การศึกษาสภาพและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39
Keywords:
การบริหารสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน, เทคนิคเดลฟาย, School administration for ASEAN community entrants, Delphi methodAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 วิธีดำเนินงานวิจัยขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนกลุ่มเป้าหมายคือครูหัวหน้างานบริหารสถานศึกษาทั้ง 4 ฝ่ายจำนวน 232 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางในการบริหารสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้เทคนิคเดลฟายกลุ่มเป้าหมายคือผู้เชี่ยวชาญในการบริหารการศึกษาจำนวน 12 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามทำการเก็บข้อมูลจำนวน 3 รอบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านการบริหารจัดการด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมในโรงเรียนอยู่ในระดับมากด้านการจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง
2. แนวทางในการบริหารสถานศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 ได้แก่ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาควรเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของศูนย์อาเซียนมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องบูรณาการกิจกรรมอาเซียนเข้ากับทุกกิจกรรมด้านการจัดการเรียนการสอนควรพัฒนาครูให้มีความรู้ในเรื่องการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนมีสมรรถนะด้านภาษาและความสามารถด้านไอซีทีจัดแหล่งเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือทุกห้องเรียนด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมในโรงเรียนควรมีการจัดการประกวดผลงานเกี่ยวกับอาเซียนและให้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงานครูใช้เทคโนโลยีในการประชาสัมพันธ์และสรุปรายงานและด้านการจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์สร้างความตระหนักความรู้ความเข้าใจและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในคณะทำงานเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อาเซียน
A study of the state and guidelines of school administration for ASEAN Entrants of schools under Secondary Educational Service Area Office 39
This research aims were to study about the state and guideline of school administration for ASEAN community of schools under secondary educational service area office 39. In the first round, the research method was to study about the state to school administration for ASEAN community .The subjects of this research were 232 people who were leader of 4 sections in school administration. Research instrument was rating scale questionnaire. The statistics used for data analysis were mean and standard deviation. In the second round, the research method was to study the guideline for school administration for ASEAN community by using Delphi method. The subjects were 12 educational administrative experts. Research instrument was rating scale questionnaire that used for collecting data for 3 rounds. The statistics used for data analysis were Median and Quartiles. The result were founded that
1. The condition to school administration for ASEAN community of school under secondary educational service area office 39 in overall was a high level. When we considered in each sections by arranging mean from high to low, founding in order as follows: The administration, teaching and learning, the supporting activities. The actives for community relations were in a middle level.
2. The guideline for school administration for ASEAN community of schools under secondary educational service area office 39 such as In the administration, school should be in ASEAN Center Network , should do activities continuously ,integrate the activities together. In the teaching and learning, should develop teachers about learning design, to improve the student to be good in language and IT capability, to provide learning resources in every classroom. In the school activity, should have a competition about ASEAN and bring it to be a teacher work, to use technology to promote the school and to write the assessment. And in the actives for community relations, should make a realize, knowledge, understanding and participation in ASEAN learning resource development of community.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.