หลังข้ามเส้นพรมแดนสถานะตามกฎหมายของคนย้ายถิ่น (กรณีชนกลุ่มน้อย) After Border Crossing: Legal Status of Ethnic Migrants in Thailand

Main Article Content

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล

บทคัดย่อ

ภายหลังก้าวข้ามเส้นพรมแดน สถานะบุคคลตามกฎหมาย คนอพยพย้ายถิ่นด้วยเหตุผลหนีภัยการสู้รบในประเทศต้นทางหรือด้วยเหตุอื่นๆ เริ่มต้นด้วย “คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย” ในเวลาเดียวกันภายใต้นโยบาย “จด-นับ” ของรัฐไทย ผู้อพยพย้ายถิ่นกลุ่มนี้ถูกจำแนกและนิยามให้เป็น “ชนกลุ่มน้อย” กลุ่มต่างๆ ผ่านเอกสารแสดงตนที่มีสีแตกต่างกันมากกว่า 17 กลุ่ม (ปัจจุบันถูกยุบรวมเป็นบัตรสีเดียวกันหมดแล้ว) และเลขประจำตัวสิบสามหลัก สถานะคนกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกแช่แข็งอยู่กับการเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย ทว่าสามารถปรับเปลี่ยนได้ หากรัฐไทยเห็นว่าบุคคลดังกล่าวน่าจะผ่านช่วงเวลาแห่งการผสมกลมกลืนกับสังคมไทยแล้ว ก็จะ “ให้” สถานะใหม่หรือเปิดโอกาสให้คนที่อพยพเข้ามา และเจเนอเรชั่นที่สองที่เกิดในไทย เริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นสมาชิกในสังคมไทย กระบวนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวดูเหมือนจะมี “แบบแผน”ของทางปฏิบัติ แต่ขาดความเป็นระบบ ทำให้เกิดกรณี “คน ‘ตกหล่น’” กระบวนการเปลี่ยนผ่านสถานะบุคคล

เนื้อหาในบทความนี้เป็นการเลือกหยิบเนื้อหาบางส่วนจากโครงการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพิสูจน์และพัฒนาสิทธิในสุขภาวะของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งดำเนินงานวิจัยผ่านงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสิทธิด้านต่างๆ ของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (มีคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติรวมอยู่ด้วย) ใน 3 พื้นที่ คืออ.อุ้มผาง จ.ตาก อ.เมืองระนอง จ.ระนอง และ ต.เสาหินและ ต.แม่คง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ภายใต้ระยะเวลาการดำเนินงานพบว่ามี 65 กรณีศึกษาที่สะท้อนถึงปัญหาและข้อจำกัดของการเข้าถึงและพัฒนาสิทธิด้านต่างๆ ของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล และงานพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายด้านสิทธิในสุขภาวะของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล ซึ่งเป็นการพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายผ่านรูปแบบคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยภาควิชาการ นักวิชาการในหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ฯลฯ เพื่อเสนอข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลของกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม ผู้อพยพรุ่นที่หนึ่งและรุ่นที่สอง (กรณีชนกลุ่มน้อย) คนไร้เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลที่ปรากฏตัวในประเทศไทย และกลุ่มคนไทยพลัดถิ่น ทั้งสองโครงการนี้ เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนข้อเสนอแนะที่เอื้อต่อการพิสูจน์และพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลเพื่อสุขภาวะของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (1 ตุลาคม 2557-31 มีนาคม 2559) ดำเนินการโดยโครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) สำนัก 9

บทความนี้ประกอบไปด้วยประเด็นต่างๆ ตั้งแต่การสะท้อนถึงความเข้าใจต่อสถานะบุคคลตามกฎหมายของผู้อพยพย้ายถิ่น กลุ่มชนกลุ่มน้อยและลูกหลานที่เกิดในประเทศไทยด้วยสายตาของพวกเขาเอง แบบแผนของทางปฏิบัติในการเปลี่ยนผ่านจากสถานะคนเข้าเมืองผิดกฎหมายของผู้อพยพย้ายถิ่นไปสู่การเข้าถึงสิทธิด้านต่างๆ ที่สำคัญการเข้าเป็นสมาชิกของสังคมไทย “คนตกหล่น” กระบวนการเปลี่ยนผ่านสถานะฯ และข้อเสนอแนะเบื้องต้น

After walked pass a border, a personal legal status of migrant who flee from civil war in country of origin or with other causes will start with ‘illegal immigration’. In the same time under a Thai policy on ‘record, count’, these people were classified as ‘minority group’ via identity document which had more than 17 different groups (now there is one same colour identity card) and identity number with 13 figures. Their personal legal status did not freeze as illegal aliens, but can change in term of Thai government think they passes a duration of socialize, they have been got new legal status and their children, the 2nd generation who were born in Thailand, will go to a process to members of Thai society. It seems like this is customarily process of enforcement, but lack of procedure, so there were people who were omitted this process.

