แนวคิดเรื่องตัวตนที่รู้คิดและกระบวนการสร้างตัวตนของมิเชล ฟูโกต์

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ อุปัชฌาย์, ดร. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

คำสำคัญ:

มิเชล ฟูโกต์, ตัวตนที่รู้คิด, เทคโนโลยีแห่งตัวตน

บทคัดย่อ

การศึกษาความเป็นตัวตนที่รู้คิดตามแนวทางของ มิเชล ฟูโกต์ เป็นความพยายามที่จะทลายข้อจำกัดของศาสตร์ที่ว่าด้วยมนุษย์ในยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ซึ่งเดิมเคยถูกตีกรอบจากญาณวิทยาในการศึกษามนุษย์ที่ถูกหยิบยกมาจากการสร้างความรู้เชิงประจักษ์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ที่มองเห็นและจับต้องได้ ผสมผสานเข้ากับวิธีคิดของการสร้างความหมาย ตามหลักคิดของความเป็นเหตุเป็นผลเชิงปรัชญาที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างและความตระหนักรู้ของมนุษย์กับภาพปรากฏที่มนุษย์รับรู้ จากรูปแบบของการวิเคราะห์เชิงปรัชญาที่หลากหลายดังกล่าว ก่อให้เกิดความคลุมเครือในการก่อตัวของความรู้ในศาสตร์ว่าด้วยมนุษย์ ฟูโกต์นำเสนอแนวคิดใหม่ของการศึกษาศาสตร์ว่าด้วยมนุษย์ จากการก่อตัวทางวาทกรรมและความสัมพันธ์ของถ้อยแถลงอันเป็นวิธีการสร้างความรู้แบบโบราณคดี ร่วมกับการสืบสาวปฏิบัติการที่เป็นวาทกรรมและปฏิบัติการที่ไม่ใช่วาทกรรม ตลอดจนกระบวนการผลิตสร้างความรู้ว่าด้วยความสัมพันธ์ทางอำนาจในรูปแบบวงศาวิทยา ทำให้เขามองเห็นตัวตนของมนุษย์ซึ่งไม่ได้เป็นองค์ประธานของทุกสรรพสิ่งอีกต่อไป แท้จริงแล้ว ความเป็นมนุษย์กลับมีแต่ความไม่ต่อเนื่อง การไม่ลงรอย และการเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้ตัวตนของมนุษย์มีรูปลักษณะที่หลากหลาย เปลี่ยนรูปแปลงร่างไปตามสภาวการณ์ทางสังคมและสำนึกของตัวตน โดยปรากฏตัวท่ามกลางสนามของปฏิบัติการและความสัมพันธ์ทางอำนาจซึ่งเป็นตัวกำหนดตำแหน่งแห่งที่ทางสังคมที่มนุษย์ดำรงอยู่ พร้อมกันนั้น มนุษย์ต่างมีกำลังความสามารถที่จะสร้างความเป็นตัวตนของตนเอง จากศิลปะแห่งการดำรงอยู่ที่สัมพันธ์กับจริยธรรมในการดำรงชีวิตซึ่งบุคคลผู้นั้นยึดถือ อันเป็นเทคโนโลยีแห่งตัวตนที่เปลี่ยนผ่านบุคคลให้เป็นตัวตนที่รู้คิด ซึ่งแสดงว่าตัวตนของมนุษย์ดำรงอยู่อย่างเสรีและมีความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง

