การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะการอยู่ร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3

Authors

  • น้ำเพชร ภู่แส นักศึกษาสาขาวิชาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ อาจารย์ ดร. ประจำคณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • พัชราวลัย มีทรัพย์ อาจารย์ ดร. ประจำคณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

พัฒนาตัวบ่งชี้, คุณลักษณะการอยู่ร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตย, นักเรียน, Development Indicators, A Feature Based on Democratic Coexistence, Students

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดคุณลักษณะการอยู่ร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะการอยู่ร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 จำนวน 443 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 49 ข้อครอบคลุม 3 องค์ประกอบได้แก่องค์ประกอบด้านการเคารพองค์ประกอบด้านความสามัคคีองค์ประกอบด้านการมีปัญญาสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์คุณลักษณะการอยู่ร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยใช้โปรแกรม SPSS for  WINDOWS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรม LISREL

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรลพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าไค-สแคว์สัมพัทธ์ (2 / df) มีค่าเท่ากับ 1.10  ค่า P-value เท่ากับ 0.30 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of Fit Index: GFI) มีค่าเท่ากับ 0.98 ค่าความคลาดเคลื่อน (Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA)  มีค่าเท่ากับ 0.015 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (Adjusted Goodness of Fit Index: AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.97  

2. ผลการศึกษาคุณลักษณะการอยู่ร่วมกันตามวิธีประชาธิปไตยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่าประกอบด้วย 3 องค์ประกอบซึ่งมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเรียงลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานจากมากไปน้อยดังนี้องค์ประกอบด้านความสามัคคีองค์ประกอบด้านการเคารพและองค์ประกอบด้านการมีปัญญาเท่ากับ 0.98, 0.97 และ 0.89 ตามลำดับ

 

A Development of Indicators of Democratic Living for Student in PrathomSuksa 4-6 under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3

The objectives of this study were 1) to verify the validity of the model of democratic living characteristics measurement against empirical data, 2) to develop and verify the quality of the indicators of democratic living of students. The participants were 443 students in Prathomsuksa 4-6 under Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3, selected through stratified random sampling technique. The instrument used was a five rating scale for democratic living of 49 items. The questionnaires composed of 3 aspects: The respect, The Unity and The intellect. The data were analyzed by mean, standard deviation, coefficient of variation, skewness and kurtosis by using SPSS  for WINDOWS  and  the  confirmatory factor analysis  were analyzed by LISREL program.

Results of this research were the follows:

1. The result of confirmatory factor analysis by using LISREL program, showed  that the resulted model fitted the empirical data The construct validity of models was consistent with empirical data with relative chi-square :2/df=1.10, P-value = 0.30, Goodness of Fit Index (GFI)=0.98, Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA)=0.015 and Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI)=0.97. 

2. The characteristics indicating democratic living consisted of three factors, Respect, Unity and Intellect. There three factors in the characteristics indicating democratic living, i.e. ethics, the unity, the intellect  and the respect ranging from the highest factor loading value to the lowest were 0.98, 0.97 and 0.89 respectively.

Downloads

How to Cite

ภู่แส น., ใบกุหลาบ ป., & มีทรัพย์ พ. (2016). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะการอยู่ร่วมกันตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 9(1), 145–162. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55665