การใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
Keywords:
การใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, เศรษฐกิจพอเพียง, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, The using lives to follow sufficiency economy philosophy of the students of Industrial Technology Faculty, sufficiency economy, Industrial technologyAbstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในภาคการศึกษาปกติ ปีการศึกษา 2555 จำนวน 4 ชั้นปี รวม 920 คน เพศหญิง จำนวน 176 คน กลุ่มตัวอย่าง 118 คน เพศชาย 744 คน กลุ่มตัวอย่าง 433 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับนักศึกษา ส่วนที่ 2 ข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ส่วนที่ 3 ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นอื่น ๆ ของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จุดมุ่งหมายของการวิจัย ข้อที่ 1 เมื่อสรุปในด้านรวม พบว่าการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่า EMBED Equation.3 = 3.82 (S.D. = 0.45) เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะพบว่า ในคุณลักษณะความพอประมาณ ด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่า EMBED Equation.3 = 3.98 (S.D. = 0.63) และต่ำสุดคือด้านวัฒนธรรม มีค่า EMBED Equation.3 = 3.45 (S.D. = 0.57) ในคุณลักษณะความมีเหตุผลพบว่า ด้านวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ ในระดับมาก มีค่า EMBED Equation.3 = 3.98 (S.D. = 0.62) และต่ำสุดคือด้านวัตถุ มีค่า EMBED Equation.3 = 3.62 (S.D. = 0.44) และในคุณลักษณะการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพบว่า ด้านวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่า EMBED Equation.3 = 3.98 (S.D. = 0.65) และต่ำสุดคือด้านสิ่งแวดล้อม มีค่า EMBED Equation.3 = 3.62 (S.D. = 0.45)
จุดมุ่งหมายของการวิจัย ข้อที่ 2 การเปรียบเทียบด้านการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีระหว่างเพศชายกับเพศหญิงพบว่า เพศชายมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าเพศหญิง แสดงว่ามีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ นั้น พบว่าไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบตามสาขาวิชาพบว่า นักศึกษาที่มีสาขาวิชาต่างกัน มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อยกว่าสาขาวิชาเซรามิกส์และสาขาวิชาเครื่องกล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาสาขาวิชาเซรามิกส์ มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมสาขาวิชาก่อสร้างและสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมมีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อยกว่าสาขาวิชาเครื่องกล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสาขาวิชาอื่น ๆ นั้นพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบจำแนกตามชั้นปีพบว่านักศึกษาที่มีชั้นปีต่างกัน มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The using lives follow sufficiency economy philosophy of the students of industrial technology faculty Pibulsongkram rajabhat university Phitsanulok
The purposes of this research were to study and to compare using lives to follow sufficiency economy philosophy of the students of Industrial Technology Faculty, Pibulsongkram Rajabhat University Phitsanulok. The populations were the students of Industrial Technology Faculty, Pibulsongkram Rajabhat University Phitsanulok which studied in the regular program, in academic year 2555, four years, and 920 people. The questionnaire consisted of three parts: Part 1, Part 2, information on student data, whereas the level 5 Section 3: Information about other reviews of student statistics used in the analysis. The descriptive statistics Were frequency, percentage, mean and standard deviation.
The purposes of the research question 1 on the overall conclusions. The using lives follow sufficiency economy philosophy of the students majoring in industrial technology. In the overall level of the value EMBED Equation.3 = 3.82 (SD = 0.45) were classified according to the features found. In the temperance society, with an average high in the EMBED Equation.3 = 3.98 (SD = 0.63) and the lowest is the cultural value EMBED Equation.3 = 3.45 (SD = 0.57) in the rationality that cultural values. the average high in the EMBED Equation.3 = 3.98 (SD = 0.62) and the lowest is the precious EMBED Equation.3 = 3.62 (SD = 0.44) and in the self-immunity of the good that the cultures are averaged. a high level EMBED Equation.3 = 3.98 (SD = 0.65) and the lowest is the environmental EMBED Equation.3 = 3.62 (SD = 0.45).
The purposes of the research question 2 the comparative self-immunity between male with female revealed that: the male had on average less the female which provided the male with the female to have using lives to follow sufficiency economy philosophy at the significant level of .05 but non-different in another side. The comparative to follow subject field revealed that: the student different subject field had using lives to follow sufficiency economy philosophy different at the significant level of .05. Students in the Department of Industrial Design had using lives to follow sufficiency economy philosophy less the Field of Ceramics and Faculty of Engineering at the significant level of .05. Student in the Field of Ceramics had using lives to follow sufficiency economy philosophy more than Industrial Computer Program, the Major Construction and the Field of Electronics at the significant level of .05. Students in Industrial Computer Program had using lives to follow sufficiency economy philosophy less the Faculty of Engineering at the significant level of .05 for other field non-different. The comparative to follow year revealed that the different year of students to have using lives to follow sufficiency economy philosophy different at the significant level of .05. The first year student had using lives to follow sufficiency economy philosophy more than the junior and the senior at the significant level of .05.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.