“บัตรสักใบ” มันยังสำคัญเสมอ The Way of Verification as a Thai Nationality
Main Article Content
บทคัดย่อ
แม้หลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล จะยืนยันว่าสิทธิมนุษยชนคือ สิทธิและเสรีภาพที่ถือว่าติดตัวคนทุกคนมาแต่กำเนิดไม่อาจถูกพรากไปได้โดยไม่ทำลายความเป็นมนุษย์เพียงแค่เป็นมนุษย์ ก็ถูกถือว่าเป็นผู้ทรงสิทธิในสิทธิมนุษยชนแล้ว แต่ในทางปฏิบัติการเข้าถึงสิทธิ การใช้สิทธิขั้นพื้นฐานด้านต่างๆ ปฏิเสธไม่ได้ว่าจำเป็นต้องผ่าน “บัตรสักใบ” (Identification paper) ที่สามารถพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบุคคลนั้นต้องการเข้าถึงหรือใช้สิทธิระดับอื่นๆ เช่น กลุ่มสิทธิเรียกร้องให้รัฐกระทำการ (status positivus) เอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลยิ่งกลายเป็นสิ่งจำเป็น
คนไร้รัฐไร้สัญชาติเป็นกลุ่มคนที่เข้าใจถึงความจำเป็นของเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลในระดับที่คนที่มีรัฐมีสัญชาติอาจจินตนาการไปไม่ถึง บทความนี้บอกเล่าถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ไร้รัฐไร้สัญชาติ เป้าหมายไกลสุดของเธอคือการพิสูจน์ว่าเธอ (ชาติพันธุ์อาข่า) มีสัญชาติไทย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ภายใต้สภาพไร้รัฐ ข้อจำกัดกลับเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีก แม้ว่ารัฐไทยจะมีกฎหมายนโยบายเปิดกว้างสำหรับการพิสูจน์และพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคล แต่กระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่เดินด้วยความไม่เข้าใจ รวมถึงทัศนคติที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีต่อคนต่างด้าวที่ไร้รัฐไร้สัญชาติ ยิ่งเติมความยากให้มากขึ้นอีกหลายสิบเท่า
Event though, human rights principle and private international law affirm that human rights is rights and liberty which is every single human being have when they were born and cannot separated unless destroy humanity. Just be a human, you are rights holders in human rights, but in practice to access the rights, exercising of basic rights have to use pass one card which can approve identity particularly if this person want to access or exercise higher level of rights, status positivus, for example, identification paper is necessary.
Stateless people are group of people who understand a necessary of identification paper while state people could not imagine. This article will tell a story of a stateless woman, her goal is proving that she is Akha, an ethnic minority, who have a right to Thai nationality. It is not easy under a condition of being stateless person, moreover, there are a lot of restrictions.
Even though, Thai government have launched laws and policies for verifying and developing right to personal legal status, there are problems on law enforcement and attitude of authorities which are made much more difficult to nationality-less persons.
Article Details
O ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารนิติสังคมศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
O กองบรรณาธิการ CMU Journal of Law and Social Sciences ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาด้วย
References
บรรณานุกรม
Amornlertwattana, C. (2016). Case study of Arporn…a stateless person who never give up, Bangkok: (in Thai)
ชาติชาย อมรเลิศวัฒนา. (2559) “คน”เริ่มต้น เรื่องอาภรณ์...คนไร้รัฐ ผู้ไม่สิ้นความหวัง. กรุงเทพฯ :
Singkaneti, B. (2009). Basic principle related with rights and liberty and human dignity, Bangkok: Vinyuchon. (in Thai)
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2552). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์, กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
Pivavatnapanich, P. (2008). Explanation of private international law, Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช.(2551). คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Visrutpich, V. (2000). Rights and Liberty according to constitute of Thailand B.E.2540(1997). Bangkok: Vinyuchon. (in Thai)
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์.(2543). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540, กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
Pakeerut, W. (2011). Administrative law in general. Bangkok: Nitirat. (in Thai)
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2554). กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป. กรุงเทพฯ : นิติราษฎร์.
บรรณานุกรมไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ
Amornlertwattana, C. (2016). Case study of Arporn…a stateless person who never give up, Bangkok: (in Thai)
Singkaneti, B. (2009). Basic principle related with rights and liberty and human dignity, Bangkok: Vinyuchon. (in Thai)
Pivavatnapanich, P. (2008). Explanation of private international law, Bangkok: Thammasat University Press. (in Thai)
Visrutpich, V. (2000). Rights and Liberty according to constitute of Thailand B.E.2540(1997). Bangkok: Vinyuchon. (in Thai)
Pakeerut, W. (2011). Administrative law in general. Bangkok: Nitirat. (in Thai)