ยุทธโกษ: ภาพสะท้อนความคิดของทหาร ระหว่าง พ.ศ.2435 – 2500

ผู้แต่ง

  • ปวีณา มูซอเฮด นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ยุทธโกษ, การทหาร, การเมือง

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาความคิดของทหารในหนังสือยุทธโกษ[1] ระหว่าง พ.ศ.2435 – 2500 ในระยะแรกบทความที่ลงตีพิมพ์มีเนื้อหาหลากหลาย เช่น ยุทธวิธีทางทหาร ประกาศและพระราชบัญญัติต่างๆ เป็นต้น ต่อมาช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีการลงบทความที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการทหารของต่างประเทศ การรบในสงครามของประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น และภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 งานเขียนในหนังสือยุทธโกษเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางการเมือง และการมีรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพายังมีการนำเสนอเกี่ยวกับการปลุกใจให้รักชาติอีกด้วย และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงบทความในยุทธโกษจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและคอมมิวนิสต์ตามบริบททางการเมืองภายหลังการรัฐประหารใน พ.ศ.2490 เป็นต้น ดังนั้น บทความในยุทธโกษจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดของทหารซึ่งสอดคล้องกับบริบททางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลานั้น ๆ

 

          [1] แม้ว่าบนหน้าปกของยุทธโกษจะระบุว่าเป็น “นิตยสารยุทธโกษ”ก็ตาม แต่ภายในยังคงมีการใช้คำว่า “หนังสือ” หรือ “หนังสือพิมพ์”อยู่เช่นเดิม ดังนั้นในบทความนี้จะใช้คำว่า “หนังสือ”ตลอดทั้งบทความ

 

