เมื่อรัฐพึ่งศาล ตุลาการจึงแปรเปลี่ยน: การจัดวางแนวคิด “ตุลาการภิวัตน์แบบไทย”ผ่านบทสะท้อนทางการเมืองจากภาพยนตร์ The trial of the Chicago 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอมุมมองในการจัดวางแนวคิดทางการเมือง (Political Installation) ขององค์ความรู้ด้านตุลาการภิวัตน์ในความรับรู้ของสังคมไทย (Judicialization of Politics) ที่เป็นการศึกษาบทบาทของสถาบันตุลาการในเชิงการเมือง ซึ่งมีการวิเคราะห์ผ่านบทสะท้อนจากงานศิลปะแขนงภาพยนตร์ (Films) ในฐานะตัวบทหนึ่งของสังคม โดยนำเสนอภาพยนตร์ “The trial of Chicago 7 ที่อ้างอิงจากคดีทางการเมืองที่เป็นเหตุการณ์จริง อันมีข้อสรุปว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวได้เผยให้เห็นถึงสถานะองค์ความรู้ในด้านตุลาการศึกษาอันมีลักษณะเป็นพลวัต และ ก้าวข้ามความเป็นนิติศาสตร์ในเชิงกลไก (mechanical prudence) มาช้านานตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 แตกต่างจากความรับรู้ของในวงวิชาการไทยบางส่วน ซึ่งยังยึดติดกับองค์ความรู้เดิมที่พึ่งผลิตขึ้นโดยจากงานวิชาการกระแสหลักในปี พ.ศ.2549 นอกจากนี้ โครงเรื่องจากภาพยนตร์ได้สะท้อนให้เห็นว่า คดีทางการเมืองที่เป็นข้อถกเถียงในสังคมไทยหลังปี 2549 คือลักษณะการประสานความสัมพันธ์ทางอำนาจ (Social Relation) ของกลุ่มพลังทางสังคมอันหลากหลาย (Power bloc) โดยมีฝ่ายตุลาการเป็นเพียงหนึ่งในกลไกดังกล่าว กลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ อันเป็นการสร้างความสัมพันธ์เพื่อรักษาสภาวะการนำทางสังคม
ทั้งนี้ การตั้งคำถามถึงคดีทางการเมืองในไทยผ่านกรอบแนวคิดตุลาการภิวัตน์ ซึ่งงานส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญไปที่การวิเคราะห์ตัวแสดงที่เป็นฝ่ายตุลาการเท่านั้น โดยยังละเลยการเพ่งมองตัวแสดงสำคัญจากกลุ่มทางการเมืองอื่นๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า “ตุลาการภิวัตน์” คือลักษณะเป็นชุดแบบแผนกระบวนการ (Process) และฝ่ายตุลาการเป็นเพียงขั้นตอนสุดท้ายเพื่อสร้างความชอบธรรมต่อประชาชนผ่านคำพิพากษา ทั้งยังควรถูกทำความเข้าใจในวงกว้างอย่างสำคัญว่าการใช้อำนาจตุลาการเพื่อเข้าสู่การวินิจฉัยคดีทางการเมือง ควรเป็นไปเพื่อการตรวจสอบ ทบทวนความขัดแย้งในทางรัฐธรรมนูญ ในขณะที่การใช้อำนาจอย่างกว้างขวางแบบตุลาการภิวัตน์ ควรเป็นภารกิจในเชิงบวกที่แสดงถึงการขยายสิทธิเสรีภาพประชาชน จำกัดอำนาจรัฐ ตลอดจนการสร้างบรรทัดฐานทางกฎหมายตามหลักการประชาธิปไตยสากล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
กล้า สมุทวณิช. คดี “โมฆ (อาชญากร) สงคราม” อันเป็นต้นกำเนิด “ศาลรัฐธรรมนูญ” ตอนที่1. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566, https://pridi.or.th/th/content/2022/08/1202
เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง. “เห็บหมัดของตุลาการภิวัตน์.” The 101 World. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564, https://www.the101.world/tick-of-judicial-activism/.
คณิน บุญสุวรรณ. ศาลาธิปไตย: รวมบทความวิพากษ์ศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการภิวัตน์. กรุงเทพฯ: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์, 2556.
จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา: หลักนิติธรรม สภาวะยกเว้น และปฐมบทแห่งคำพิพากษาแนว รัฐประหารนิยม-ตุลาการภิวัตน์. (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2563), 65.
จาตุรงค์ สุทาวัน, และนวภัทร โตสุวรรณ. “ผลทางการเมืองที่เกิดจากคำพิพากษาของศาล รัฐธรรมนูญภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549.” วารสารนิติรัฐกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 5, ฉ. 1 (2563): 213-226.
จาตุรงค์ สุทาวัน, และวีระ หวังสัจจะโชค.“ปรากฏการณ์นักร้อง” กับผลสะเทือนทางการเมืองจากระบอบตุลาการภิวัตน์หลัง พ.ศ. 2549 – 2563.” วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 3, ฉ. 1 กำลังจัดพิมพ์.
จิรัชญา ชัยชุมขุน. “ผู้ชุมนุม ตำรวจ และตุลาการที่เอนเอียง: หนังการเมืองสุดเดือด The Trial of the Chicago 7.”, The Matter, 20 มีนาคม 2564.
