ปัญหาและอุปสรรคในการคัดเลือกพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนคดีของพนักงานสอบสวน
Main Article Content
บทคัดย่อ
เป็นที่ทราบกันดีว่าการต่อสู้คดีของศาลไทยนั้นเป็นระบบกล่าวหาที่คู่ความทั้งสองฝ่ายจำเป็นต้องใช้พยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของตัวเอง พยานหลักฐานจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากในคดี โดยเฉพาะในคดีอาญาที่โจทก์จะต้องหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ให้ศาลเชื่อจนสิ้นสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง ซึ่งพนักงานสอบสวนที่ถือเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับพยานหลักฐานมากที่สุดนั้น ถือได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานกึ่งตุลาการ (Quasi-Judicial Officer) ที่นอกจากจะสามารถค้นหาพยานหลักฐานมาใช้ยืนยันว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดตามที่ถูกฟ้องจริงหรือไม่แล้ว ยังสามารถกำหนดความร้ายแรงของข้อหาและโทษที่ผู้ต้องหาจะได้รับผ่านการใช้ดุลยพินิจในการคัดเลือกพยานหลักฐานที่จะนำไปใส่ไว้ในสำนวนคดีได้อีกด้วย เพราะหากพยานหลักฐานใดที่ไม่ถูกนำเข้าไปใส่ไว้ในสำนวน แน่นอนว่าย่อมไม่มีผู้ใดล่วงรู้ และพยานหลักฐานเหล่านั้นย่อมหายไปตลอดกาล
บทความนี้จะพูดถึงปัญหาการใช้ดุลยพินิจของพนักงานสอบสวนในการรวบรวมและคัดเลือกพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนคดีควบคู่ไปกับการศึกษากระบวนการทำงานของพนักงานสอบสวนผ่านการสัมภาษณ์พนักงานสอบสวน ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพการทำงานของพนักงานสอบสวนและข้อจำกัดต่างๆในการทำงาน ว่าส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานหรือการใช้ดุลยพินิจในการคัดเลือกพยานหลักฐานเข้าสู่สำนวนคดีอย่างไร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
กฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติร่าชการของข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2547
ข่าว 8, “โพลเผยคนไทยเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรมแค่ 1.29 คะแนน จากเต็ม 5 ผลพวงคดี “ผกก โจ้”.” ข่าว 8. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565 https://www.thaich8.com/news_d etail/100683.
คำสั่งสำนักงานตำรวจที่ 419/2556
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
มานะ เผาะช่วย. “ปัญหาการรวบรวมพยานหลักฐานของผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน.” วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
ระเบียบ ก.ตร.ว่าด้วยเงินเพิ่มเป็นกรณีพิเศษสำหรับตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านสอบสวน พ.ศ. 2559
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ.2534
สมาชิกหมายเลข 1072124. “คนที่มีอาชีพเป็นตำรวจ เขารู้สึกรู้สาบ้างหรือเปล่าคะที่มีประชาชนรุมกันสาปแช่งรังเกียจด่าซะดูไร้ศักดิ์ศรีไปเลยในปัจจุบัน?.” พันทิป. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 https://pantip.com/topic/31296944.
สมาชิกหมายเลข 1649206. “ ‘เกลียดตำรวจ’ ของไทย ไม่ได้พิมพ์ผิดนะคะ ‘เกลียดตำรวจ’ จริงๆ.” พันทิป. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566 https://pantip.com/topic