การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และความพึงพอใจ ต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม
Keywords:
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และความพึงพอใจ, Development of Training Curriculum for Developing KnowledgeAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรมตามหลักสูตร และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจหลังการฝึกอบรมด้วยหลักสูตรดังกล่าว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูการศึกษาพิเศษและครูสอนเสริมในโรงเรียนเรียนร่วม ในอำเภอกงไกรลาศ จำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรฝึกอบรมฯ แบบประเมินหลักสูตรฝึกอบรมฯ แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมก่อนและหลังการอบรมฯ และแบบสอบถามความพึงพอใจหลังการอบรมด้วยหลักสูตรฝึกอบรมฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูการศึกษาพิเศษและ ครูสอนเสริมในโรงเรียนเรียนร่วม มีความเห็นว่าหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้และความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม หลักสูตรฝึกอบรมฯ มีคุณภาพ และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. หลังการอบรม ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูการศึกษาพิเศษ และครูสอนเสริม มีความรู้ด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสูงกว่าก่อนการอบรม
3. หลังการอบรมผู้อำนวยการโรงเรียน ครูการศึกษาพิเศษและครูสอนเสริมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตร ฝึกอบรมฯและคู่มือการใช้หลักสูตร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
The development of a training curriculum or developing knowledge and satisfaction inclusive education
The purposes of this research were 1) to develop a training curriculum for developing knowledge and satisfaction on inclusive education, 2) to compare the knowledge of inclusive education before and after training with the curriculum, and 3) to study the satisfaction after training with the curriculum. A total of 191 school principals, special education teacher and teacher assistants in Kongkrairat District were research sample. The instruments were a training curriculum, a curriculumevaluation form, an inclusive education test, and a satisfaction questionnaire. Mean and standard deviation were employed for data analyses.
The research findings were as follows;
School principals, special education teachers and teacher assistants rated the training curriculum as suitable for helping improve knowledge of inclusive education at a highest level.
After training with the curriculum, school principals, special education teachers and teacher assistants were found to be more acknowledgeable on inclusive education.
After training with the curriculum, school principals, special education teachers and teacher assistants were found to be more satisfied with the curriculum and its manual at a highest level.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.