กรอบแนวคิดความมั่นคงแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก

ผู้แต่ง

  • สกุลกาญจน์ นิยมพลอย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก
  • พ.อ.หญิง รศ.ดร.ชัญญาพัทธ์ วิพัฒนานันทกุล

คำสำคัญ:

ความมั่นคงของชาติ, ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง, สมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากรอบแนวคิดความมั่นคงแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการประเมินกรอบแนวคิดความมั่นคงแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง และสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก และ การสัมภาษณ์ ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลจำนวน 10 ท่าน ได้แก่ 1) นักวิชาการด้านการทหาร จำนวน 5 ท่าน 2) นักวิชาการที่มีผลงานวิจัยด้านสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก จำนวน 2 ท่าน และ 3) นายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หรือระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาทางทหารของต่างประเทศ จำนวน 3 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิดฯ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความมั่นคงแห่งชาติ มีการเปลี่ยนแปลงบริบทความมั่นคงแห่งชาติที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ แต่ละระดับมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน รูปแบบภัยคุกคามเป็นแบบผสมระหว่างภัยคุกคามรูปแบบเดิมและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ตัวแสดงสามารถเป็นได้ทั้งรัฐและ กลุ่มที่ไม่ใช่รัฐ รูปแบบภัยคุกคามเปลี่ยนแปลงตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบภัยคุกคามความมั่นคงส่งผลต่อรูปแบบภารกิจของทหาร 2) ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงเกี่ยวข้องกับภารกิจของนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกแบ่งได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) การป้องกันประเทศ (2) การรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ และ (3) การปฏิบัติการทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม และ 3) สมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกประกอบด้วย 5 สมรรถนะ ได้แก่ (1) ความเป็นผู้นำทางทหาร (2) ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจ (3) ความรู้ความสามารถทั่วไป (4) การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และ (5) ด้านการใช้ภาษา

References

ดุลยวัฒน์ เชาวน์ดี. (2559). กองทัพเรือในทศวรรษหน้า. วารสารนาวิกศาสตร์, 99(2), 36-47.

ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร. (2557). การบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนของกองทัพไทยภายใต้กระบวนทัศน์ความมั่นคงใหม่ ในบริบทประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พร ภิเศก. (2558). กองทัพบกกับภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก.

ภคภณ สนิมสม และณัฐพล จารัตน์. (2558). คุณลักษณะผู้นำทางทหารที่พึงประสงค์ของกองทัพไทย. วารสารนักบริหาร, 35(1), 75-86.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ราชกิจจานุเบกษา. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580.

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. (2560). แผนพัฒนาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พ.ศ.2560-2564.

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. (2553). เอกสาร วปอ.หมายเลข 008 คู่มือเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัย ป้องกันราชอาณาจักร.

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. (2554). เอกสาร วปอ. หมายเลข 013 คู่มือด้านการทหาร. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

วิทิต ทวีสุข. (2557). พัฒนาการทางทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ: โครงการความมั่นคงศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 39-40.

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2554). การพัฒนาหลักการจัดการความมั่นคงไม่ตามแบบ (พิมพ์ครั้งที่ 1).

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2558). การก่อการร้ายใหม่ : ยุคหลังปารีส. [จุลสาร]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, โครงการความมั่นคงศึกษา, 7.

สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2558-2564 (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา, 3.

Abbott, C., Rogers, P. & Sloboda, J. (2006). Global Responses to Global Threats: Sustainable Security for the 21st century: Oxford Research Group.

Army National Guard Office. (2012). The ARMY National Guard Leader Development Strategy, 12.

Civils, T. H., Jr. (2016). An assessment of the Command and General Staff Officer Core Course effectiveness in developing student critical thinking. (Doctoral dissertation). Kansas State University, USA, 3.

Department of the Army. (2015). FM 6-22 Leader Development. Washington DC: Department of the Army.

Horey, J., Harvey, J., Curtin, P., Keller-Glaze, H., Morath. R., & Fallesen, J. (2007). A Criterion-Related Validation Study of the Army Core Leader Competency Model: United States Army Research Institute for the Behavioral and Social Sciences, 5-6.

Moore, C. S., Sortor, R. E., Leonard, H. A., Polich, M. J., & Peterson, J. (2006). Something Old, Something New Army Leader Development in a Dynamic Environment: Rand publishing, 15.

Mesa, W. S. (2015). Downsizing the United Air Force Security Forces: Phenomenological Investigation. (Doctoral dissertation). Walden University, USA.

Miller, M. (2015). Hybrid warfare: Preparing for future conflict (Research Report). Air War College, USA.

Office of the Dean. (2006). Educating future officers for a changing world. Retrieved 23 March 2020, from United states Military Academy Westpoint. http://www.usma.edu/strategic/SiteAssets/SitePages/Home/EFAOCW.pdf

Woodring, W. O. (2007). The role of the army force generation model in preparing the national guard and reserve for future operations. (Master thesis). The United States Army Command and General Staff College, USA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2021