คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นวารสารเพื่อเผยแพร่บทความทางวิชาการและผลงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องในสาขาศึกษาศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ ภาษาศาสตร์ พัฒนาสังคม และสหวิทยาการทางด้านสังคมศาสตร์ เพื่อให้นักวิจัยและเจ้าของผลงานนิพนธ์สามารถเตรียมต้นฉบับได้ถูกต้อง และได้มาตรฐานตามรูปแบบของวารสาร จึงขอชี้แจงดังนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาบทความ
1. กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบ เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว
2. กองบรรณาธิการจะตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสารฯ รวมถึงประโยชน์ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ
3. ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะส่งบทความเพื่อทำการกลั่นกลองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยในกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้ เป็นการประเมินบทความแบบสองทาง (Double-Blind Process) กล่าวคือ จะไม่เปิดเผยชื่อผู้ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิทราบและจะไม่เปิดเผยชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้ส่งบทความทราบ และกองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยทั้งชื่อผู้ส่งบทความและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้บุคคลอื่นทราบด้วยเช่นกัน
4. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรได้รับการตีพิมพ์หรือควรส่งกลับให้กับผู้ส่งบทความเพื่อแก้ไขก่อนพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หรือปฏิเสธการลงตีพิมพ์
5. ผู้วิจัยต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนดและผู้วิจัยต้องยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
6. การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ได้หรือไม่นั้น ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารถือเป็นที่สิ้นสุด
ขั้นตอนการส่งต้นฉบับ
1. แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารฯ (บว.36) ผู้ส่งบทความต้องลงนาม
2. บันทึกข้อความ เรื่อง รับรองบทความวิจัยและประเมินคุณภาพบทความสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ (บว.37) ในกรณีที่เป็นนักศึกษาให้อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ลงนาม
3. ให้ผู้วิจัยส่งต้นฉบับบทความไฟล์ Word และ PDF พร้อม Scan ใบคำร้อง บว.36 และบว.37 ส่งมาที่กองบรรณาธิการทางระบบ Thaijo เว็บไซต์ https://www.tci-thaijo.org/index.php/graduatepsru เท่านั้น
ขั้นตอนการดำเนินงานภายหลังรับต้นฉบับบทความ
1. กองบรรณาธิการวารสารตรวจสอบบทความเบื้องต้น หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) พิจารณาบทความ หากพบว่าเนื้อหาไม่ผ่านการพิจารณา (ปฏิเสธการตีพิมพ์) ของผู้ทรงคุณวุฒิ ทางกองบรรณาธิการจะส่งคืนต้นฉบับให้ผู้วิจัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนผลงานที่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งสิ่งที่ต้องปรับแก้ไขให้ผู้วิจัยทราบ เพื่อทำการแก้ไขจนกว่าบทความจะมีความสมบูรณ์
2. บทความที่ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ได้รับการยืนยันให้ตีพิมพ์ได้แล้วนั้น จะเข้าสู่การพิจารณาโดยกองบรรณาธิการวารสารเป็นขั้นตอนสุดท้าย บทความบางเรื่องอาจไม่ได้รับการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการวารสารถือเป็นที่สิ้นสุด
3. กองบรรณาธิการวารสารแจ้งตอบรับบทความให้ผู้วิจัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมระบุฉบับที่ลงตีพิมพ์
การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ
1. ความยาวของบทความไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ ขนาด B5 (JIS) พิมพ์หน้าเดียว (นับรวมรูปภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง) พื้นที่ของกระดาษที่ใช้พิมพ์ ให้เว้นขอบบน 2.54 เซนติเมตร ขอบล่าง 1 เซนติเมตร ขอบซ้าย 2 เซนติเมตร และขอบขวา 2 เซนติเมตร
2. รูปแบบตัวอักษร ให้จัดพิมพ์ด้วยแบบตัวอักษร TH Sarabun New เท่านั้น
3. ชื่อเรื่องบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 pt. (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
4. ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวอักษรปกติ) จัดชิดขวา
5. ชื่อสังกัดหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ Corresponding Author, E-mail: ขนาดตัวอักษร 12 pt. (ตัวอักษรปกติ) จัดชิดซ้าย
6. หัวข้อ ได้แก่ บทคัดย่อ Abstract บทนำ วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิดในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย ไม่ใส่เลขลำดับที่
7. การใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) ทวิภาค ( : ) และอัฒภาค ( ; ) ให้พิมพ์ต่อเนื่องกับอักษรตัวหน้า และเว้น 1 วรรคตัวอักษรก่อนข้อความต่อไป เช่น
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(เธียรศรี วิวิธสิริ, 2527: 32-38; นวลละออ สุภาผล, 2527)
8. ชื่อภาพ ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวหนา) ให้ระบุไว้ใต้ภาพ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ภาพ เช่น ภาพ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
9. รายการของเอกสารอ้างอิงภาษาไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ต้องเติมคำว่า “(in Thai)” ต่อท้าย ทุกรายการของเอกสารอ้างอิงภาษาไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ
การเขียนเอกสารอ้างอิง
เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือ หรืออินเตอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้นิพนธ์เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด ในการเขียนเอกสารอ้างอิงใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามรูปแบบของ The American Psychological Association (APA, 6th Edition) โดยเนื้อหาเอกสารอ้างอิงแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ดาวน์โหลดการเขียนเอกสารอ้างอิง ที่นี่ค่ะ