ปัญหากฎหมายในธุรกิจเช่าซื้อตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเช่าซื้อถือเป็นธุรกรรมทางสัญญาที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยิ่ง และจัดเป็นธุรกิจที่ถูกควบคุมสัญญามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 โดยการกำกับดูแลธุรกิจเช่าซื้อในเรื่องของสัญญาจะอยู่ภายใต้การควบคุมดูและของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยการอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 35 ทวิ กำหนดให้การประกอบธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ซึ่งปัจจุบันมีการแก้ไขครั้งล่าสุดในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งการแก้ไขในฉบับดังกล่าวมีความมุ่งเน้นประเด็นปัญหาในหลายส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของค่าใช้จ่ายตามสัญญาเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อจะต้องแบกรับ โดยการจำกัดสิทธิต่าง ๆ ของผู้ประกอบธุรกิจในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจำนวนเหล่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางแก้ไขที่มีลักษณะสอดคล้องไปกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยปัจจุบันที่กำลังประสบปัญหาวิกฤต หนี้เสียรถยนต์สูง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ซึ่งโดยงานศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเพื่อหาแนวทางและมาตรการการปรับปรุงพัฒนากฎหมายของประเทศไทยในด้านสัญญา เพื่อให้เกิดความคุ้มใครองผู้บริโภคทางด้านการเงินอย่างแท้จริง โดยเป็นการแทรกแซงผู้ประกอบธุรกิจน้อยที่สุด เพราะการใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการกำกับธุรกิจ ย่อมเป็นการสร้างต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งสุดท้ายแล้วย่อมตกกลับมาเป็นภาระแก่ผู้บริโภคเช่นเดิม ดังนั้น เพื่อที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเห็นสมควรที่จะแก้ไขทบทวนประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้การประกอบธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 2565 โดยการ (1) สร้างความตระหนักรู้ทางด้านการเงินแก่ผู้เช่าซื้อถึงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นภายหลังเข้าทำสัญญา (2) ทบทวนแก้ไขการจำกัดสิทธิในการเรียกมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อภายหลังการขายทอดตลาด (3) ยกเลิกกฎเกณฑ์ที่เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนของผู้ประกอบการ และให้เกิดการสะท้อนต้นทุนตามกลไกตลาด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
ASEAN Automotive Federation. "Statistics Year-to-Date March 2024." 2024. Accessed May 1, 2024. https://www.asean-autofed.com/files/AAF_Statistics_ytd_mar2024.pdf.
Jean-Jacques Rousseau. The Social Contract & Discourses. Translated by G. D. H. Cole. 2014. Accessed May 4, 2024. https://www.gutenberg.org/cache/epub/46333/pg46333-images.html.
Ministry of Trade & Industry Singapore (MTI). "Hire-Purchase." Accessed May 1, 2567. https://www.mti.gov.sg/Resources/Legislation/Hire-Purchase-FAQs.
Nida Broughton. "Economic Rationales for Regulating Markets." Scrutiny Unit, June 2011. Accessed May 20, 2567. https://www.parliament.uk/globalassets/documents/commons/Scrutiny/Rationale-for-regulating-markets.pdf.
Organisation Internationale des Constructeurs d'Automobiles. "2023 Production Statistics." 2023. Accessed May 1, 2024. https://www.oica.net/category/.
กระทรวงพลังงาน, สำนักนโยบายและแผนพลังงาน. ถ่านหิน เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน, 2552. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2553. http://www.eppo.go.th/coal/pt-KPC2544-01.html.
กรุงเทพธุรกิจ. "เครดิตบูโรเปิด ไตรมาสแรก หนี้เสียทะลัก 1.09 ล้านล. รถยนต์-บ้าน หนี้พุ่ง." 12 พฤษภาคม 2567. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2567. https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1126424.
เขมภัทร ทฤษฎิคุุณ. "แนวคิดเกี่ยวกับการลดภาระของประชาชนจากการปฏิบัติตามกฎหมาย." หนังสือรพีคณะนิติศาสตร์ (2562): 91, 99.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. กฎหมายว่าด้วยสัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539.
ทีทีบี. "10 ลิสต์ค่าใช้จ่ายแฝงเมื่อซื้อรถ 1 คัน." 11 กรกฎาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2567. https://www.ttbbank.com/th/fin-tips/detail/10-lists-usage-buy-car.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. "การคิดดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก." สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2567. https://www.bot.or.th/th/satang-story/rights-responsibility/effectiverate.html.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. "การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจการให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์." 15 สิงหาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2567. https://www.bot.or.th/th/news-and-media/news/news-20220815.html.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. "รายงานเสถียรภาพการเงินรายไตรมาสประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2566." 2566. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567. https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/research-and-publications/reports/financial-stability-snapshot/FSSnapshot_Q366.pdf.
ธีรพัฒน์ บุญญอารักษ์. "พฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม." วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2560.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชน เล่ม 3 ที่มาและนิติวิธี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2538.
ปกป้อง จันวิทย์. "แนวคิดว่าด้วยประสิทธิภาพและความยุติธรรมในนิติเศรษฐศาสตร์." 2553. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567. http://pokpong.org/wp-content/uploads/justice-and-efficiency-in-law-and-econ.pdf.
ประชาชาติธุรกิจ. "ทิสโก้” ส่องเทรนด์เช่าซื้อ." 25 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2567. https://www.prachachat.net/finance/news-153459.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562.
วิชิตา คะแนนสิน และ ณัฐมน สุนทรมีเสถียร. "มองโลกแบบ ‘ประโยชน์นิยม’ แนวคิดที่เชื่อว่าประโยชน์ของคนส่วนใหญ่คือสิ่งที่ดีที่สุด." 23 เมษายน 2564. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2024. https://becommon.co/culture/thought-utilitarianism/.
ศักดา ธนิตกุล. กฎหมายกับธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2559.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. "คุมดอกเบี้ยเช่าซื้อ ไม่เกิน 15% กับการปรับตัวของผู้ประกอบการ." 12 พฤศจิกายน 2564. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2567. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Line-Today-12-11-21.aspx.
สุธาบดี สัตตบุศย์. คำอธิบายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: แผนกวิชานิติศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522.
สุพริศร์ สุวรรณิก. "หนี้ครัวเรือนไทย: เพราะเหตุใดจึงต้องกังวล?" 18 มีนาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2567. https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/Article_20Mar2023_01.html.