การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • สรัลพร ถนัดรอบ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • รศ.ดร.ธรินธร นามวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

สมรรถนะครู, การบริหารหลักสูตร, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น ของสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ของครู และ 2) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ของครู โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา 2 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ จำนวน 472 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินโปรแกรมฯ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ของครู โดยรวมทุกด้านและแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครู เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การบริหารจัดการชั้นเรียน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรม ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการสร้างและพัฒนาหลักสูตร 2) ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านการบริหารหลักสูตรและจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ที่พัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูฯ ซึ่งประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างของโปรแกรม รูปแบบและวิธีการพัฒนา เทคนิคและเครื่องมือ และการวัดและประเมินผล โดยมีเนื้อหาสาระการพัฒนา จำนวน 6 Module ได้แก่ Module 1 การสร้างและพัฒนาหลักสูตร Module 2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ Module 3 การบริหารจัดการชั้นเรียน Module 4 การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ Module 5 การใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมและ Module 6 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และส่วนที่ 2 ผลการประเมินโปรแกรมฯ ปรากฏว่า โปรแกรมมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากและมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับ มากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545). กรุงเทพฯ : เดอะบุคส์.

ไฉไลศรี เพชรใต้. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5(11), 170-184.

ชัยนาท พลอยบุตร. (2559). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไท คำล้าน. (2551). การพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำทางสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนานันต์ ดียิ่ง. (2556). โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพฯ: ธนรัช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประโมทย์ นันนิล. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปริญญา มีสุข. (2552). ผลของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี รัตนศรี. (2561). โปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ยอดอนงค์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(2), 344-355.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. (2562). รายงานการประเมินตนเอง (SAR) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 33. สุรินทร์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2561). สมรรถนะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ = National Qualifications Framework (Thailand NQF). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนสำนักงาน ก.พ. (2552). มาตรฐานและแนวทางการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ. นนทบุรี: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2554). การพัฒนาภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสายสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อำนวย จันสำโรง. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ของ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Barr, M.J. and L.A. Keating. (1990). Developing Effective Student Services Programs: Systematic Approaches for Practitioners. San Francisco: Jossey-Bass.

Hough, J.B. and Duncan, K. (1970). Teaching Description and Analysis. s.n.: Addison- Westlu.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2021