อุดมการณ์ทางกฎหมาย: คำพิพากษาศาลล่างในสถานการณ์ฉุกเฉิน ศึกษากรณีการชุมนุมสาธารณะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
“ผู้พิพากษาตัดสินไปตามกฎหมาย” เป็นคำที่นักกฎหมายต่างวางใจในระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร และความเป็นกลางขององค์กรตุลาการ แต่ความยุติธรรมแท้จริงมันคืออะไรในปรากฏการณ์คดีการเมือง หลังปรากฏการณ์ในการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ของราษฎรทั่วประเทศในช่วงปี 2563-2565 แสดงถึงความไม่พอใจต่อรัฐบาลและเรียกร้องในประเด็นสิทธิ เสรีภาพต่าง ๆ คู่ขนานไปกับเหตุการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้รัฐบาลเลือกการประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉินฯ ทุกเขตท้องที่ทั่วประเทศ เพื่อควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดโรคและขยายเวลาออกไปยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ส่งผลให้เกิดการดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดฉุกเฉินเนื่องจากการชุมนุมสาธารณะจำนวนมากทั่วประเทศ ซึ่งท้าทายต่ออำนาจและความ “เป็นกลาง” ของผู้พิพากษาในการพิพากษาคดีการเมืองเหล่านี้ โดยผู้เขียนได้โต้แย้งความเข้าใจโดยทั่วไปว่าผู้พิพากษามีความเป็นกลาง แต่ในความเป็นจริงในการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาล้วนมีเงื่อนไข บริบทภายนอกที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมีนัยยะสำคัญที่ทำให้เกิดคำพิพากษาที่แตกต่างกันออกไป
บทความนี้มีความพยายามไขความน่าสงสัยของคำพิพากษา วิเคราะห์เหตุผลและแนวคิดจากคำพิพากษาคดีฝ่าฝืนพระราชกำหนดฉุกเฉิน จากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทยในช่วงเวลา พ.ศ. 2563-2565 ที่มีการประกาศใช้พระราชกำหนดฉุกเฉิน ฯ ในประเทศไทยจากเหตุการณ์โรคแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของความคิดจากเหตุผลในคำพิพากษาและการวินิจฉัยลงโทษและยกฟ้อง สะท้อนถึงความไม่เป็นบรรทัดฐาน มีความแกว่งไปมาว่าคำพิพากษานั้นควรมี “อุดมการณ์” ต่อสิ่งใด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
Benjamin Oliphant. “A Clearly Articulated View of How Judges Should Judge Can Improve Decision-Making and Accountability.” October 5, 2015. https://policyoptions.irpp.org/magazines/october-2015/stephen-harper-and-the-judiciary/in-defence-of-judicial-ideology/.
Richard D. Wolff. Capitalism: Lessons for the Left. University of Massachusetts Amherst, 2004. https://scholarworks.umass.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1076&context=econ_workingpaper.
Claudio Corradetti and Oreste Pollicino. “The ‘War’ Against Covid-19: State of Exception, State of Siege, or (Constitutional) Emergency Powers?: The Italian Case in Comparative Perspective.” German Law Journal 22 (2021): 1016–1071.
Cole, Nicki Lisa, Ph.D. "Theories of Ideology." ThoughtCo. February 16, 2021. https://thoughtco.com/ideology-definition-3026356.
Ilaw. “ประกาศพรก.ฉุกเฉิน ห้าในหกครั้ง ยกเลิกทันทีเมื่อเหตุจำเป็นสิ้นสุดแล้ว.” 9 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567. https://ilaw.or.th/node/5653.
Ilaw. “สิบเหตุผลที่ ‘ประยุทธ์’ ไม่ควรอ้างว่า เป็นนายกฯ จากการเลือกตั้ง.” 5 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 https://www.ilaw.or.th/articles/3556.
Joshua B. Fischman and David S. Law. “What Is Judicial Ideology, and How Should We Measure It?” Journal of Law and Policy 29, no. 1 (2009). https://journals.library.wustl.edu/lawpolicy/article/id/778/.
Keith E. Whittington. Law and Politics: Critical Concepts in Political Science. Princeton University, December 2012.
Nelson, Caleb. "Stare Decisis and Demonstrably Erroneous Precedents." Virginia Law Review 87, no. 1 (2001): 1–84.
Richard A. Posner. “Against Constitutional Theory.” University of Chicago Law School. https://chicagounbound.uchicago.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=2854&context=journal_articles.
Stephen Reinhardt. “The Judicial Role in National Security.” Boston University Law Review 86 (2006): 1309.
