นายทหารพัฒนา: กระบวนการสร้างนักพัฒนาของกองทัพบก
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีแห่งตัวตน, ชุมชนพึ่งตนเอง, การศึกษาเรื่องเล่าแนวทางฟูโกเดียนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างตัวตนของนายทหารพัฒนาของกองทัพบก จากประสบการณ์การทำงานของนายทหารผู้ปฏิบัติงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในความรับผิดชอบของกองทัพบก จำนวน 3 นาย ซึ่งเป็นการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักที่ตรงตามทฤษฎี เพื่อแสดงให้เห็นว่าความเป็นนักพัฒนาของพวกเขาถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีการของเทคโนโลยีแห่งตัวตน ตามแนวคิดการสร้างตัวตนของมิเชล ฟูโกต์ ซึ่งสร้างความเป็นจริงทางการพัฒนาที่ถูกผลิตจากภาคปฏิบัติการทางสังคม อันจะทำให้เกิดคุณลักษณะของนักพัฒนาของกองทัพบก โดยพิจารณาจากผลสำเร็จของการสร้างชุมชนพึ่งตนเองได้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการศึกษาเรื่องเล่าตามแนวทางของฟูโกเดียน ผลการวิจัยพบ กระบวนการสร้างตัวตนของนายทหาร 2 ลักษณะ คือ ตัวตนที่ยึดแนวทางการพัฒนาตามศาสตร์แห่งพระราชาอย่างเคร่งครัด และตัวตนที่น้อมนำศาสตร์แห่งพระราชาเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้นักพัฒนาต่อยอดสร้างแนวทางการพัฒนาของตนจนนำชุมชนไปสู่การพึ่งตนเองได้ ทั้งนี้ แก่นร่วมของทุกพื้นที่ คือ การพัฒนาเป็นงานที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งสะท้อนงานด้านความมั่นคงทางการทหาร
References
ชนิดา ชิตบัณฑิตย์. (2554). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ: การสถาปนาพระราชอำนาจนำในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
มิเชล ฟูโกต์. (2547). ร่างกายใต้บงการ. (ทองกร โภคธรรม, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
รัชนี ประดับ. (2556). ชุมชนเข้มแข็ง: ปฏิบัติการเชิงอำนาจของรัฐไทยสมัยใหม่. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
คณะกรรมการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2560). การขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Boucher - Bonnafous, M. (2010). The Concept of Subjectivation: A Central Issue in Governmentality and Government of the Self. In Binkley, S., & Capetillo, J. (Ed.), A Foucault for the 21st Century Governmentality, Politics and Discipline in the New Millennium. Cambridge: Cambridge Scholars Publishing.
Charmaz, K. (2014). Constructing Grounded Theory: Introduction Qualitative Methods Series (2nd ed.). New York: SAGE Publications.
Cheshire, L. (2006). Governing Rural Development: Discourse and Practices of Self - Help in Australian Rural Policy. Cornwell: MPG Books Ltd.
Danaher, G., Schirato, T., & Webb, J. (2012). Understanding Foucault (2nd ed.). London: SAGE Publications.
Foucault, M. (1983). The Subject and Power. In Dreyfus, L., & Rabinow, P. (Ed.), Michel Foucault: Beyond Structuralism and Hermeneutics (2nd ed.). Chicago: The University of Chicago Press.
Foucault, M. (1988). Technologies of the Self. In The Aberdeen Body (Ed.), The Body: Critical Concepts in Sociology. London: Routledge.
Miller, P., & Rose, N. (1990). Governing Economic Life. Economy and Society. 19(1). 2.
Rabinow, P. (1984). Introduction. In Rabinow, P. (Ed.), The Foucault Reader. New York: Pantheon Books.
Riessman, C.K. (1993). Narrative Analysis. Newbury Park, CA: SAGE Publications.
Tamboukou, M. (2003). Women, Education and the Self: A Foucauldian Perspective. New York: Palgrave Macmillan.
Tamboukou, M. (2013). A Foucauldian Approach to Narratives. In Andrews, M., Squire, C., & Tamboukou, M. (Ed.), Doing Narrative Research. (2nd ed.) London: SAGE Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