การศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างบัณฑิต 4.0

ผู้แต่ง

  • สมพร โกมารทัต วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

ภาษาต่างประเทศ, การจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ, บัณฑิต 4.0

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างบัณฑิต 4.0 และเปรียบเทียบความคาดหวังเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างบัณฑิต 4.0 ในมุมมองของผู้เรียนและผู้สอน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนและผู้สอนระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพและปริมณฑล เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test แบบ Independent –Samples t-test ผลการศึกษา พบว่า 1) ความคาดหวังการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างบัณฑิต 4.0 ผู้เรียนและผู้สอนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในเรื่องเป้าหมายการเรียนภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างบัณฑิต 4.0 คือ สามารถสื่อสารฟัง พูด อ่าน เขียนระดับบุคคล (Interpersonal Communication) สามารถตีความและวิเคราะห์สิ่งที่ได้รับรู้และสื่อสาร (Interpretive Communication) และสามารถนำเสนอข้อมูลและแนวคิดต่าง ๆ ที่ต้องการสื่อสาร (Presentation Communication) หลักสูตรภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างบัณฑิต 4.0 คือ หลักสูตรบูรณาการความรู้และภาษา เน้นสมรรถนะทางภาษา แนวการจัดการเรียนรู้เป็นการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) และ 2) ความคาดหวังเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเพื่อสร้างบัณฑิต 4.0 ในมุมมองของผู้เรียนและของผู้สอนในภาพรวม พบว่าไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). การจัดการศึกษา 4.0 กับการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน. สืบค้นจาก http://adacstou.wixsite.com/adacstou/single-post/2017/09/01/

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). แนวคิดการศึกษา 4.0. สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/ces/

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: Openworlds.

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. (2560). ประเทศไทย 4.0. สืบค้นจาก https://kmi.or.th/

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย.

สมบัติ คชสิทธิ์และคณะ. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค THAILAND 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 7(2), 175-186.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดประเทศไทย 4.0. สืบค้นจาก http://planning2.mju.ac.th/goverment/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัย “แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2561). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เอนก เทียนบูชา. (2559). หลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นสมรรถนะ. วารสารจันทรเกษมสาร, 22(43), 33-47.

Arne, D. (2013). Education: The Most Powerful Weapon for Changing the World. Retrieved from https://blog.usaid.gov/2013/04/education-the-most-powerful-weapon/

Bernath , R. (2012). Effectives Approaches to Blended Learning for Independent Schools. Retrieved from http://www.testden.com/partner/blended%

Bonk, C. J., and Graham, C. R. (2006). The handbook of blended learning: global perspectives, local designs. San Francisco, CA: Pfeiffer publishing.

Churches, A. (2008). 21st century pedagogy. Retrieved from http://edorigami.edublogs.org/2008/08/16/

Coil, B. and Moonen, J. (2001). Flexible Learning in a Digital World. Experiences and expectation. London: Kogan-Page.

Moore, K.D. (1992). Classroom teaching skills. New York: McGraw-Hill.

Rhonda M. (2006). A critical analysis of transformative learning theory utilizing a social constructionist framework: Toward a theoretical model with implications. Retrieved from https://search.proquest.com/openview/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2021