การออกแบบระบบการศึกษาทางทหารของไทยใหม่ เพื่อการผลิตทหารอาชีพและการปฏิรูปกองทัพ

ผู้แต่ง

  • สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

คำสำคัญ:

การปฏิรูปกองทัพ, ทหารอาชีพ, ระบบการศึกษาทางทหาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอตัวแบบและแนวทางการบรรลุผลในการปฏิรูปกองทัพและประชาธิปไตยอย่างยั่งยืนและมั่นคง ด้วยหนทางใหม่คือ การปฏิรูปจากภายในหรือที่เรียกกันว่า “ระเบิดจากข้างใน” โดยการสร้างทหารรุ่นใหม่ให้มีลักษณะเป็นทหารอาชีพตามแบบสากล คือมีความเป็นทหารวิชาการ ทหารปัญญาชนไปในตัว และมีข้อเสนอว่าการจะสร้างทหารอาชีพนี้ ต้องมีการออกแบบการจัดระบบการศึกษาทางทหารแบบใหม่ โดยเฉพาะระดับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ด้วยวิธีการวิจัยเชิงเอกสารและภาคสนาม จากฐานข้อมูลและองค์ความรู้ในประเทศประชาธิปไตย เช่น โรงเรียนนายร้อยทหารบกของสหรัฐอเมริกา ยุโรป-ฝรั่งเศส เยอรมนีและอิตาลี รวมทั้งกลุ่มประเทศเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยจากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย ในขั้นสรุปเป็นการออกแบบระบบการศึกษาจากองค์ความรู้ต่างประเทศสู่กรณีของไทยใน 3 โมเดล คือข้อเสนอให้มีการปรับระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในลักษณะใหม่ ได้แก่ (1) การปรับเล็ก (S) (2) ระดับกลาง (M) และ (3) ขนาดใหญ่ (L) จากนั้นจะนำเสนอผลการวิจัยเชิงนโยบายให้กับฝ่ายการเมืองและกองทัพบก เพื่อนำตัวแบบที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิรูประบบการศึกษาการทหารของไทยอย่างจริงจังต่อไป

References

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. (2510). ครบรอบ 80 ปี โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. กรุงเทพฯ: กองทัพบก.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, พลตรีหญิง. (2535). โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากับสยามใหม่ ในช่วง พ.ศ. 2430-2475 เอกสารประกอบการสัมมนาทางประวัติศาสตร์ เรื่องการจัดการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากับสยามใหม่. หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนาคต. จัดโดยสมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์ 2535.

________. (2553). การปฏิรูปทางการทหาร: การสร้างทหารอาชีพและสถาบันทหารและบทบาทของทหารที่มีต่อความมั่นคงของชาติ. วารสารทางวิชาการ สภาอาจารย์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อย
พระจุลจอมเกล้า, 8.

________. “สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานสัมภาษณ์ หลักทรงงานพัฒนาประเทศของ “ในหลวง” (14 ตุลาคม 2559). มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th/news/321590

สมพงษ์ ตุ้มสวัสดิ์. (2535). โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากับสยามใหม่ ในช่วง พ.ศ. 2475-ปัจจุบัน เอกสารประกอบการสัมมนาทางประวัติศาสตร์ เรื่องการจัดการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ากับสยามใหม่. หนึ่งศตวรรษสยามใหม่กับเส้นทางสู่อนาคต. จัดโดยสมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 14-16 กุมภาพันธ์ 2535 (เอกสารสำเนา).

สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ. (2557). ตำนานใหม่ของขบวนการเสรีไทย: เรื่องราวของการต่อสู้เพื่อเอกราช สันติภาพ และประชาธิปไตยอย่างแท้จริง. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

________. (2558). นักรบสันติวิธี: ประวัติศาสตร์ ตำรา และวาท
กรรมการทหารไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

________. โรงเรียนนายร้อยเอกชนของสหรัฐอเมริกา กับความเป็นไปได้ของ “นายร้อยเอกชน” และ “นายร้อยหญิง” ในประเทศไทย สืบค้นจาก http://www.rsu.ac.th/jla/.../20160630abstractDTVY2.pdf

________. (2559). ระบบการเรียนการสอนของโรงเรียนนายร้อยสหรัฐอเมริกากับปรัชญาและ “หัวใจ” ของการผลิตทหารอาชีพ. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1).

