แม้ว่าพรมแดนระหว่างรัฐชาติจะกลายเป็นเส้นแบ่งที่สำคัญในการจำแนกบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐให้มีสถานะที่แตกต่างออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจำแนกด้วย “สัญชาติ” และภาวะของการเป็น “ต่างด้าว” ทั้งนี้ การถือสัญชาติของรัฐใดรัฐหนึ่งย่อมนำมาซึ่งการเข้าถึงสิทธิที่แตกต่างไปจากบุคคลที่ไม่ได้ถือสัญชาติของรัฐนั้นๆ แนวความคิดของการจำแนกบุคคลและสิทธิในลักษณะดังกล่าวนี้ดูจะเป็นบรรทัดฐานอันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในห้วงเวลาปัจจุบันแต่สำหรับบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ การเดินข้ามเส้นพรมแดนแห่งรัฐชาติเป็นปรากฏการณ์ที่มีมาให้เห็นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อดีตสืบเนื่องมาจนกระทั่ง ปัจจุบัน การออกจากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่งแม้จะทำให้ตนเองต้องตกอยู่ในภาวะของคนต่างด้าวซึ่งมีสถานะต่ำกว่าคนแห่งรัฐ แต่ด้วยเหตุผลและความจำเป็นภายใต้เงื่อนไขอันหลากหลายทำให้คนจำนวนไม่น้อยตัดสินใจในการเลือกทางเดินของตนเองไปยัง ดินแดนอื่น วารสารนิติสังคมศาสตร์ฉบับ “เข้านอก ออกใน” มุ่งสำรวจและทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์การข้ามแดนของผู้คนในหลากหลายแง่มุม และรวมไปถึงความพยายามในการกลายเป็นคนของรัฐของบางกลุ่ม ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสังกัดอยู่กับรัฐชาติว่ามีความหมายไม่น้อยสำหรับคนตัวเล็กๆ จำนวนมาก แม้ว่าในวงวิชาการนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20เป็นต้นมา ต่างพยายามชี้ชวนให้เห็นความหมายของรัฐชาติที่ถูกลดทอนและเบาบางลงก็ตาม โดยหวังว่าการทำความเข้าใจจากแง่มุมดังกล่าวจะทำให้เรายังคงตระหนักถึงพลังและความหมายของรัฐชาติที่ยังดำรงอยู่ และเป็นสถาบันที่มีส่วนต่อการสร้างภาวะคนของรัฐและที่ไม่ใช่คนของรัฐในโลกปัจจุบัน บรรณาธิการ      

เผยแพร่แล้ว: 2016-12-23

คนนอกอยากเข้า From Aliens to Thai Citizenship

กิติวรญา รัตนมณี

136-169