การพัฒนาบทเรียนแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการรับสาร สำหรับนักเรียนจ่าโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
คำสำคัญ:
การเรียนด้วยวิธีแบบผสมผสาน, บทเรียนแบบผสมผสาน, พัฒนาทักษะการรับสาร, นักเรียนจ่าทหารเรือบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนแบบผสมผสานวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เรื่อง การพัฒนาทักษะการรับสาร 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ และผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีแบบผสมผสาน 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนจ่าชั้นปีที่ 1 โรงเรียนชุมพลทหารเรือ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 60 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Randoms Sampling) แบ่งเป็นผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติ 30 คน และผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีแบบผสมผสาน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนแบบผสมผสานวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เรื่อง การพัฒนาทักษะการรับสารที่ผ่านการประเมินคุณภาพ จากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านสื่อเทคนิค และด้านการวัดการประเมินผล 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนผสมผสาน ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนแบบผสมผสานวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร เรื่องการพัฒนาทักษะ การรับสารได้รับการประเมินคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพ ประกอบด้วย ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการวัดการประเมินผล อยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นไปทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 4.49 และ 4.70 ตามลำดับ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.77 สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยการเรียนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ยภาพรวมเท่ากับ 3.67
References
คมสัน เวนานนท์. (2546). รูปแบบที่เหมาะสมการฝึกนักศึกษาวิชาทหารโดยใช้คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียสําหรับนักศึกษาวิชาทหาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาเทคโนโลยีการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒน์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 1-19.
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2556). เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนภาษาไทย หน่วยที่ 1-8. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. อาชีวะและเทคนิคศึกษา, 1(2), 43-49.
ปราโมทย์ สุขศิริศักดิ์ และนันทิกานต์ กลิ่นเชตุ. (2563). จัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา กรณีศึกษาโรงเรียนนายเรืออากาศ. วารสารพยาบาลทหารบก, 21(2), 44-51.
พิชญาภา ยวงสร้อย. (2562). อริยสัจกับการเรียนรู้ด้วยโครงการในยุคดิจิทัล. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 1-16.
ลภัสปาลิน ใจธรรม. (2558). การเรียนรู้แบบผสมผสานกรณีศึกษา : โรงเรียนศิริวังวิทยาคาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2557). หลักการออกแบบการสอนบนเว็บตามแบบจำลอง ADDIE เพื่อการสอน สนทนาภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างประเทศ. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(12), 192- 192.
วีรวรรณ เพ็งสมบัติ. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภาษาไทยเรื่อง การเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 8(3), 97-109.
เศณวี ฤกษ์มงคล. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 838-853.
สิริโชติ บริบูรณ์ทรัพย์ และ ศรีสมร พุ่มสะอาด. (2562). การจัดการเรียนรู้โดยวิธีการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่องทรานสดิวเซอร์และเซนเซอร์ ของ นักเรียนช่างอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนช่างฝีมือทหาร. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 10(3), 73-83.
สำนักงานเทคโนโลยีและสื่อการสอน. (2562). แนวทางการใช้รูปแบบการส่งเสริมสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงานกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ภาพรวมการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อุมาพร คาดการณ์ไกล. (2558). การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและองค์ประกอบที่มีประสิทธิภาพของการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(1), 1-31.
Cambell, Donald T., and Stanley, Julian C. (1963). Experimental and Quasi-Experimental Design for Research. Boston: Houghton Mifflin.
Hasanah, H. and Malik, M. N. (2020). Blended learning in improving students’ critical thinking and communication skills at University. Cypriot Journal of Educational Sciences, 15(5), 1295-1306.
Nor Azian Abdul Rahmana, Norashikin Husseinb, & Ainie Hairianie Aluwic. (2015). Satisfaction on Blended Learning in a Public Higher Education Institution: What Factors Matter? rocedia - Social and Behavioral Sciences, 211(3), 768-775.
Uwe SCHULZE, Inga GRYL, and Detlef KANWISCHER. (2008). Spatial Citizenship: Creating a Curriculum for Teacher Education. Comenius Action.
Wingard, R. G. (2014). eb-Enhanced Courses : A Multi-Institutional Study. EDUCAUSE QUARTERLY, 1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