ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

Authors

  • ณปภัช อำพวลิน นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารการศึกษา, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สมหมาย อ่ำดอนกลอย อาจารย์ ดร. ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

รูปแบบภาวะผู้นำ, ความพึงพอใจ, Leadership, Motivation

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาแรงจูงใจในการทำงานของครูและความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมพิษณุโลกเขต 1 ประชากรได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 ประชากร 2,096 คนโดยแบ่งออกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา 130 คนและครูผู้สอน 1,966 คนกลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 97 คนและครูผู้สอนจำนวน 322 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามภาวะผู้นำและแบบสอบถามแรงจูงใจในการทำงานของครูเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Peason’s product moment correlation)

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาตามรูปแบบภาวะผู้นำแต่ละแบบพบว่าผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำมากทั้ง 4 แบบเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมภาวะผู้นำแบบสนับสนุนภาวะผู้นำแบบมุ่งผลสำเร็จและภาวะผู้นำแบบสั่งการ 

2. แรงจูงใจในการทำงานของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านครูมีแรงจูงใจในการทำงานอยู่ในระดับมากทั้ง 2 ด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน 

3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำที่ระดับ .05 (r = 0.11) ส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำและมีความสัมพันธ์ทางบวกเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ตามรูปแบบภาวะผู้นำทั้ง 4 แบบพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่มีความสัมพันธ์สูงสุดคือภาวะผู้นำแบบสนับสนุนมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.12) กับแรงจูงใจในการทำงานของครูความสัมพันธ์ภาวะผู้นำในระดับรองลงมาคือภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม   มีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.09) กับความพึงพอใจในการทำงานของครูส่วนความสัมพันธ์ภาวะผู้นำลำดับสุดท้ายคือภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จของงานมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.07) กับความพึงพอใจในการทำงานของครู

 

A study of relationship between leadership administrators and job motivation of teachers in schools under Phitsanulok Primary Education Service Area Office 1

The purposes of this research were to study the leadership of school administrators, the job motivation of teacher and the relationship between leadership of school administrators and job motivation of teachers schools under Phitsanulok Primary Education Service Area Office 1. 

The population in this study consisted of 2,096 school administrators and teachers under Phitsanulok Primary Education Service Area Office 1 people were divided into 130 school administrators and 1,966 teachers and the samples were 97 school administrators and 322 teachers. Research instrument were a questionnaire leadership and job motivation of teachers, was used rating scale questionnaires with 5 levels. The statistics used for analysis were percentage, mean, standard deviation and Peason’s product moment correlation

 The findings were as follows:

1. The leadership of school administrators under Phitsanulok Primary Education Service Area Office 1 had appeared as a whole and in each on the high level ranking from participative leadership, supportive leadership, achievement leadership and directive leadership respectively.

2. The job motivation  of teachers under Phitsanulok Primary Education Service Area Office 1 had appeared as a whole and in each on the high level ranking from, motivate factor and hygiene factor.

3. The relationship between the leadership of school administrators and motivation in the work of teachers. Positively correlated at a low level. 05 (r = 0.11), mainly in the lower level and a positive relationship. When considering the relationship leadership styles and 4 show that the relationship between leadership was correlated with supportive leadership. There was a positive correlation (r = 0.12) and motivation with the job of teachers. Leadership in a relationship is a minor participative leadership. There was a positive correlation (r = 0.09) and motivation with the job of teachers. Finally, the relationship of leadership is achievement leadership. There was a positive correlation (r = 0.07) and motivation with the job of teachers.

How to Cite

อำพวลิน ณ., & อ่ำดอนกลอย ส. (2016). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 8(2), 25–42. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55543