การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders) เป็นถ้อยคำที่สังคมไทยแม้จะเคยได้ยิน แต่อาจไม่ยังไม่คุ้นชินถึงความหมาย และถูกมองด้วยสายตาที่หลากหลาย บทความวิจัยนี้เป็นบทสรุปจากงานวิจัยหัวข้อ “การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” ที่มีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาถึงสถานการณ์ปัญหาที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยกำลังเผชิญ และ เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย (ศึกษาเฉพาะภายใต้บริบทของหลักการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน : Business and Human Rights) โดยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ใช้วิธีทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ เชิงลึกผ่านระบบ zoom (เนื่องจากข้อจำกัดจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19) ผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า มีการให้ความหมายของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยองค์กรต่างๆ ซึ่งงานวิจัยเห็นด้วยกับนิยามความหมายดังกล่าว และร่วมให้ความหมายว่าได้แก่ บุคคลที่ทำงานส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะทำงานเพียงลำพังหรือร่วมกับผู้อื่น นักปกป้องสิทธิไม่ใช่อาชีพแต่เป็นสถานะบทบาททางสังคมของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อาจเป็นชาวบ้าน ชาวไร่ชาวนา ผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ สื่อมวลชน อาจเป็นนักกิจกรรม ศิลปิน ฯลฯ ผู้ที่เดินออกมาแถวหน้าเพื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะหรือดำเนินการเพื่อส่วนรวม ในประเด็นสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ อาทิ สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม บางครั้งนักปกป้องสิทธิอาจทำงานเจาะจงไปที่สิทธิของบุคคลใดกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง รวมถึงสิทธิของเด็ก สตรี ชนเผ่าพื้นเมือง กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ แรงงานข้ามชาติ และการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะนี้เองที่ส่งผลให้นักปกป้องสิทธิตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการถูกคุกคามลักษณะต่างๆ อาทิ การข่มขู่ คุกคามรูปแบบต่างๆ ถูกทำให้เสียชีวิต การอุ้มหาย การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมรวม ฯลฯ รวมถึงการใช้การกระทำทางปกครองและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการคุ้มครอง จนถึงปัจจุบัน รัฐไทยยังอยู่ในระหว่างทางของความพยายามที่จะคุ้มครองบทบาทของนักปกป้องสิทธิ เช่น การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 ความพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขนิยามของพยานตามพ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ให้ครอบคลุมถึงนักปกป้องสิทธิ ขณะเดียวกันพบว่ากลไกการร้องทุกข์ของรัฐที่ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรม (State Non-Judicial Mechanism) ยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นทางของการเผชิญหน้าระหว่างนักปกป้องสิทธิกับโครงการพัฒนาต่างๆ ไม่บังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด นักปกป้องสิทธิจะยังคงตกอยู่ในความเสี่ยง งานวิจัยมีข้อเสนอแนะว่ารัฐไทยโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยสรุปคือ สร้างการยอมรับและตระหนักถึงความหมายและบทบาทของนักปกป้องสิทธิ โดยภาครัฐรวมถึงภาคธุรกิจ อาทิ จัดทำแนวปฏิบัติ “ภายใน” และ “ระหว่างหน่วยงาน” ในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสร้างความรับรู้ต่อสาธารณะ ประการที่สอง หน่วยงานรัฐควรมีบทบาทอย่างสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถ ความเข้มแข็งให้กับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ประการที่สาม พัฒนากลไกการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างมีส่วนร่วมกับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ประการที่สี่ กำหนดให้มีมาตการ เพื่อลด-ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และประการสุดท้าย ขับเคลื่อนกับภาคธุรกิจเพื่อการบรรลุหลักการหลักการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
Amnesty International, Human Rights Defender under Threat, Available at https://www.amnesty.or.th/files/8115/5444/4292/-Thai.pdf.
Amnesty International, Amnesty International, Human Rights Defender under Threat. Accessed 15 March 2011, https://www.amnesty.or.th/files/8115/5444/4292/-Thai.pdf (in Thai)
Amnesty International, Thailand: Situation Analysis and Mechanism for Human Rights Defenders’ Protection. Accessed 15 March 2021 https://www.amnesty.or.th/files/2815/5444/3012/-_Final.pdf (in Thai)
BUENO, N., & KAUFMANN, C. (2021). The Swiss Human Rights Due Diligence Legislation: Between Law and Politics. Business and Human Rights Journal, 6(3), 542-549. doi:10.1017/bhj.2021.42, accessed 15 March 2021
Business and Human Rights Resource Center, UK: Businesses and investors call for new human rights due diligence law. Accessed 15 March 2021 https://www.business-humanrights.org/en/latest-news/uk-businesses-and-investors-call-for-new-human-rights-due-diligence-law/.
