การขับร้องเพลงทะแย เถา ของครูองุ่น บัวเอี่ยม
Keywords:
ทะแย เถา, เสียงดาด, เสียงลงทรวง, กนกคอ, ประคบเสียง, ประคบคำ, Tha-yaeThao, Siang-dat, Siang-long-suang, Ka-nok-khor, Pra-kop-siang, Pra-kop-khamAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงานของครูองุ่นบัวเอี่ยม 2) เพื่อศึกษาวิธีการขับร้องเพลงทะแยเถาที่ขับร้องโดยครูองุ่นบัวเอี่ยมซึ่งมีรายละเอียดที่ศึกษาคือการแบ่งระยะหายใจการแบ่งวรรคตอนของเนื้อเพลงวิเคราะห์คำร้องแต่ละคำโดยเปรียบเทียบทำนองร้องเสียงวรรณยุกต์วิเคราะห์การเอื้อนและวิเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการขับร้องโดยยึดหลักทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคนิควิธีการขับร้องของนักวิชาการเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1) ครูองุ่นบัวเอี่ยมมีประวัติและผลงานที่เชี่ยวชาญทั้งในด้านการขับร้องดนตรีและนาฏศิลป์ตลอดจนการประดิษฐ์เครื่องดนตรีประเภทอังกะลุงนอกจากนี้ยังมีความสามารถในการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายชุดละครสำหรับนักแสดง
2) จากการศึกษาวิธีการขับร้องเพลงทะแยเถาพบว่าครูองุ่นบัวเอี่ยมมีหลักและกลวิธีพิเศษในการขับร้องทั้งคำร้องทำนองและการเอื้อนตามแบบแผนของหลักคีตศิลป์ไทยโดยใช้ศัพท์สังคีตเฉพาะได้แก่เสียงดาดเสียงลงทรวงกนกคอประคบเสียงประคบคำกลวิธีพิเศษนี้เป็นเทคนิคเฉพาะตัวที่ใช้ในการขับร้องเพื่อให้เพลงมีความไพเราะซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของครูองุ่นบัวเอี่ยม
A singing techique for Tha-Yae Thao song of Mrs.A-ngoon Bua-iam
The purposes of this study were 1) to study the background and personal information of Mrs. A-ngoon Bua-iam, and 2) to study technique for singing Tha-yae Thao song which was sung by Mrs. A-ngoon Bua-iam. The details included dividing breath and punctuation with in the song. Each of the word was analyzed by comparing its melody to tonal accent. Drawing the voice and singing techniques were also analyzed by using the theory of academic thai classical singing techniques. The main research tool was an interview form. The study shows that:
1) Mrs. A-ngoon Bua-iam was an expert at singing thai classical song, playing music and performing thai classical dance. Her excellent works were also inventing Ang-ka-lung musical instruments and creating thai drama costume.
2) She had her special traditional techniques for singing words, melody and drawing voice. Her musical technical terms were Siang-dat, Siang-long-suang, Ka-nok-khor, Pra-kop-siang, and Pra-kop-kham. These special singing techniques brought about beautiful song and also her musical identity.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.