References

กัญญาวีร์ แก้วนุ้ย. (2559). การสร้างตัวตนของพ่อแม่ในการจัดการศึกษาโดยครอบครัว. วารสาร มจรสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5 (2), 394 - 408.
จิตติมา เจือไทย. (2551). การก้าวข้ามสู่สุนทรียะแห่งตัวตนของคนพิการ. วารสารลุ่มน้ำโขง, 4 (2), 81 - 102.
ชิเกฮารุ ทานาเบ. (2551). ชุมชนกับการปกครองชีวญาณ: กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีในภาคเหนือของไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2545). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์.กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น = Development Discourse: Power Knowledge Truth Identity and Otherness (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
-------- (2561). วาทกรรมกับอำนาจ. ใน อำนาจไร้พรมแดน ภาษา วรรณกรรม ชีวิตประจำวันและโลกที่เปลี่ยนแปลง (หน้า 71 - 148). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ทองกร โภคธรรม และนพพร ประชากุล. (2547). ร่างกายใต้บงการ. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
ธงชัย วินิจจะกูล. (2558). การศึกษาประวัติศาสตร์แบบสาแหรก วิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ของฟูโกต์. ใน อ่านวิพากษ์มิเชล ฟูโกต์. กรุงเทพฯ: ศยาม.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2532). การวิเคราะห์ซับเจค (Subject) ทฤษฎีที่ใช้ทฤษฎีว่าด้วยอำนาจของมิเชล ฟูโก. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
---------- (2548). การสร้าง "ซับเจค": บทวิพากษ์ Foucault และการวิเคราะห์ "ซับเจค" จากภาพ Las Meninas กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธีรยุทธ บุญมี. (2551). มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault). กรุงเทพฯ: วิภาษา.
เบญจวรรณ อุปัชฌาย์. (2558). นักสิ่งแวดล้อมที่รู้คิด: สิ่งประดิษฐ์สร้างทางการปกครองเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม, 11 (2), 24 - 43.
แบรี่ สมาร์ท. (2555). มิเชล ฟูโกต์ (จามะรี เชียงทอง และสุนทร สุขสราญจิต แปล). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
วรฉัตร วริวรรณ. (2559). การสร้างตัวตนของชาวนาอินทรีย์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5 (2), 367 - 382.
สายพิณ ศุพุทธมงคล. (2545). คุกกับคน: อำนาจและการต่อต้านขัดขืน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2555). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์ จากวาทกรรมของตัวตนถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Agrawal, A. (2005). Environmentality: Technologies of Government and the Making of Subject. Durham: Duke University Press.
Atkins, K. (2005). Commentary on Descartes. In K. Atkins (Ed.), Self and Subjectivity (pp.7 - 11). Oxford: Blackwell.
------------ (2005). Commentary on Kant. In K. Atkins (Ed.), Self and Subjectivity (pp. 47 - 51). Oxford: Blackwell.
Baker, C., & Jane, E. A. (2016). Issues of Subjectivity and Identity. Cultural Studies: Theory and Practice (5 ed.). London: SAGE.
Boucher - Bonnafous, M. (2010). The Concept of Subjectivation: A Central Issue in Governmentality and Government of the Self. In S. Binkley & J. Capetillo (Eds.), A Foucault for the 21st Century Governmentality, Politics and Discipline in the New Millennium. Cambridge: Cambridge Scholars Publishing.
Burchell, G., Gordon, C., & Miller, P. (1991). The Foucault Effect: Studies in Governmentality. London: Haverster Weatsheaf.
Cruikshank, B. (1996). Revolutions within: Self - Government and Self - Esteem. In B. Andrew, O. Thomas & r. Nikolas (Eds.), Foucault and Political Reason: Liberalism, Neo - Liberalism and Rationalities of Government (pp. 231 - 251). Chicago: University of Chicago Press.
Danaher, G., Schirato, T., & Webb, J. (2000). Art of the Self. Understanding Foucault. London: SAGE.
Dean, M. (2010). Governmentality: Power and Rule in Modern Society (2 ed.). London: SAGE.
Foucault, M. (1977). Discipline and Punish: The Birth of a Prison. London: Allen Lane.
---------- (1980). Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writings, 1972-1977. New York: Panteon.
---------- (1983a). On the Genealogy of Ethics: An Overview of Work in Progress. In H. L. Dreyfus & P. Rabinow (Eds.), Michel Foucault: Beyond Structuralism and Hermeneutics (2 ed.). Chicago: The University of Chicago Press.
