โจโฉ: การศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจด้วยทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ

ผู้แต่ง

  • บุษดี อรสิริวรรณ กองวิชาอักษรศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

คำสำคัญ:

สามก๊ก, โจโฉ, ผู้นำ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของโจโฉในสถานการณ์ต่าง ๆ และอธิบายโดยใช้ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพของอัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfred Adler) คาเรน ฮอร์นาย (Karen Horney) และอับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) ผลการศึกษาสรุปได้ว่า พฤติกรรมของโจโฉมีที่มาจากความต้องการพื้นฐาน อันได้แก่ ความทะเยอทะยานอยากเป็นใหญ่ ความต้องการเสียงสรรเสริญ ความต้องการอำนาจ นอกจากนี้ โจโฉยังเป็นผู้นำที่มีบุคลิกภาพดี เฉลียวฉลาด รู้ทันคน กล้าหาญ รอบคอบ คิดก่อนตัดสินใจ และเมื่อตัดสินใจก็มีความเด็ดขาด ไม่โลเล ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ทำให้โจโฉสามารถเอาชนะใจคนให้จงรักภักดีต่อเขาและเอาชนะข้าศึกที่มีกำลังมากกว่าได้ แต่จุดอ่อนของโจโฉก็คือนิสัยขี้ระแวงอันเป็นความกังวลพื้นฐานที่ทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว จนถูกมองว่าเป็นคนโหดร้าย โจโฉมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่ง และปกครองแผ่นดินทั้งหมด ความปรารถนานี้เกิดจากแรงจูงใจลำดับที่ 5 แรงจูงใจเพื่อความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ ทำให้เขาต้องทำศึกสงครามตลอดชีวิต และใช้ชีวิตด้วยความระแวงกลัวจะมีคนมาโค่นล้มอำนาจ ในบั้นปลายของชีวิตเขาจึงมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีอาการประสาทหลอน แต่โจโฉก็ไม่ได้ยอมแพ้ ยังคงส่งต่อความปรารถนาที่จะรวมแผ่นดินให้แก่โจผีบุตรชาย และขุนนางที่เขาไว้วางใจให้สานต่องานของเขาให้สำเร็จ

References

กนกพร นุ่มทอง. (2560). ภาพลักษณ์ของโจโฉในวัฒนธรรมจีน. วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 10(1), 83-108.

เกียรติศักดิ์ ฟงปรีชากุล. (2558). สงครามสามก๊ก 26 ยุทธวิธีสู่ชัยชนะ (แปลจาก三国战役โดยหลี่อันสือ). กรุงเทพฯ: มติชน.

โกวิท ตั้งตรงจิตร. (2552). สารานุกรมสามก๊ก. กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.

คณะกรรมการจัดทำเอกสารประกอบการเรียน, กองจิตวิทยาและการนำทหาร กรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์. (2554). เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา PC 2201 การนำทหาร. นครนายก: โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

เดชา โลจน์ศิริศิลป์. (2555). การตัดสินใจภายใต้สถานการณ์วิกฤติ: พฤติกรรมผู้นำในพงศาวดารสามก๊ก. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(1), 237-258.

ธีรวัตร วุฒิพัฒนานนท์, สมบัติ กุสุมาวลี. (2561). การวิเคราะห์ภาวะผู้นำในวรรณกรรมสามก๊ก. Human Resource and Organization Development Journal, 10(2), 110-142.

นพมาศ อุ้งพระ. (2551). ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญศักดิ์ แสงระวี. (2558). ศิลปะการใช้กลยุทธ์ในสามก๊ก. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น.

เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป. (2558). คมผู้นำในสามก๊ก. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

ภัครพล แสงเงิน. (2558). 101 คำถามสามก๊ก: คำถามขยายความคิด พินิตสามก๊ก. Humanities Journal, 22(2), 246-259.

ศิลปากร, กรม. (2547). สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2547). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้เขา รู้เรา) (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-09-2021