อยู่บนหลักสากล ? : ศึกษาการใช้มาตรการควบคุมการชุมนุมสาธารณะของรัฐไทยระหว่างปี 2563 – 2565

Main Article Content

ภาสกร ญี่นาง

บทคัดย่อ

ปัจจุบัน สถานการณ์การเมืองไทยดำเนินมาอยู่ในจุดไม่เคยมีให้เห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์ มีการแสดงออกและการเคลื่อนไหวในประชาธิปไตยผ่านการชุมนุมสาธารณะอย่างกว้างขวาง ผลที่ตามมาคือ การใช้มาตรการควบคุมการชุมนุมที่รุนแรงเพื่อสลายการชุมนุมโดยที่ฝ่ายรัฐมักอ้างว่า ผู้ชุมนุมกระทำผิดกฎหมายและมาตรการของรัฐเป็นไปตามหลักสากล ดังนั้น บทความชิ้นนี้ จึงต้องการศึกษาว่า การกระทำของรัฐไทยสอดคล้องกับหลักสากลตามที่กล่าวอ้างจริงหรือไม่ มากน้อยเพียงใด โดยวิเคราะห์จากหลักสากลที่มีการระบุไว้ในเอกสารขององค์กรระหว่างประเทศที่พยายามกำหนดมาตรฐานสากลเกี่ยวกับควบคุมดูแลการชุมนุมสาธารณะ มาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งสื่อมวลชน งานวิชาการ และข้อมูลภาคประชาสังคม ซึ่งมีการนำเสนอภาพเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงทั้งต่อผู้ชุมนุมและประชาชนทั่วไป


            การศึกษาพบว่า ปฏิบัติการของรัฐไทยในกรณีการเข้าควบคุมหรือจัดการการชุมนุมยังคงปรากฏการใช้อำนาจที่เกินความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน โดยเฉพาะการมีปฏิบัติการการใช้กำลังที่ไม่สอดคล้องกับพฤติการณ์การชุมนุม ทั้งยังบกพร่องในการดำเนินมาตรการชดเชยเยียวยาและการแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนผู้เสียหายระหว่างการชุมนุมสาธารณะอยู่เสมอมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Borgens, Richard Ben, and Peishan Liu-Snyder. "Understanding Secondary Injury." The Quarterly Review of Biology 87, no. 2 (2012): 89.

United Nations. 10 Principles for the Proper Management of Assemblies. United Nations Special Rapporteur. New York: United Nations, 2016.

______. General Comment No. 37 (2020) on the Right of Peaceful Assembly (Article 21) Human Rights Committee. New York: United Nations, 2020.

______. Guidance on Less-Lethal Weapons in Law Enforcement. United Nations Human Rights. New York and Geneva: United Nations, 2020.

กรุณพร เชษฐพยัคฆ์. “จับกุม ตามไปบ้าน โทรหาผู้ปกครอง รวมรูปแบบ ‘การถูกคุกคาม’ เมื่อประชาชนแสดงออกทางการเมือง.” 14 สิงหาคม 2563. The Matter. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://thematter.co/social/intimidation-and-harassment/120346.

กองบรรณาธิการเวย์แม็กกาซีน. “แก๊สน้ำตาคละคลุ้ง มวลชนปะทะเดือด รัฐสภาถกแก้รัฐธรรมนูญวุ่น.” 17 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://waymagazine.org/17-nov-2020/.

ฐานข้อมูลคดี. “วิ่งไล่ลุงกรุงเทพ.” สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://freedom.ilaw.or.th/case/895.

ฐานเศรษฐกิจ. “ไฮโซลูกนัท “ผมโอเคมาก ๆ” อัพเดทอาการดวงตายังน่าเป็นห่วง.” 14 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. https://www.thansettakij.com/politics/491748.

ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์. “เตือนห้ามชุมนุมค้างคืนรอบรัฐสภา คุมเข้มทางน้ำอย่าเข้าใกล้ 50 เมตร.” 17 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://mgronline.com/crime/detail/9630000118800.

ไทยพีบีเอส. “ภัยจากการรายงานข่าวชุมนุม สะท้อนเสรีภาพสื่อไทยอยู่ในอันดับที่น่ากังวล.” 19 กันยายน 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://theactive.net/news/law-rights-20230919/.