References

กนกวลี ชูชัยยะ. (2558). พัฒนาการทางความคิดของกลุ่มทหารอาชีพ พ.ศ. 2475 – 2524. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกษม โชติดิลก, พลตรี. (2494, พฤศจิกายน). ใครชนะในสงครามเกาหลี. ยุทธโกษ, 59, 15-26.
ขุนถนอมนิติเวชช์, ร้อยโท. (2475, ตุลาคม). การหัดทหารใหม่. หนังสือพิมพ์ ทหารบก, 2, 28-38.
จุลรถ. (2492, ธันวาคม). วินัย เกียรติ กล้าหาญ สุจริต รักชาติ. ยุทธโกษ, 57, 71-80.
เจริญ วัฒนวงษ์ศิรี, นักเรียนนายร้อย. (2476, มกราคม). ชาติที่พร้อมรบ. หนังสือพิมพ์ทหารบก, 8, 2-11.
แจ้งความหนังสือพิมพ์ยุทธโกษ. (2435, กันยายน). ยุทธโกษ, 1, 2-3.
ชาน ชานไช้จักร, เรือเอก. (2484, มกราคม). ความสามัคคีคือกำลังไหย่ของ ชาติ. ยุทธโกษ, 45-49.
ชื่น, ร้อยตรี. (2455, เมษายน). รายงานการศึกษาและการฝึกวิชาแพทย์ใน สนาม. ยุทธโกษ, 20, 376-392.
เต็ก, ว่าที่ร้อยตรี. (2450, กันยายน). การสงครามญี่ปุ่นและรัสเซีย ซึ่งได้ทำ มาแล้วต่อกันเมื่อเร็วๆนี้. ยุทธโกษ,
16, 45-50.
______. (2450, พฤศจิกายน). ข่าวเปรียบเทียบทหารญี่ปุ่นรัสเซีย. ยุทธโกษ, 16, 193-204.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2548). การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ, แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์,
หม่อมราชวงศ์ประกายทอง สิริสุข และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิตำรา-สังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์.
บรรณาธิการแถลง. (2490, ธันวาคม). ยุทธโกษ, 54, 97-99.
ปิยนาถ บุญนาค. (2550). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริง ถึง เหตุการณ์14 ตุลาคม พ.ศ.2516). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประยูร พุทกาญจนกุล, พันโท. (2499, เมษายน). ยุทธวิถีของโซเวียต. ยุทธ โกษ, 64, 61-86.
ประสิทธิ์ สุชีวะ, นักเรียนนายร้อย. (2476, มกราคม). ขวัญของทหาร. หนังสือพิมพ์ทหารบก, 8, 21-23.
ประหยัด อจลภูมิ, พลตรี. (2489, ธันวาคม). ความเป็นกลาง. ยุทธโกษ, 52, 59-67.
เปรมชัย วิตตะ, ร้อยเอก. (2492, มิถุนายน). สัญลักษณ์ของนักการเมือง. ยุทธโกษ, 57, 87-90.
______. (2492, ตุลาคม). เหตุใดไทยจึงจน. ยุทธโกษ, 57, 77-81.
______. (2492, พฤศจิกายน). รักชาติจะดีอย่างไร. ยุทธโกษ, 57, 97-82.
ผิน, ร้อยโท. (2450, มีนาคม). กองทัพบกอังกฤษในปัจจุบัน. ยุทธโกษ, 16, 619-625.
ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ทหารบก. (2476, มีนาคม). การศึกษาของนักเรียน นายร้อย. หนังสือพิมพ์ทหารบก, 13, 41- 49.
พนม โชติพิมาย, พลจัตวา. (2499, พฤศจิกายน). กำลังสำรองกองหนุน กองทัพบกสหรัฐ. ยุทธโกษ, 63, 11-24.
พระยาทรงสุรเดช. (2475, กันยายน). การป้องกันการต่อสู้เครื่องบิน. หนังสือพิมพ์ทหารบก, 1, 7-18.
พระยาสีหราชเดโช, พลตรี. (2435, พฤศจิกายน). คำนำว่าด้วยลักษณะ การทหารในยุโรป. ยุทธโกษ, 1, 67-68.
พระยาอภัยสงคราม, พลเอก. (2499, พฤศจิกายน). คนอพยพ,หลบภัยและ พลัดถิ่น. ยุทธโกษ, 62, 15–18.
พระยาอานุภาพไตรภพ, พลตรี. (2492, พฤศจิกายน). หลักประจำใจสำหรับ นักประชาธิปไตย. ยุทธโกษ, 57, 69-76.
พโยม จุลานนท์, พันตรี. (2484, ธันวาคม). กรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโด จีนฝรั่งเศส. ยุทธโกษ, 50, 19-41.
______. (2491, เมษายน). รัฐสภากับการทหาร. ยุทธโกษ, 52, 124-131.
ฟื้น ริทธาคนี, นาวาเอก. (2485, มกราคม). สงคราม หรือสันติภาพ. ยุทธ โกษ, 50, 65-72.
ภารดี มหาขันธ์. (2518). การปฏิรูปการทหารในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เยรินี, ร้อยเอก. (2436, กรกฎาคม). คำนำว่าด้วยคำนำว่าด้วยวิธียุทธศึกษา. ยุทธโกษ, 1, 67-78.
ร.ร.ภ. (2476, กรกฎาคม). ทหารของชาติ. หนังสือพิมพ์ทหารบก, 40, 18- 27.
วัฒนา พยัฆนิธิ, ร้อยเอก. (2492, มิถุนายน). พลเมืองทหาร. ยุทธโกษ, 57, 17-22.
วาด, ร้อยเอก. (2450, กันยายน). การเปลี่ยนแปลงทหารบกในประเทศจีน. ยุทธโกษ, 16, 34-44.
วัลลภ โรจนวิสุทธิ์, พันตรี. (2490, กุมภาพันธ์). ทำไม...นอร์มังดี. ยุทธโกษ, 52, 31-46.
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2516). พระประวัติจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช. กรุงเทพฯ: กรมยุทธศึกษาทหารบก.
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าพิษณุโลกประชานาถ. (2450, พฤศจิกายน). แก้ความเข้าใจผิดที่คลาดเคลื่อนในข่าวเปรียบเทียบทหารญี่ปุ่นกับรูเซีย. ยุทธโกษ, 16, 416-428.
______. (2452, กุมภาพันธ์). คำแนะนำในการประลองยุทธ์กองผสม. ยุทธ โกษ, 18, 499-590.
______. (2452, สิงหาคม). พงษาวดารความเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำ สงคราม. ยุทธโกษ, 17, 937-958.
______. (2454, มิถุนายน). กฎว่าด้วยอำนาจการลงอาญาทหารบกและ คำอธิบาย. ยุทธโกษ, 20 , 529-549.
สมบูรณ์ วิริยสิริ, นักเรียนเท็ฆนิค. (2484, กุมภาพันธ์). เครื่องบินดำทิ้ง ระเบิด. ยุทธโกษ, 50, 41-46.
สุตรจิต จารุศ์รนี, ร้อยโท. (2475). เทิดรัฐธรรมนูญ (ฉบับพิเศษฉลอง รัฐธรรมนูญ). หนังสือพิมพ์ทหารบก, 2-4.
ไสว เกตุสุวรรณ, นักเรียนนายร้อย. (2475, ธันวาคม). สงครามอเมริกาญี่ปุ่น. หนังสือพิมพ์ทหารบก, 11, 24-31.
ส.สรานุชิต, พลตรี. (2490, กรกฎาคม). ข้อคิดหลังสงคราม. ยุทธโกษ, 52, 13-39.
แสวง ทัพภะสุด, พันตรี. (2484, พฤศจิกายน). รักชาติต้องสร้างชาติ. ยุทธ โกษ, 50, 45-51.
หลง ใส่ลายสือ. (2548, พฤษภาคม). พระสยามเทวาธิราชปางประทับนั่งฝีมือ ใคร?. ศิลปวัฒนธรรม, 307, 24-27.
หลวงประสิทธิราชศักดิ์, ร้อยเอก. (2435, พฤศจิกายน). คำนำว่าด้วยการธรรมเนียมทหารประเทศเยอรมัน.ยุทธโกษ, 1, 51-52.
______. (2436, พฤษภาคม). คำนำว่าด้วยความเสียดาย. ยุทธโกษ, 1, 290- 291.
หลวงพลพินัยการ, พันตรี. (2475, ตุลาคม). คำอธิบายธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ.2475. หนังสือพิมพ์ทหารบก, 2, 52- 58.
หลวงรณสิทธิพิชัย, ร้อยเอก. (2475, พฤศจิกายน). ถ้อยแถลง. หนังสือพิมพ์ ทหารบก, 1, 1-7.
______. (2476, ธันวาคม). ทหารกับการเมือง. หนังสือพิมพ์ทหารบก, 6, 54-62.
หลวงสารานุประพันธ์, พันตรี. (2475). ทหารรัฐธรรมนูญ (ฉบับพิเศษฉลอง รัฐธรรมนูญ). หนังสือพิมพ์ทหารบก, 142-155.
อัจฉราพร กมุทพิสมัย. (2542). กบฏ ร.ศ.130 กบฏเพื่อแนวคิด ประชาธิปไตยแนวคิดทหารใหม่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์วิชาการ.
อัศวจารุ. (2476, กุมภาพันธ์). การทหารกับการเมือง. หนังสือพิมพ์ทหารบก , 2, 51-57.
อุดม พุทธิเกษตริน, พันตรี. (2482, พฤศจิกายน). แนวหลัง. ยุทธโกษ, 50, 47-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2018