The Components of Service Quality for Foreign Muslim Tourists in Thailand
DOI:
https://doi.org/10.14456//psruhss.2021.10Keywords:
Service Quality Component, Service for Foreign Muslim TouristAbstract
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดท่องเที่ยวมุสลิมถือได้ว่าเป็นกลุ่มตลาดที่มีการเพิ่มจำนวนขึ้น อีกทั้งผลิตภัณฑ์และการบริการสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยวมุสลิมระหว่างท่องเที่ยวในแต่ละประเทศอย่างสูงสุด จึงเป็นที่มาของการวิจัย เรื่อง องค์ประกอบการให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมุสลิมในประเทศไทย เพื่อศึกษาองค์ประกอบในการให้บริการนักท่องเที่ยวต่างชาติมุสลิม โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างผ่านแบบนำสัมภาษณ์ จำนวน 410 ตัวอย่าง และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ทำงานในธุรกิจที่พัก จำนวน 17 คน ผลการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Exploratory Factor Analysis: EFA) ที่มีค่าความสามารถในการสกัดปัจจัย (Kaiser-Meyer-Olkin : KMO) เท่ากับ 0.957 ค่า Bartlett's Test of Sphericity เท่ากับ 27,720 ค่าระดับความเป็นอิสระ (Degree of Freedom: df) เท่ากับ 990 และนัยสำคัญทางสถิติ (P Value) เท่ากับ 0.00 พบว่า องค์ประกอบการให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมุสลิมในประเทศไทย ได้ลดลงจาก 7 องค์ประกอบ เหลือเพียง 5 องค์ประกอบ โดยผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองใหม่ มีค่าสถิติ ดังนี้ ค่า Chi-square เท่ากับ 643.398 มีค่าความน่าจะเป็น เท่ากับ 0.000 ที่องศาอิสระ Degrees of freedom (df) เท่ากับ 509 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (Goodness of Fit Index: GFI) มีค่าเท่ากับ 0.920 (ควรมีค่ามากกว่า 0.90) ค่า X2/df (CMIN/DF) เท่ากับ 1.264 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนเหลือมาตรฐาน (Root Mean Squared Residual: RMR) เท่ากับ 0.010 ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (Root Mean Square Effort of Approximation: RMSEA) เท่ากับ 0.025 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้อง (Tucker Lewis Index: TLI) เท่ากับ 0.990 และค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (Comparative Fit index: CFI) เท่ากับ 0.992 รวมทั้ง ค่าดัชนีที่ปรับแก้แล้ว (Adjust Goodness of Fit Index: AGFI) เท่ากับ 0.901 (Durande-Moreau & Usunier, 1999; Harrison-Walker, 2001) แสดงว่า ค่าสถิติหลังการปรับปรุงยืนยันได้ชัดเจนกว่าก่อนการปรับปรุงว่า โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองขององค์ประกอบการให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมุสลิมในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองขององค์ประกอบการให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมุสลิมใน
ประเทศไทย จึงประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ เรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ได้แก่ (1) ด้านการอำนวยความสะดวก มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.97 (2) ด้านความรับผิดชอบต่อศาสนาและสังคม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.82 (3) ด้านสุขลักษณะ-สุขอนามัย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.74 (4) ด้านประสิทธิภาพในการให้บริการของพนักงาน มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.70 และ (5) ด้านการรักษาความปลอดภัย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.52 นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังได้เสนอแนะให้ผู้ประกอบการธุรกิจที่พักให้ความสำคัญในการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่เน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเป็นตลาดใหญ่และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงศึกษาหลักศาสนบัญญัติของศาสนาอิสลามเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจที่พักให้ถูกต้องตามศาสนบัญญัติ (Shariah-Compliant Hotel) รวมทั้งการขอรับใบอนุญาตมาตรฐานการให้บริการแบบฮาลาล (Halal Certificate) เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวมุสลิมว่าจะได้รับการดูแล เอาใจใส่ได้อย่างถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติ สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวมุสลิม และสร้างโอกาสและ
การได้เปรียบทางธุรกิจในประเทศไทยเพื่อการเป็นผู้นำด้านการบริการท่องเที่ยวและโรงแรมในกลุ่มประเทศสมาชิกเศรษฐกิจอาเซียน
References
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). มาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยว ประเภทโรงแรม เล่ม 1. สืบค้น 4 ตุลาคม 2559, จาก http://thaihotels.org/wp-content/uploads/2012/08/.
จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัย. (2557). ตลาดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ: โอกาสใหม่ไทย เติบโตรับ AEC. สืบค้น 17 กันยายน 2562, จาก http://www.itd.or.th
ศราวุฒิ อารีย์. (2559). การต่อสู้กับจิตใจ และกฎการทำศึกของอิสลาม. สืบค้น 30 มกราคม 2560, จาก https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/52178-war-52178.html
สงกรานต์ กลมสุข. (2558). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-คาร์บอนต่ำในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21(3), 385-397.
สมยศ หวังอับดุลเลาะ. (2549). การใช้กฎหมายอิสลามลักษณะครอบครัวในกรุงเทพมหานคร. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อานนท์ กระออมแก้ว. (2555). แนวทางการปรับปรุงโรงแรมเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมุสลิม กรณีศึกษาโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พัฒนศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Durande-Moreau, A., & Usunier, J. (1999). “Time Styles and the Waiting Experience: An Exploratory Study”. Journal of Service Research, 2(2), 173-186.
Harrison-Walker, L. J., (2001). The measurement of word-of-mouth communication and investigation of service quality and customer commitment as potential antecedents. Journal of Service Research, 4(1), 60-75.
Mohd Rizal Razalli. (2013). Developing a Model for Islamic Hotels: Evaluating Opportunities and Challenges. Retrieved September 1, 2017, from http://repo.uum. edu.my/7089/
Nor Zafir Md Salleh. (2014). The Practice of Shariah-Compliant Hotel in Malaysia. International Journal of Trade, Economics and Finance, 5(1), 26-30.
Rosenberg, P., & Choufany, H. M. (2009). Spiritual Lodging–The Sharia-Compliant Hotel Concept. HVS Global Hospitality Services–Dubai.
Shirzad Mansouri. (2014). Role of Halal Tourism Ideology in Destination Competitiveness: A Study on Selected Hotels in Bangkok, Thailand. International Conference on Law, Education and Humanities (ICLEH'14) Jan. 30-31, 2014 Pattaya Thailand.
Yamane, T. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper & row.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.