สุรชาติ บำรุงสุข. (2558). เสนาธิปไตย รัฐประหารกับการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.“สุรชาติ บำรุงสุข" บนเวทีปฏิรูปกองทัพ "ไม่มีปัญญาชนประเทศใดหนุนการรัฐประหารยกเว้นปัญญาชนไทย”. (21 กันยายน 2553). ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/politics

เสรยา. (2556). คนปั้นเมฆ ชีวิตและประสบการณ์ของพลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

อรอนงค์ ทิพย์พิมล. (2013). สภาปฏิรูปอินโดฯ ตัวแบบการนำทหารกลับเข้ากรมกอง. สืบค้นจากhttp://www.prachatai.com/journal/2013/09/48717
อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ตอบคำถามนายภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ในประเด็นคำถามรัฐประหารกันเมื่อ 22 ปีที่แล้ว (รัฐประหาร ปี 2534) แล้ว กับวันนี้ของประเทศไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร.(14 สิงหาคม 2557). สืบค้นจากhttps://www.jabted.com/statement/Anand-talk-coup/

อนุสรณ์ 50 ปี โรงเรียนเทคนิคทหารบก. (2527). กรุงเทพฯ: ธนาคารทหารไทย.

Aderson, N. (2016, April 26). Service academies: Where the U.S. military meets liberal arts. The Washington Post.

Aguero, Felipe & Stark, Jeffery (ed.). (1998). Fault Lines of Democracy in Post-Transition Latin America. Florida, the University of Miami: North-South Center Press.

Alagappa, Muthiah, Coercion & Governance. (2001). The Declining Political Role of the Military in Asia. Stanford, California: Stanford University Press.

Australian Defence Force Academy. Retrieved from http://www.army.gov.au/Army-life/Army-careers/ADFA

Battye, Noel Alfred. (1974). The Military, Government and Society in Siam, 1868-1910: Politics and Military Reform During the Reign of King Chulalongkorn. (Doctoral dissertation). Cornell University.

Huntington, Samuel P. (1957). The Soldier and the state: Theory and Politics of Civil-Military Relations. NewYork: Vantage Books.

Janowitz, Morris. (1960). The Professional Soldier. London: The free press of Glencoe.

Jongnam Na. (2006). Making Cold War Soldiers: The Americanization of the South Korean Army, 1945-1955. Ph.D. University of North Carolina at Chapel Hill.

José Javier Olivas Osuna. (2012). Civilian Control of the Military in Portugal and Spain: a Policy Instruments Approach. A thesis submitted to the Department of Government of the London School of Economics for the degree of Doctor of Philosophy, London.

KMA. (2016). 2016-2019 Korea Military Academy English Hand Book. Korea Military Academy.Korea National Defense University. Retrieved from http://www.kndu.ac.kr/eng/
McCoy, Alfred W. (1999). Closer Than Brothers: Manhood at the Philippine Military Academy. New Haven: Yale University Press.

Pion-Berlin, David. (ed.). (2001). Civil-Military Relations in Latin America. Chapel Hill, the University of North Carolina Press.

Royal Military College – Duntroon. Retrieved from http://www.army.gov.au/Army-life/Army-careers/RMCD
Sharanbir (Sharan) Grewal Why Tunisia didn’t follow Egypt’s path. Retrieved from https://www.washingtonpost.com/blogs/monkey-cage/wp/2015/02/04/why-egypt-didnt-follow-tunisias-path/

Stithorn Thananithichot. (2555). “The Political Role of the Military in Democratic Era: The Case of Brazil and Some Lessons for Thailand” ASEAN Annual Review. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 3(1), 149-170.

Varol, Ozan O. (2012). “The Democratic Coup d’Etat”. Harvard International Law Journal, 53(2), 292-356.

Wolters, O. W. (1982). History, Culture, and Region in Southeast Asian Perspectives. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2018