ชาย ไชยชิต. “การปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการพิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของ รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2541-2557).” วารสารสถาบันพระปกเกล้า 17, ฉ. 3 (2562): 22-23.
ชาย ไชยชิต. “บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองไทย (พ.ศ. 2541-2557).” (วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563), 1-12.
ณิศวร์ฐิตะ ทองน้อย. “The Trial of the Chicago 7: บุตรทั้ง 7 คนของอเมริกา และลูกกำพร้าอีก 1.” The Momentum, 20 ธันวาคม 2563.
ธงชัย วินิจจะกุล. นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของ Rule by Law แบบไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์, 2563.
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์. “เรื่องจริงสุดเดือดของคดีประวัติศาสตร์ “CHICAGO 7.” The Film club, 20 ตุลาคม 2563.
ธีรยุทธ บุญมี. “การบรรยายพิเศษเรื่อง “ประชาชน พรรคการเมือง ทหาร ติดกับดักก่อวิกฤตใหม่ ประเทศไทย” ในวาระรำลึก 46 ปี ของประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516.” ประชาไท, 24 ตุลาคม 2562.
ป. พิบูลสงคราม. “เรียนอาจารย์ที่เคารพและนับถือ (จดหมายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงนายปรีดี พนมยงค์)”, สถาบันปรีดี พนมยงค์, 8 สิงหาคม 2565.
ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์. ตุลาการภิวัตน์ปฏิวัติการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2551.
ปิยบุตร แสงกนกกุล. ศาลรัฐประหาร : ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร. นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2560.
ปูนเทพ ศิรินุพงศ์. ตลกรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ไชน์พับลิชชิ่งเฮาส์, 2556.
พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย. แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิดอำนาจรัฐสภา. (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า), 2558.
พิเชษฐ์ เมาลานนท์, นิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์, และ พรทิพย์ อภิสิทธิวาสนา. ตุลาการภิวัตน์ (คันฉ่องส่องตุลาการไทย) เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช), 2550.
ภูริ ฟูวงศ์เจริญ. “ฤๅหาใช่เพียงร่างทรง: แนวทางเชิงวิพากษ์ ในการศึกษาสถาบันตุลาการ.”วารสารสังคมศาสตร์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 45, ฉ. 2 (2558): 27-48.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. จุดไฟในสายลม: รัฐธรรมนูญ รัฐประหาร นายกฯ พระราชทานและตุลาการภิวัตน์. กรุงเทพฯ: โอเพ่น, 2555.
วัชรพล พุทธรักษา. อันโตนิโอ กรัมชี่ กับการจัดวางแนวคิดทางการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมมุติ, 2560.
วาด ระวี. โอลด์รอยัลลิสต์ดาย. กรุงเทพฯ ไชน์ พับลิชชิง, 2563.
วีรชน เกษสกุล, วัชรพล พุทธรักษา. “การจัดวางความคิดทางการเมือง: แนวทางการวิเคราะห์การก่อตัวทางสังคมของกลุ่มคณะราษฎร.” วารสารชุมชนวิจัย มหาลัยราชภัฏนครราชสีมา 16, ฉ. 2 (2565): 1-13.
วีระ สมบูรณ์. “มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัตน์.” วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 48, ฉ. 1 (2561): 7-32.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน: รวมบทความว่าด้วยตุลาการภิวัตน์ ตุลาการพันลึก และตุลาการธิปไตย. กรุงเทพฯ: bookscape, 2560.
สุรพศ ทวีศักดิ์. ธีรยุทธ บุญมี ปัญญาชนของรัฐละคร, ประชาไท, 24 ตุลาคม 2562.
อวิรุทธ์ ชาญชัยกิตติกร. ตุลาการภิวัตน์กับวิกฤติการณ์ทางการเมือง 2549. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ดุลพาห. สำนักงานศาลยุติธรรม, 2556.
ไอลอร์. “สรุปรัฐธรรมนูญ 2560 : เปิดที่มาศาลรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปี ลดจำนวนตุลาการสาย วิชาการเพิ่มข้าราชการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565, https://ilaw.or.th/node/5655
ไอลอร์. ““ศาลและความยุติธรรม ?” ศาลต้องทำให้คนเห็นว่านั่นคือความยุติธรรม.” สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565, https://ilaw.or.th/node/6219
Altman, Andrew. Arguing About Law: Introduction to Legal Philosophy. Belmont, CA : Wadsworth Publishing Company, 1996.
Lawrence, Baum. “What judges want: Judges’ goals and judicial behavior.” Political Research Quarterly 47, no. 3 (1994): 749-768.
Tom, Ginsberg. Judicial review in new democracies: Constitutional courts in Asian cases. Cambridge: Cambridge University Press, 2003.
McCargo, Duncan. Thailand. State of Anxiety," In Southeast Asian Affairs 2008, edited by Daljit Singh and Tin Maung Maung Than. Singapore: Institute of South East Asian Studies, 2008.
Hirschl, Ran. “The New Constitutionalism and the Judicialization of Pure Politics Worldwide.” Fordham Law Review 75, no. 2 (2006): 721-754.
Shapiro, Martin. “Political jurisprudence.” In On Law, Politics, and Judicialization, edited by Martin Shapiro, and Alec Stone Sweet, 19-54. Oxford: Oxford University Press, 2002.
Tate, C. Neal., and Vallinder, TorbjÖrn. The Global Expansion of Judicial Power. New York: New York University Press, 1994.