพนักงานสอบสวนลดน้อยถอยลงไป ส่วนหนึ่งมีผลมาจากโครงสร้างองค์กรที่มีระบบบังคับบัญชาคล้ายทหาร และวัฒนธรรมทางกฎหมายขององค์กรตำรวจแบบอุปถัมภ์เชิงแลกเปลี่ยน จากการบ่มเพาะจากจิตสำนึกของตำรวจที่ทำงานในองค์กร ส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น จนเป็นระบบที่พนักงานสอบสวนใต้บังคับบัญชาอยู่ในสภาวะจำยอมต่อระบบบังคับบัญชา ส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งระบบ
บทความนี้ต้องการทำความเข้าใจมุมมองหรือ ‘สำนึก’ ด้านการบังคับใช้กฎหมายในฐานะ ‘พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ’ และ ‘ผู้บังคับบัญชาพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ’ สำหรับการรวบรวมสำนวนและสรุปความเห็นฟ้องหรือไม่ฟ้อง อันเป็นต้นธาร หัวใจสำคัญหลักของการบังคับใช้กฎหมายอาญา เราจะให้น้ำหนักอย่างไรกับความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวน หรือ การควบคุมตรวจสอบจากผู้บังคับบัญชา และทางออกสำหรับอำนาจการสอบสวนภายใต้คำสั่งนายได้อย่างไร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2477, มาตรา 2, 18. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้า 598 (10 มิถุนายน 2478).
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 139 ตอนที่ 64 ก (16 ตุลาคม 2565).
พระราชบัญญัติยศทหาร พ.ศ.2479, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้าที่ 531 (8 พฤศจิกายน 2479).
คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 537/2555 เรื่อง การกำหนดอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งในสถานีตำรวจ, การประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจครั้งที่ 9/2555-10/2555, (1 ตุลาคม 2565),http://www.pdd.police.go.th/download/2559/03_PositionAnalysis2/Command_537_2555_AuthorityPoliceStation.pdf.
สังศิต พิริยะรังสรรค์, “กระจายอำนาจให้ตำรวจจังหวัด สลัดอุดมการณ์ศักดินา เปลี่ยนโรงเรียนตำรวจเป็น Police Academy,” ใน โรดแมปปฏิรูปตำรวจ, ปรัชญาชัย ดัชถุยาวัตร (กรุงเทพ: โรงพิมพ์เดือนตุลา), 17-19.
สัมภาษณ์พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่, โดยนางสาววัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต, 16 กรกฎาคม 2564.
สัมภาษณ์พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่, โดยนางสาววัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต, 25 กรกฎาคม 2564.
สัมภาษณ์พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่, โดยนางสาววัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต, 17 กรกฎาคม 2565.
สัมภาษณ์พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่, โดยนางสาววัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต, 12 กรกฎาคม 2564.
คม ชัด ลึก, “ระบบตำรวจแบบรวมศูนย์,” 7 พฤศจิกายน 2561, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563, https://www.komchadluek.net/news/scoop/351266.