Thai PBS. “ราชกิจจาฯ ประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มีผล 1 ต.ค.นี้.” 30 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567. https://www.thaipbs.or.th/news/content/319999.
เข็มทอง ตันสกุลรุ่งเรือง. “จาก ‘ตุลาการภิวัตน์’ ถึง ‘นิติสงคราม’: สงครามไม่มีวันแล้วเสร็จของปีกขวาไทย.” 20 กุมภาพันธ์ 2563. https://www.the101.world/judicialization-of-politics-and-lawfare/.
กาญจนา แก้วเทพ. สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์, 2551.
กาญจนา นาวิกนันทน์. “วิถีใหม่ภายใต้บริบท ‘New Normal’ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน: ปัญหาความเหมาะสมจำเป็นของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2.” วารสารนิติปริทัศน์ 1, ฉ. 2 (พฤษภาคม 2564). https://so06.tci-thaijo.org/index.php/NitiPariJ/article/view/248448/168483.
กิ่งกาญจน์ เอี่ยมละออ. การแข่งขันในการครองอำนาจนำทางความคิดระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ในการหาเสียงเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2555.
คำพิพากษาของศาลแขวงพิษณุโลก. คดีหมายเลขดำ อ.235/2565 คดีหมายเลขแดงที่ อ.293/2566 ระหว่างพนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก กับ นายปุณณเมธ หรือเกมส์ อ้นอารี, 16 กุมภาพันธ์ 2566.
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6. คดีหมายเลขดำ อ.1617/2566 คดีหมายเลขแดง อ.3100/2566 ระหว่างพนักงานอัยการคดีศาลแขวงพิษณุโลก กับ นายปุณณเมธ หรือเกมส์ อ้นอารี, 30 ตุลาคม 2566.
ชาย ไชยชิต. “‘ศาล’ ในฐานะสถาบันทางการเมือง: มิติการศึกษาและทิศทางในการเมืองเปรียบเทียบ.” วารสารสถาบันพระปกเกล้า 6, ฉ. 2.
ปัทมา สูบกําปัง. “สถาบันตุลาการไทย: ความท้าทายในการแสดงบทบาทอำนาจหน้าที่ในยุคปฏิรูปการเมือง กับความเชื่อมั่นของสังคม.” สถาบันพระปกเกล้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567. https://kpi.ac.th/media/pdf/M10_50.pdf.
ปานทอง สุ่มมาตย์ และคณะ. ความเป็นภววิสัยในการตัดสินคดี. เชียงใหม่: สำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 5.
ยุทธพร อิสรชัย. “รัฐประหาร 2557 (คสช.).” สถาบันพระปกเกล้า.
วัชรพล ศิริ. “การใช้อำนาจของรัฐบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 กับการชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทย ช่วง พ.ศ.2563-2565.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2567.
ศุภณัฐ บุญสด. “อุดมการณ์ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในคำพิพากษาของศาล.” CMU Journal of Law and Social Science 16, ฉ. 2. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/267819/175810.
ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน. “ตุลาคม 2566 ยอดรวมผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองรวม 1,930 คน.” สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566.
ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน. “ศาลแขวงเชียงใหม่ปรับ 3 อดีตนักศึกษา มช. คนละ 4,000 บาท เหตุเดินขบวนไปแจ้งความตำรวจใช้ความรุนแรงปี 63 แม้ไม่มีผู้ติดเชื้อจากชุมนุม.” 29 พฤษภาคม 2567.
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน. “ศาลลงจำคุก 6 เดือน ‘เกมส์ ปุณณเมธ’ เหตุจัดคาร์ม็อบพิษณุโลก แต่ให้รอลงอาญา แม้จำเลยจัดอย่างระวังการแพร่ระบาดโรคแล้ว.” 16 กุมภาพันธ์ 2566.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. “ทำไมผู้พิพากษาจึงบิดเบือนการใช้กฎหมาย.” 12 กรกฎาคม 2565.
สมชาย ปรีชาศิลปกุล. “สมชาย ปรีชาศิลปกุล: ผู้พิพากษามิใช่ปากที่เปล่งเสียงของกฎหมาย.” CMU Journal of Law and Sciences 15, ฉ. 2.
สราวุธ ทับทอง. “ความท้าทายครั้งใหม่กับการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จัดการโรคระบาดเป็นครั้งแรก.” สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566. https://themomentum.co/thailand-state-of-emergency-fight-covid-19/.
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. คำอธิบาย เรื่อง การใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566. https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/2021/01/คำอธิบาย-พรก.pdf.