การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Keywords:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์, Learning packages, Develop Mathematical Problem Solving abilityAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้และศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนวัดหนองกรดตำบลหนองกรดอำเภอบรรพตพิสัยจังหวัดนครสวรรค์จำนวน 28 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สถิติที่ใช้ในในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test ผลการวิจัยพบว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพ 82.62/79.82 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมาก
Construction of Learning packages to Develop Mathematical Problem Solving Ability of Prathomsuksa Three Students
The purposes of this research were to construct and analyze the efficiency of learning packages to develop Mathematical problem solving ability of Prathomsuksa three students and to compare the Mathematical problem solving ability before and after using learning packages for Prathomsuksa three students and their satisfaction towards Mathematics learning by using learning packages to develop Mathematical problem solving ability of Prathomsuksa three students. The sample were 28 Prathomsuksa three students studying in the second semester of 2014 academic year at Watnongkrot School, Nongkrot sub-district, Banprotpisai, Nakhonsawan. The research instruments were Mathematical learning packages, the Mathematical Problem solving ability test and the satisfaction questionaire. The data were analyzed by percentage, mean, standard division, and t-test. The results have been found as follows. The efficiency ratio of Mathematics learning packages was 82.62/79.82. The students in mathematics problem solving after learning from the package were more able than before learning from the package at the .05 level of significance and the satisfaction towards mathematics learning of the students who attended the mathematics learning package was good level.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.