----------- (1983b). The Subject and Power. In H. L. Dreyfus & P. Rabinow (Eds.), Michel Foucault: Beyond Structuralism and Hermeneutics (2 ed.). Chicago: The University of Chicago Press.
---------- (1984). What is Enlightenment? In P. Rabinow (Ed.), The Foucault Reader. New York: Pantheon Books.
---------- (1990a). The History of Sexuality Volume 1: An Introduction. New York: Vintage Books.
---------- (1990b). The History of Sexuality Volume 2: The Use of Pleasure (R. Hurley, Trans.). New York: Vintage Books.
---------- (1990c). The History of Sexuality Volume 3: The Care of the Self. London: Penguin Books.
---------- (1991). Governmentality. In G. Burchell, C. Gordon & P. Miller (Eds.), The Foucault Effect: Studies in Governmentality. Chicago: The University of Chicago Press.
---------- (1994). The Order of Things: An Archaeology of the Human Sciences. New York: Vintage Books.
---------- (1997). The Hermeneutics of the Subject. In P. Rabinow (Ed.), The Essential Works of Michel Foucault V.1 Ethics: Subjectivity and Truth. New York: The New Press.
---------- (2002). The Archeology of Knowledge. (A. Sheridan, Trans.). London: Routledge.
---------- (2003). The Birth of the Clinic. London: Routledge.
----------- (2004). Technology of the Self. In the Aberdeen Body Group (Ed.), The Body: Critical Concepts in Sociology (Vol.1). New York: Routledge.
---------- (2008). The Birth of Biopolitics. Lectures at College de France 1978-1979. (G. Burchell, Trans.). New York: Palgrave Macmillan.
Gibson, K. (2001). Regional Subjection and Becoming. Environment and Planning, D 19, 639 - 667.
Gordon, C. (1991). Governmental Rationality: An Introduction. In G. Burchell, C. Gordon & P. Miller (Eds.), The Foucault Effect: Studies in Governmentality. Hemel Hempstead: Haverster Weatsheaf.
Legg, S. (2005). Foucault's Population Geographies: Classifications, Biopolitics and Governmental Spaces. Population, Space and Place 11, 137 - 156.
Lemke, T. (2011). Beyond Foucault: From Biopolitics to the Government of Life. In Brockling, U.; Krasmann, S. & Lemke, T. (Ed.), Governmentality Current Issues and Future Challenges. New York: Routledge.
--------- (2002). Foucault, Governmanetality and Critique, Rethinking Marxism. 14 (3), 49 - 64.
Luke, T. W. (1996). Governmentality and Contragovernmentality: Rethinking Sovereignty and Territoriality After the Cold War. Political Geography, 13, 491 - 507.
MacKinnon, D. (2000). Managerialism, Governmentality and the State: Neo - Foucauldian Approach to Local Economic Governance. Political Geography, 19, 293 - 314.
Malette, S. (2010). Green Governmentality and Its Closeted Metaphysics: Toward an Ontological Relationality. University of Victoria.
Markula, P., & Pringle, R. (2006). The Technologies of the Self. Foucault, Sport and Exercise: Power, Knowledge and Transforming the Self. New York: Routhledge.
Mckee, K. (2009). Post - Foucauldian Governmentality: What Does It Offer Critical Social Policy Analysis? Critical Social Policy, 29 (3), 465 - 486.
McNay, L. (1996). Foucualt: A Critical Introduction. Cambridge: Polity Press.
Mitchell, K. (2003). Educating the National Citizen in Neoliberal Times: from the Multicutural Self to the Strategic Cosmopolitan Transactions of the Institute of British Geographers, NS 25, 65 - 76.
Milchman, A., & Rosenberg, A. (2010). The Final Foucault: Government of Others and Government of the Self. In S. Binkley & J. Capetillo (Eds.), A Foucault for the 21st Century. Newcastle: Cambridge Scholars Publishing.
Rabinow, P. (1984). Introduction. In P. Rabinow (Ed.), The Foucault Reader. New York: Pantheon Books.
Rose, N. (1999). Power of Freedom: Reframing Political Thought. Cambridge: The United Kingdom at the University Press.
Rose, N., & Miller, P. (2008). Governing the Present: dministering Economic, Social and Personal Life. Cambridge: Polity.
Rutherford, S. (2007). Green Governmentality: Insights and Oppotunities in the Study of Nature's Rule. Progess in Human Geography, 31 (3), 291 - 307.
Shama, D. (2011). Re(art)iculating Empowerment: Cooperative Explorations with Community Development Workers in Pakistan. Toronto: The University of Toronto.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-08-2018