การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนไทยพลัดถิ่น ผ่านความร่วมมือพหุภาคีระหว่างภาครัฐ องค์กรวิชาการและภาคประชาสังคม : กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดระนองและประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์
วิศรุต สำลีอ่อน

บทคัดย่อ

ภายหลังจากพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 มีผลใช้บังคับ อาจกล่าวได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญต่อกลุ่มประชากรกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นได้ เนื่องจากได้มีการวางหลักการพิสูจน์และคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่นแต่อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการขาดความเป็นเอกภาพในตัวเอกสารพิสูจน์ตัวบุคคล ( ป.ค. 14) และภาครัฐประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ประกอบกับเจตคติในเรื่องความมั่นคงของหน่วยงานภาครัฐต่อกลุ่มประชากรคนไทยพลัดถิ่นซึ่งจากปัญหาดังกล่าวเอง นำไปสู่การจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการพิสูจน์สัญชาติและรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นระหว่างกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยกับมหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) มูลนิธิชุมชนไท (มชท.) และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สำนักงาน กสม.) ลงวันที่ 16มกราคม 2559 จากบันทึกข้อตกลงดังกล่าวก่อให้เกิดโครงการ“การช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาสทีมีปัญหาเกี่ยวกับสถานะบุคคล (คนไทยพลัดถิ่น)” โดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ รับผิดชอบในการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการยื่นคำร้องและการรวบรวมพยานหลักฐานเรื่องการพิสูจน์สัญชาติแก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดระนองขณะที่พื้นที่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยรังสิตคือพื้นที่ในบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการลงนามผ่านความร่วมมือดังกล่าวแม้ว่าจะก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติหลายประการไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่อง 1) ปัญหาด้านแบบฟอร์มเรื่องการพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นที่ไม่มีเอกภาพ 2) ปัญหาความต่อเนื่องของบุคลากรในการปฏิบัติหน้าที่ประจำท้องที่ 3) ปัญหาเรื่องทัศนคติของเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ต่อนิสิตนักศึกษาที่เข้าไปช่วยเหลืองาน  แต่อย่างไรก็ดีการลงนามในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวก่อให้เกิดผลดีหลายประการ เช่น ก่อให้เกิดการทำงานที่ประสานกันระหว่างภาคีเครือข่ายส่งผลให้การแก้ปัญหาพิสูจน์และรับรองสัญชาติคนไทยพลัดถิ่นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก่อให้เกิดการลดภาระการทำงานของเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ก่อให้เกิดกระบวนการสร้างจิตอาสาให้กับนิสิตและนักศึกษาในการเข้าใจและเห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์มากขึ้น

After the Nationality Act (the 5th Amendment) B.E.2555 came into force, it seems that this Act brings a significant change to a group of Thai displaced people because this Nationality Act provides channels for displaced populations to verify and regain their nationality. However, it can be said that the enforcement of this Act is not effective as it should be. The problems lack of unity regarding national verification form (Por. Kor 14) and the shortage of staff. Moreover, the attitude of provincial administration officers toward security causes less effectiveness to the enforcement of the Act. Therefore, in order to mitigate those barriers, on 16th January 2016, a Memorandum of Understanding (MOU) was signed. This MOU consists of several parties such as the Provincial Administration Department, Thaksin University and Rangsit University, Coordination Office to Develop well-being Society, the Chum Chon Thai Foundation and the National Human Rights Commission. The result of this MOU causes the establishment of the project called “the assistance of Thai Displaced People” which aims to assist and facilitate district officials in handling demands and helps community members gathering documentary evidences which are necessary for nationality verification in Ranong by Thaksin University and PrachuapKhiri Khan Provinces by Rangsit University. Although the MOU already established, some difficulties have not been resolved yet, namely 1). The problems lack of unity regarding national verification form (Por. Kor 14) 2). The inconsistency of working period of a district chief officer, 3) the attitude of provincial administration officers toward students. It should be noted that the results of establishment this MOU also bring several benefits to the nationality verification process such as creating cooperation with all parties under MOU which leads to have sufficient in term of national verification and recognition of Thai displaced people as well as enhancing a capacity of local administrative staff by getting help from students. Furthermore, working under this MOU is likely to encourage students to have a volunteer spirit. 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ภาษาไทย

การพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตาม พ.ร.บ. สัญชาติฉบับที่ 5 พ.ศ.2555. 20 มิถุนายน 2559 จากhttp://chumchonthai.or.th/node/326

กฤตยา อาชวนิจกุล. (2554). การจัดการระบบคนไร้รัฐในบริบทประเทศไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล น.104.

จตุรนต์ ถิระวัตน์. (2555). กฎหมายระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ, วิญญูชน.

อานนท์ ศรีบุญโรจน์.“สถานะของปัจเจกชนในบริบทกฎหมายระหว่างประเทศ สมัยใหม่” ในบทบัณฑิตย์. เล่มที่ 68 ตอน 3. กันยายน 2555, น.78.

Saovanee Kaewjullakarn and Arnon Sriboonroj, “How does human rights function properly to the forgotten group (Rohingyas)?”ใน วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทาลัยทักษิณ. ปีที่ 5 ฉบับที่ 7. มกราคม-ธันวาคม 2558, น.85.

คนไทยพลัดถิ่น” ชะตากรรมที่ตนองไม่ได้ก่อ ต้นตอปัญหาเกิด จากรัฐไทยหรือ พม่า หรือนักล่าอาณานิคม!? (จบ) 27 มิถุนายนจาก http://prachatai.com/journal/2007/10/14657

คืนสัญชาติ คืนศักดิ์ศรี คืนมาตุภูมิ 12 คนไทยพลัดถิ่น 18 มิถุนายน 2559 จาก http://transbordernews.in.th/home/?p=7082

รายงานวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานลงพื้นที่ของนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณ ภายใต้ “โครงการช่วยเหลือประชาชนผู้ด้อยโอกาสที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานะ บุคคล (คนไทยพลัดถิ่น) ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2559.

วรรธิดา เมืองแก้ว. (2558). “ปัญหาและอุปสรรคของการนำนโยบายไปปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติสัญชาติไทย. (ฉบับที่ 5).พ.ศ. 2555 : กรณีศึกษาคนไทย พลัดถิ่น จังหวัดระนองและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์” วิทยานิพนธ์รัฐ ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฐิรวุฒิ เสนาคำ. “ไทยพลัดถิ่นในและจากมณฑลตะนาวศรีกับปัญหารัฐ-ชาติ” เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ (ทักษิณวิชาการ 51) ระหว่าง วันที่ 15-16 สิงหาคม 2551 สถาบันทักษิณคดี มหาวิทยาลัยทักษิณ.

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎกระทรวงพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ.2555

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น ใบรับและหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น

แบบคำขอพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508

พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่5)พ.ศ.2555

ภาษาอังกฤษ

Arisne Kupfeman-Sutthavong. (2016). Stateless fight for Thai identity. June 25 2016.Retrived from http://www.bangkokpost.com/print/903200/

United Nation High Commission for Refugees (UNHCR) (2014). Global 2014-24 Action Plan to End Statelessness. Retrieved June 25 2016 from http://www.refworld.org/docid/545b47d64.html

United Nation High Commission for Refugees (UNHCR). Legal and Protection Policy Research Series UNHCR and De Facto Statelessness. p.I. 20 June 2016 Retrieved from http://www.unhcr.org/4bc2ddeb9.pdf

United Nations Human Rights Office of the High Commission .Rights to Nationality and Statelessness. 25 June 2016 retrieved from http://www.ohchr.org/EN/Issues/Pages/Nationality.aspx.