ไทยพีบีเอส. “'เพนกวิน' นำเคลื่อนขบวนไปราบ 11 'กฤษณะ' เตือนอย่าล้ำแนวกั้น.” 29 พฤศจิกายน 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://www.thaipbs.or.th/news/content/298764.

ไทยรัฐออนไลน์. “ศาลแพ่งสั่ง ตร. ชดใช้เงิน 2 นักข่าว ถูกกระสุนยางบาดเจ็บขณะทำข่าวม็อบ.” 26 กันยายน 2566. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://www.thairath.co.th/news/crime/2728283.

______. “'พล.อ.ประยุทธ์' ขอบคุณทุกฝ่าย ทำหน้าที่ระงับกลุ่มผู้ชุมนุมยึดหลักสากล.” 7 สิงหาคม 2564. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://www.thairath.co.th/news/politic/2160726.

แนวหน้า. “ชมภาพชุด 'สมรภูมิแยกปทุมวัน' ประมวลสถานการณ์ชุมนุม 16 ตุลาฯ.” 16 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. https://www.naewna.com/politic/525625.

บีบีซีไทย. “โควิด-19: ครบ 1 ปีประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโรคระบาดหรือจำกัดการชุมนุมทางการเมือง.” 26 มีนาคม 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://www.bbc.com/thai/thailand-56534501.

ประชาไท. “ตร.คุกคามสื่ออิสระ ‘LIVE REAL’ ถึงที่พัก-ถ่ายรูปครอบครัว อ้างต้องการพบ ไต่ถามข้อมูล.” 16 กุมภาพันธ์ 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. https://prachatai.com/journal/2022/02/97272.

______. “กสม.แถลงประเด็นเจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้ชุมนุม สื่อมวลชน และผู้พิการ.” 1 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. https://prachatai.com/journal/2022/09/100323.

พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย. หลักพื้นฐานทางกฎหมายปกครอง : ข้อความคิดว่าด้วยรัฐ ฝ่ายปกครอง และอำนาจทางปกครอง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2565.

พัชร์ นิยมศิลป. “การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบในประเทศไทย.” วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 39, no. 1 (มีนาคม 2564): 35–58.

มติชนออนไลน์. “9 องค์กรประชาสังคม จี้รัฐ หยุดทำ ‘วอตช์ลิสต์’ เสนอ ส.ส.ตั้งกระทู้ตรวจสอบ.” 11 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565. https://www.matichon.co.th/politics/news_2879401.

มติชนออนไลน์. “แชร์สนั่นคลิป คฝ. ยิงกระสุนยางจ่อๆ ใส่คนขี่ จยย.หลายนัด-สาวออฟฟิศถูกยิงกลางหลัง.” 21 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. https://www.matichon.co.th/politics/news_2897237.

วอยซ์ออนไลน์. “ผู้ชุมนุมเผย ถูกกระสุนยางยิงโดนสันจมูก ขณะเดินถือน้ำล้างตาไปให้การ์ด 'Wevo'.” 21 กรกฎาคม 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. https://voicetv.co.th/read/J9Nv75F1x.

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. “ศาลปรับ 9 พันบาท คดี 'เจมส์ ประสิทธิ์' ชุมนุมไม่ถอยไม่ทน ชี้ แค่โพสต์ชวนก็เข้าข่ายผู้จัด.” 5 พฤศจิกายน 2563. https://tlhr2014.com/archives/22845.

ไอลอว์. “‘หลักสากล’ สำหรับการชุมนุมและการสลายการชุมนุม.” 17 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565. https://ilaw.or.th/node/5765.

______. “'ไม่แออัด-ไม่ปลุกปั่น-ไม่มีหลักฐาน': ทบทวนคำสั่ง 'ไม่ฟ้อง-ยกฟ้อง' ในคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตลอดปี 2564 - ต้นปี 2565.” 31 ธันวาคม 2564. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://freedom.ilaw.or.th/node/1011.

______. “ไล่เรียง ข้อกำหนด 'ห้ามชุมนุม' ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ.” 13 มีนาคม 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566. https://ilaw.or.th/node/6101.