การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การกระจายอำนาจปกครองให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้ามาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ แต่จากศึกษาพบว่ายังมีข้อจำกัดบางประการในการใช้อำนาจในการออกข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กล่าวคือ (1) การใช้อำนาจของผู้มีอำนาจในการกำกับดูแลแทรกแซงเข้าไปในอำนาจอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น (2) กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบัญญัติเปิดโอกาสให้ได้รับมอบหมายภาระหน้าที่เพิ่มเติมในการดูแลทรัพยากร (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดความชำนาญในการออกข้อบัญญัติในเรื่องนั้นๆ และ (4) การประกาศใช้บังคับข้อบัญญัติท้องถิ่นไม่เป็นที่ทราบกันแพร่หลายทั่วไป และการกำหนดกระบวนการประกาศใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นมีระยะเวลานาน (5) การตราข้อบัญญัติท้องถิ่นถูกจำกัดขอบเขตเนื้อหาไม่เกินกว่ากฎหมายแม่บทให้อำนาจ
ดังนั้น ในการพัฒนาการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับบริบท วิถีชีวิต วัฒนธรรมความเชื่อของประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนการยอมรับและร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีความเป็นอิสระในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นอย่างแท้จริง และองค์กรปกครองส่วนกลางจะต้องสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถออกข้อบัญญัติในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
กอบกุล รายะนาคร. การปฏิรูปกฎหมายเพื่อการกระจายอำนาจ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้แก่ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.), 2558.
เจนจบทิศ จารึกกลาง และศิวัช ศรีโภคางกุล. “การแทรกแซงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557.” วารสาร Veridian E Journal สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 12 ฉ.6 (2562 ): 1035-1052.
เดโช ไชยทัพ. พื้นที่เรียนรู้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติดอยอินทนนท์ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคเหนือ, 2558.
นรเศรษฐ ชุ่มถนอม. “บทวิเคราะห์ข้อบัญญัติและเทศบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2540-2562” รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2563.
นฤดม ทิมประเสริฐ. “เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนของประชาชนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสิทธิชุมชนในการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช” วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2554.
บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร และคณะ. รายงานการถอดบทเรียนฉบับสมบูรณ์กระบวนการยุติธรรมชุมชน 6 กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดยโสธร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดชุมพร จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ, 2564.
บุญตา สืบประดิษฐ์. การจัดการร่วมในฐานะพื้นที่ต่อรองเพื่อสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นของเครือข่ายการจัดการทรัพยากรในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2556.
พนม เอี่ยมประยูร. “อำนาจตราข้อบังคับขององค์กรปกครองตนเอง.” วารสารนิติศาสตร์ 3 (2537) : 477-493.
วรัญญู เสนาสุ. การกระจายอำนาจกับการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เปนไท, 2556.
สำนักพัฒนานวัตกรรมชุมชนจัดการความรู้และสื่อสาร สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). “ปรัชญาติดดินของชาวกะเหรี่ยงหนองเต่า จ.เชียงใหม่ และการแก้ไขปัญหาที่ดิน-ไฟป่าโดยพลังชุมชนท้องถิ่น.” สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566, https://web.codi.or.th/20220223-31538/
อนุรักษ์ กาวิโจง. “หนังสือสั่งการ : อำนาจรัฐส่วนกลางเหนือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.” วารสาร CMU Journal of Law and Social Sciences. 5 ฉ.2 (2555), 123-137.
อิทธิพล ทัศนา. “อำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.” (วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2542). 43-46.
โอฬาร อ่องฬะ (2564). “การกระจายอำนาจและปฏิบัติการของการใช้อำนาจท้องถิ่นกรณีการออกเทศบัญญัติตำบลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ.” วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ Political Science & Public Administration Journal CMU. 12 ฉ.เพิ่มเติม 1 (2564), 95-114.
โอฬาร อ่องฬะ. “การเคลื่อนไหวภาคประชาชนในการปฏิรูปการจัดการฐานทรัพยากรในพื้นที่ตำบลทาเหนือ อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่.” (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558)
iLaw. “สี่ปี คสช. ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น กระจายอำนาจถอยหลัง ราชการแทรกแซงท้องถิ่น.” สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566. https://ilaw.or.th/node/4809
Theisaanrecord. “การปกครองท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ: มุมมองจากผู้บริหารท้องถิ่น.” สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566. https://theisaanrecord.com /2022/01/26/local-government-after-the-coup/