นวัตกรรมท้องถิ่นว่าด้วยการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานวัตกรรมท้องถิ่นว่าด้วยการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองศรีสะเกษ พบว่า เทศบาลเมืองศรีสะเกษมีการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2557-2558 และการจัดทำเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี รวมถึงงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557-2558 เป็นไปตามแนวทางที่กฎหมาย ระเบียบ และหนังสือสั่งการกำหนดไว้ มีการคัดเลือกโครงการกิจกรรมจากแผนพัฒนาเทศบาล ระยะปานกลาง 5 ปี (พ.ศ.2553-2557) มาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเทศบาล ประจำปี 2557 และตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อดำเนินการ จำนวน 155 โครงการจากจำนวนโครงการในแผนพัฒนาเทศบาลประจำปี 2557 ทั้งสิ้น 250 โครงการ โครงการและกิจกรรมที่ปรากฏในแผนพัฒนาเทศบาลระยะปานกลาง 5 ปี เป็นโครงการที่ได้มาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของประชาชน ประกอบกับนโยบายของหน่วยงานต่างๆ และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นเอง โดยมีการจัดลำดับความสำคัญเพื่อดำเนินการ แต่โครงการ กิจกรรมเหล่านั้นมีลักษณะเป็นโครงการแบบเบ็ดเสร็จ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน เป็นการแก้ไขปัญหาหรือสนองความต้องการเฉพาะเรื่องเฉพาะพื้นที่ ไม่ได้มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ถึงแม้เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จะมีเงินคงเหลือตกเป็นเงินสะสมในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ถึง 61,082,738.93 บาท ก็ยังไม่สามารถนำโครงการ กิจกรรมในแผนมาดำเนินการได้ ทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าเทศบาลยังมิได้ใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง
คำสำคัญ: นวัตกรรมท้องถิ่น; การจัดทำงบประมาณรายจ่าย; การพัฒนาท้องถิ่น
This research found that the annual budgeting for 1997 is allocated within the framework of the Five-Year Municipal Development Plan during 2010-2014. This includes the municipal budget for 2014 and its additional budget allocated later on for the same budget year. From 250 projects which were earlier planned in the Five-Year Development Plan, 155 projects are chosen and its budgets are allocated accordingly. However, the project are implemented are completed within itself and therefore, are unrelated to the whole picture of development planning. The implementation was unsystematic and is not in continuity with one another, which means that the allocation budgets are not effectively maximized.
The researcher recommends that the administration of municipal government would be effective if there is wider participation from local people and municipal regulations, concerning the budgeting process, are revised more properly, besides there should be periodic evaluation for project implementation significantly.
Keywords: Local Innovation; Expenditure Spending Budgetary; Local Initiative Development
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
กระทรวงมหาดไทย. “ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวีการงบประมาณของเทศบาล พ.ศ.2558”. 2 พฤษภาคม 2558.
โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์.ชนบทไทย ความก้าวหน้าและล้าหลัง. กรุงเทพมหานคร: แสงรุ้งการพิมพ์, 2558.
จรัส สุวรรณมาลา.”ความพยายามในการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของหน่วยการปกครองท้องถิ่น.” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์2, 4 (ธันวาคม 2557): 141.
_____. การพิจารณาอนุมัติร่างงบประมาณในระบบแผนงาน (ระบบ พี พี บี เอส) ของสภาผู้แทนราษฎร: กรณีการพิจารณาอนุมัติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยคณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539.
จรูญ สุภาพ. หลักรัฐศาสตร์: ฉบับพิสดาร แนวทฤษฎีและประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช, 2558.