ปฏิกิริยาตอบสนองต่อโครงสร้างของสมาชิกผู้ติดยาเสพติดในสถาบันแบบเบ็ดเสร็จ

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา แก้วเกลี้ยง โรงเรียนการกำลังสำรอง ศูนย์การกำลังสำรอง

คำสำคัญ:

ปฏิกิริยาตอบสนองต่อโครงสร้าง, สมาชิกผู้ติดยาเสพติด, สถาบันแบบเบ็ดเสร็จ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะปฏิกิริยาตอบสนองต่อโครงสร้างของสมาชิกในสถาบันแบบเบ็ดเสร็จ (Total Institution) ที่มีลักษณะคาบเกี่ยวระหว่างความเป็นสถาบันตาม “ตัวแบบทางกระบวนการยุติธรรมชุดเก่า” และ “ตัวแบบทางการแพทย์” กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ติดยาเสพติดเพศชายที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดลาดหลุมแก้ว ซึ่งได้นำแนวคิดเกี่ยวกับสถาบันแบบเบ็ดเสร็จของเออร์วิง กอล์ฟแมน (Erving Goffman) มาเป็นมโนทัศน์เร้าความรู้สึก (Sensitizing Concept) ในการวิเคราะห์ และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) โดยทำการเก็บข้อมูลผ่านทางการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) ในลักษณะของการฝังตัวในสนามเป็นเวลา 2 เดือน

ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกในสถาบันดังกล่าวมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อโครงสร้างในลักษณะของการต่อรองต่อโครงสร้าง ทั้งการต่อรองเชิงปฐมภูมิ (Primary Adjustment) และการต่อรองเชิงทุติยภูมิ (Secondary Adjustment) สำหรับการต่อรองเชิงปฐมภูมิ สมาชิกได้พยายามแสดงตัวเป็น “สมาชิกที่ดี” ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความกลมกลืนกับโครงสร้าง ส่วนการต่อรองเชิงทุติยภูมิ เป็นการกระทำระหว่างกันของสมาชิกใน “โลกลับหลังเจ้าหน้าที่” ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษาหารือระหว่างกัน การสรวลเสเฮฮาระหว่างกันการเล่า “ความลับ” ระหว่างกัน การนินทาระหว่างกัน และการแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวระหว่างกัน โดยการต่อรองในลักษณะนี้แสดงถึงระเบียบความสัมพันธ์ชุดใหม่ที่สมาชิกร่วมกันสร้างขึ้น เพื่อสร้างความผ่อนคลายและลดความตึงเครียดให้กับตนเอง อย่างไรก็ตาม ทั้งการต่อรองเชิงปฐมภูมิและการต่อรองเชิงทุติยภูมิล้วนเป็นกลยุทธ์ที่สมาชิกสร้างขึ้น เพื่อเอาตัวรอดในชีวิตประจำวันทั้งสิ้น มิได้เป็นการทำลายโครงสร้างให้สูญสลายลงไปแต่อย่างใด

References

จารุวรรณ คงยศ. (2551). การปรับตัวของผู้ต้องขังให้เข้ากับสภาพเรือนจำ: ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำกลาง คลองเปรม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นพดล อิ่มสมุทร. (2542). การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางสมุทรปราการ (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิติภัทร์ สุภัทราวิวัฒน์. (2552). มาตรการทางกฎหมายในการกำหนด หลักเกณฑ์และกลุ่มเป้าหมาย ของผู้เข้ารับการบำบัดรักษา และการขยายฐานความผิดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยา เสพติด พ.ศ. 2545 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นุชนาฏ มุกุระ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขัง เรือนจำกลางเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประวิทย์ สุขพูล. (2545). การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดโดยวิธีชุมชนบำบัด ในเรือนจำกลางขอนแก่น (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รุจาภา เสลาคุณ. (2555). การบังคับบำบัดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด, นิตยา สำเร็จผล, และมณี อาภานันทิกุล. (2548). ผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545. รายงานการวิจัยของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สายพิณ ศุพุทธมงคล. (2542). คุกกับคน: อำนาจและการต่อต้านขัดขืน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สุดสงวน สุธีสร. (2529). อาชญากรรม : ความหมาย ขอบเขต และทฤษฎี. ม.ป.พ., ม.ป.ท..

สุรีย์รัตน์ จัตุกูล. (2553). ทัศนคติต่อขั้นตอนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ของผู้บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของกรมคุมประพฤติ ในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวัฒชัย ศรีทองสุข. (2548). ความคิดเห็นของผู้ติดยาเสพติดต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสาวลักษณ์ ปลั่งเกียรติยศ. (2547). ทัศนะของผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (ลาดหลุมแก้ว) ต่อการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หัสยา ไทยานนท์. (2551). การให้การปรึกษาในงานสังคมสงเคราะห์ : ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ลาดหลุมแก้ว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉรียา ชูตินันทน์. (2555). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

Ben Crew. (2014, April). Not Looking Hard Enough: Masculinity, Emotion, and Prison Research. Qualitative Inquiry. 20, 392-403.

Erving Goffman. (1961). ASYLUMS: Essays on the social situation of mental patients and other inmates. New York: Dell.

Herbert Blumer. (1969). Symbolic interactionism: Perspective and method. London: California.

John J. Macionis. (2001). Sociology. New Jersey: Prentice Hall.

Mary Bosworth, Debi Campbell, Bonita Demby, Seth M. Ferranti, & Michael Santos. (2005, February). Doing Prison Research: Views from Inside. Qualitative Inquiry. 11, 249-264.

Noor Rahamah Hj, Abu Baker & Mohd, Yusof Hj. Abdullah. (2008, January). The Life History Approach: Fieldwork Experience. Jurnal e-Bangi, 3, 1-9.

Reza Ali Mohseni. (2012, January). The Sociological Analysis of Prison : Costs and Consequences. Journal of Law and Conflict Resolution. 4, 13-19.

Ruth A Wallace and Alison Wolf. (1995). Contemporary sociological theory. New Jersey: Prentice Hall.

Sammy Toyoki & Andrew D Brown. (2014, June). Stigma, Identity and Power: Managing Stigmatized Identities though
Discourse. Human Relation. 67, 715-737.

Thomas Ugelvik. (2012, March). Prisoners and their Victims: Techniques of Neutralization, Techniques of the Self. Ethnography. 13, 259-277.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2018