Committee on Economic, Social and Cultural Rights, General comment No. 24 (2017) on State obligations under the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights in the context of business activities, 10 August 2017, E/C.12/GC/24, Accessed 15 March 2021 https://documents-dds-ny.un.org/doc/UNDOC/GEN/G17/237/17/PDF/G1723717.pdf?OpenElement.
Declaration on the Right and Responsibility of Individuals, Groups and Organs of Society to Promote and Protect Universally Recognized Human Rights and Fundamental Freedoms (UN Declaration on Human Rights Defenders), Accessed 15 March 2021 https://www.ohchr.org/en/special-procedures/sr-human-rights-defenders/declaration-human-rights-defenders#:~:text=The%20Declaration%20on%20human%20rights,Declaration%20on%20human%20rights%20defenders).
European Union Guidelines on Human Rights Defenders, 2004. Accessed 15 March 2021 https://www.eeas.europa.eu/sites/default/files/eu_guidelines_hrd_en.pdf.
European Convention of Human Rights. Accessed 15 March 2021, https://www.echr.coe.int/documents/convention_eng.pdf
Human Right Committee, General Comment No.37 (2020) on the rights of peaceful assembly (article 21), Accessed 15 March 2021.
KRAJEWSKI, M., TONSTAD, K., & WOHLTMANN, F. (2021). Mandatory Human Rights Due Diligence in Germany and Norway: Stepping, or Striding, in the Same Direction? Business and Human Rights Journal, 6(3), 550-558. doi:10.1017/bhj.2021.43, Accessed 15 March 2021. https://www.cambridge.org/core/services/aop-cambridge-core/content/view/85815FE5F1D1F64208B0068B7FBBECF8/S2057019821000432a.pdf/mandatory-human-rights-due-diligence-in-germany-and-norway-stepping-or-striding-in-the-same-direction.pdf.
Mandates of the Special Rapporteur on the rights to freedom of peaceful assembly and of association; the Special Rapporteur on the promotion and protection of the rights to freedom of opinion and expression; and the Special Rapporteur on the situation of human rights defenders, Accessed 30 March, 2021, https://spcommreports.ohchr.org/TMResultsBase/DownLoadPublicCommunicationFile?gId=26320.
Protection International, Manual on Human Rights Defenders for Communities B.E. 2556, Accessed 1 March 2021
https://www.protectioninternational.org/wp-content/uploads/2013/09/Thai-Handbook.pdf.
International Service for Human Rights, Model Law for the Recognition and Protection of Human Rights Defender. Accessed 20 May 2021, https://ishr.ch/defenders-toolbox/resources/model-law/.
International Service for Human Rights, Laws and decrees regulating two protection mechanisms: Law 199 of 1995 and Law 418 of 1997, accessed 15 May 2021. https://ishr.ch/defenders-toolbox/national-protection/colombia/.
International Service for Human Rights, Philippines : Human rights defender protection law passes three readings in the House of Representatives, accessed 15 May 2021.https://ishr.ch/latest-updates/philippines-l-human-rights-defender-protection-law-passes-three-readings-house-representatives/.
Office of National Human Rights Commission Thailand, Annual Report for Fiscal Year B.E.2544-2546
Office of National Human Rights Commission Thailand, Guideline and International Standard: Human Rights Defender, B.E.2546.
Office of National Human Rights Commission Thailand, Annual Report for Fiscal Year B.E.2547-2550.
Office of National Human Rights Commission Thailand, Annual Report for Fiscal Year B.E.2560.
Office of National Human Rights Commission Thailand, Annual Report for Fiscal Year B.E.2560.
Rights and Liberties Protection Department, Ministry of Justice, National Action Plan on Business and Human Rights Pharse 1 (B.E.2562-2565).
Rights and Liberties Protection Department, Ministry of Justice, National Plan on Human Rights No.4.
Secretariat of the House of Representatives, a Drafting on Witness Protection Act Amendment (Annual general meeting No.2).
Securities and Exchange Commission of Thailand, Manual on 56-1 One Report, Accessed 10 October 2021 https://www.sec.or.th/TH/Documents/LawsandRegulations/OneReport-Manual.pdf.
The Danish Institute for Human Rights, Human Rights Impact Assessments: HRIA. Accessed 20 May 2021. https://www.humanrights.dk/sites/humanrights.dk/files/media/document/DIHR%20HRIA%20Toolbox_Welcome_and_Introduction_ENG_2020.pdf.
United Nations Human Rights Office of the High commissioner, Fact sheet No.29 (April 2004). Accessed 15 March 2021 https://www.ohchr.org/Documents/Publications/FactSheet29en.pdf.
United Nation Human Rights Office of the High Commissioner, Protection of Victims, Witness and Other Cooperating Persons. Accessed 15 March 2021 https://www.ohchr.org/sites/default/files/Documents/Publications/Chapter14-56pp.pdf