ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตนาต่อพฤติกรรมการศึกษาเนื้อหาวิชาจิตวิทยาสังคมจากตำราก่อนเรียนของนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
คำสำคัญ:
เจตคติต่อพฤติกรรม, การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง, การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม, พฤติกรรมการศึกษาเนื้อหาวิชาจิตวิทยาสังคมจากตำราก่อนเรียน, นักเรียนนายร้อยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อเจตนาต่อพฤติกรรมการศึกษาเนื้อหาวิชาจิตวิทยาสังคมก่อนเข้าเรียนของนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 3 ตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 3 โรงเรียนพระจุลจอมเกล้า จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ มาตรวัดเจตคติต่อพฤติกรรมทางตรงและมาตรวัดทางอ้อม มาตรวัดการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางตรงและมาตรวัดทางอ้อม มาตรวัดการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมทางตรงและมาตรวัดทางอ้อม และมาตรวัดเจตนาต่อพฤติกรรมการศึกษาเนื้อหาวิชาจิตวิทยาสังคมจากตำราก่อนเรียน วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม สองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า เจตคติต่อพฤติกรรมการศึกษาเนื้อหาวิชาจิตวิทยาสังคมจากตำราก่อนเรียน (β =.30, p<.01) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (β =.54, p<.01) การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม (β =.63, p<.01) สามารถร่วมกันทำนายเจตนาต่อพฤติกรรมการศึกษาเนื้อหาวิชาจิตวิทยาสังคมจากตำราก่อนเรียนได้ร้อยละ 79.4 โดยการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม มีน้ำหนักในการทำนายเจตนาต่อพฤติกรรมการศึกษาเนื้อหาวิชาจิตวิทยาสังคมจากตำราก่อนเรียนของนักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 3 มากที่สุด (β =.63, p<.01)
References
ฐนัส มานุวงศ์. (2562). การจัดการเรียนการสอนเชิงรุก เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตามแนวคิดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 6, 232-263.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
พัชรี ดวงจันทร์. (2550). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนและดัชนีมวลกาย ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รุ่งอรุณ วัฒยากร. (2563). ความสามารถในการบริหารเวลาของนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 7, 51-63.
ศบงกช อุดมชัยพัฒนากิจ, สมิตา โรจนาบุตร, และอาย์วิชยา พิพัฒน์ชลธี. (2558). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกในนักศึกษามหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิลักษณ์ ธรรมวิมุตติ และประสพ ชัยพสุนนท์. (2559). อิทธิพลของทัศนคติ การคล้อยตามบรรทัดฐานของกลุ่ม อ้างอิง การควบคุมพฤติกรรมและบุคลิกภาพแบบเปิดเผยที่มีต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักศึกษาหญิงระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาคตะวันตก. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(1), 1533-1548.
อุกฤษฏ์ เอื้อวัฒนสกุล. (2559). ทัศนคติและความเชื่อของครอบครัว ความห่วงใยในสิ่งแวดล้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และอัตลักษณ์ส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารคลีนของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [สาระนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50(2), 179-211.
Asch, S. E. (1951). Effects of group pressure upon the modification and distortion of judgments, in H. Guetzkow (Ed.), Groups, leadership, and men. Carnegie Press.
Catellier, J. R. A., & Yang, Z. J. (2013). The role of affect in the decision to exercise: Does being happy lead to a more active lifestyle. Psychology of Sport and Exercise, 14(2), 275-282.
Dillard, J. P. (2011). An application of the integrative model to women's intention to be vaccinated against HPV: implications for message design. Health Communication, 26(5), 479-486.
Moan, I. S., & Rise, J. (2011). Predicting intentions not to “drink and drive” using an extended version of the theory of planned behavior. Accident Analysis & Prevention, 43(4), 1378-1384.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบในทุกกรณี
บทความและข้อมูลที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารผู้ใดต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากบรรณาธิการวารสารก่อนเท่านั้น และบทความที่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องไม่ปรากฎในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนที่จะปรากฎในวารสารนี้ กองบรรณาธิการจะส่งวารสารที่มีบทความของผู้เขียนตีพิมพ์ให้แก่ผู้เขียนจำนวน 1 ฉบับ