รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

Authors

  • ศักดิ์นคร สีหอแก้ว นักศึกษาสาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ อาจารย์ ดร. ประจำคณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เอื้อมพร หลินเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำคณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

รูปแบบการสอน, ทักษะชีวิต, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา, Teachingmodel, Life Skills, School education expansion

Abstract

การวิจัยครั้งนี้จุดมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทักษะชีวิตนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 4) เพื่อประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาประชากรได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาปีการศึกษา 2556 รวม 385 คนกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 1 จำนวน 30 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานร้อยละและสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีการปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะชีวิอยู่ในระดับน้อยนักเรียนมีความต้องการที่จะพัฒนาทักษะชีวิตอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตมีลักษณะเป็นแบบแผนจำลองที่เป็นเอกสารประกอบด้วยคำชี้แจงหลักการแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างเนื้อหามาตรฐาน/ตัวชี้วัดหน่วยการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนการสอนการวัดและประเมินผลมีความสอดคล้องเชิงเนื้อหาและมีรูปแบบการสอนด้านความเหมาะสมอยู่ใน

ระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีผลการประเมินจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกกิจกรรมอยู่ในระดับดีมากและ 4) ผลการประเมินการทดลองใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาพบว่านักเรียนมีทักษะชีวิตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินทักษะชีวิตของนักเรียนหลังการทดลองกับระยะติดตามผลไม่แตกต่าง


A teaching Model to Develop Life Skill for Secondary School Students in Extended Schools

This research aimed 1) to study the basic life skills of the students in extended schools, 2) to construct and find the quality of teaching model, 3) to test the teaching model, 4) to evaluate the teaching model. The population of the study was 385 ninth grade students in the academic year of 2013. The samples were 30 ninthgrade students of WatChantawan-ok School under the Office of Primary Education Area 1 by purposive sampling. The data were analyzed by using mean, standard deviation, percentage, andt-test.The findings were as follows:

1. From the study of the basic life skills of the students in extended school, it was found that Students’ basic skills were at a low level; students needed the life skill development at a high level.

2. From the constructing and finding the quality of teaching model, it was found that the life skill teaching model had the characteristics of simulative model with teaching element at a high level and the appropriateness was at a highest level.

3. From the test of the teaching model, it was found that all the activities in the instructional activities overall were in highest levels.

4. From the evaluation of the teaching model, it was found that the students’ basic life skills prior to the test was at a moderate level and after testing the teaching model as well as the follow-up were at high levels. The comparison between the prior to and the post-test were statistically different at .05 and the follow-up was not different

Downloads

How to Cite

สีหอแก้ว ศ., ใบกุหลาบ ป., & หลินเจริญ เ. (2016). รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 9(1), 53–66. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55650