A content in this article is picked some contents from a project of developing knowledge for proof and develop right to well-being of stateless person by participation which did research through legal aid for supporting a develop on rights of Stateless person/ Nationality-less person in three area studies which are Umphang district, Tak province, Meuang Ranong district, Ranong province and Saohin and Maekong sub-district, Maesariang district, Mae Hong Son province. Under the project, we found that 65 -case-study are reflected to problem and limitation of accessing and developing rights of these people. Moreover, from a project of developing knowledge for proof and develop right to well-being of stateless person which are developed policy recommendation by working group are composed of academic, academician in related government office, for example, Department of Provincial Administration, Ministry of Interior, the national security council, etc. For developing policy recommendation of ethnic groups, first and second generation immigrant (minority group), undocumented persons and Thai displaced persons. These two projects were belong to a project on developing knowledge and propelling recommendation for proving and developing rights to legal status for well-being of stateless persons, nationality-less persons (1 October 2014- 31 March 2016) by Stateless Watch and got support from Thai Health Promotion Foundation, bureau9.

This article compose of various issues from reflecting on understanding to personal legal status of minority immigrant and their children who born in Thailand through their eyes. A pattern of enforcement in term of changing illegal alien status to accessing rights which are important to be members of Thai society, ‘people who were omitted’, the process of changing legal status and initial recommendation.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการปกครอง, คู่มือการกำหนดสถานะของบุคคลบนพื้นที่สูง เล่ม 2, ไม่ปรากฎปีที่พิมพ์

กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย, คู่มือปฏิบัติงานโครงการพิจารณาให้สถานะคนต่างด้าวแก่ชาวเขาที่อพยพเข้ามาในประเทศตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2538, มีนาคม 2544

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล และกรกนก วัฒนภูมิ, การพัฒนาสิทธิในสัญชาติไทย โดยหลักดินแดนกรณีคนอพยพย้ายถิ่น (ชนกลุ่มน้อย) รุ่นที่ 2, รายงานผลการศึกษาลำดับที่ 3, กิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายด้านสิทธิในสุขภาวะของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (ธันวาคม 2557 – พฤศจิกายน 2558) ในชุดโครงการพัฒนาและขับเคลื่อนองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาวะของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล, สสส. สำนัก 9

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล และคณะ, รายงานวิจัยชุดโครงการพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนข้อเสนอแนะที่เอื้อต่อการพิสูจน์และพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลเพื่อสุขภาวะของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (1 ตุลาคม 2557-31 มีนาคม 2559) สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) สำนัก 9

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล และคณะ, ข้อเสนอต่อการพัฒนากฎกระทรวง และ (ร่าง) กฎกระทรวงเพื่อกำหนดนิยาม “ผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นในความหมายของคนไทยพลัดถิ่น” เพื่อการคืนสิทธิในสัญชาติไทยให้แก่คนเชื้อสายไทยภาคเหนือที่ปรากฏตัวในอำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2558) ผลการศึกษาลำดับที่ 3, กิจกรรมพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายด้านสิทธิในสุขภาวะของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล (ธันวาคม 2557 – พฤศจิกายน 2558) ในชุดโครงการพัฒนาและขับเคลื่อนองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาวะของผู้มีปัญหาสถานะบุคคล, สสส. สำนัก 9, เสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายแห่งชาติ ในการประชุมวันที่ 6 พฤษภาคม 2558.

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล และชาติชาย อมรเลิศวัฒนา, “การพัฒนาสิทธิเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายและสิทธิอาศัยถาวร กรณีผู้อพยพย้ายถิ่น (ชนกลุ่มน้อย) เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว, รายงานผลการศึกษาลำดับที่ 2.

บรรณานุกรมไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ

Department of provincial administration, (n.d.). Manual (No.2) on personal legal status of person who live in high land (in Thai).

Department of provincial administration, ministry of interior, (n.d.). Guideline for considering and giving alien status to hill tribe people who migrant into the kingdom under cabinet resolution on 3 October 1995, March 2001. (in Thai).

Paisanpanichkul, D and Wathanabhoom K. (n.d.). Legal Concept and process on accessing to Thai nationality by jus soli : migrant people ( minority) who born in Thailand (Generation 2), A report No.3 under Research project for recommendation on Well-being of Stateless and Natonality-less person in Thailand, (December 2014- November 2015), supported by Thai Health Promotion Fund (in Thai).

Paisanpanichkul, D and others, Project for verification and development of right to legal status of Stateless and Natonality-less person in Thailand, (October 2014- March 2016), supported by Thai Health Promotion Fund (in Thai).

Paisanpanichkul, D and others, Recommendation for definition and process for returning Thai nationality for Thai Displace, Report No.3 under Research project for recommendation on Well-being of Stateless and Natonality-less person in Thailand, (December 2014- November 2015), supported by Thai Health Promotion Fund (in Thai).

Paisanpanichkul, D and Wathanabhoom K. (n.d.). Legal Concept and process on accessing to Thai nationality by jus soli : migrant people ( minority) who born in Thailand (Generation 2), A report No.3 under Research project for recommendation on Well-being of Stateless and Natonality-less person in Thailand, (December 2014- November 2015), supported by Thai Health Promotion Fund (in Thai).

Paisanpanichkul, D and Amornletwattana, C. (n.d.). Legal Concept and process on accessing to Permanent Residence status for : migrant people ( minority), A report No.2 under Research project for recommendation on Well-being of Stateless and Natonality-less person in Thailand, (December 2014- November 2015), supported by Thai Health Promotion Fund (in Thai).