การศึกษาคะแนนพัฒนาการความสามารถด้านการวิจัยของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • ปัณณวิชญ์ ใบกุหลาบ อาจารย์ ดร. ประจำคณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุขแก้ว คำสอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประจำคณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

คะแนนพัฒนาการ, ความสามารถทางการวิจัย, Growth score, Research ability

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการวิจัยของนักศึกษาครู เพื่อศึกษาผลการอบรมพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยและฝึกปฏิบัติการวิจัยภาคสนามของนักศึกษาครู และเพื่อศึกษาคะแนนการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ของความสามารถด้านการวิจัยของนักศึกษาครู ประชากร คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 50 คน และสาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 30 คน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ปีการศึกษา 2555 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบทดสอบวัดความสามารถทางการวิจัย แบบวัดความรู้การวิจัยเบื้องต้น แบบวัดความรู้การเก็บรวบรวมข้อมูล แบบวัดความรู้การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล แบบวัดความรู้การอภิปรายผลการวิจัย และแบบประเมินผลปฏิบัติการวิจัยภาคสนาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่มแบบไม่อิสระ (t–test for dependent sample) สถิติทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่มแบบอิสระ (t–test for independent samples) สถิติไคสแควร์ทดสอบความแตกต่างจำนวนความถี่ (c2) และสถิติการวัดความเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ (Relative Change Score)

ผลการวิจัยพบว่า

1. คะแนนความสามารถด้านการวิจัยของนักศึกษาครูก่อนเริ่มโครงการนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการวิจัย เท่ากับ 16.70 และเสร็จสิ้นโครงการนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการวิจัย เท่ากับ 57.23 เมื่อเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาความสามารถทางการวิจัย นักศึกษาครูมีความสามารถด้านวิจัยสูงกว่าก่อนเริ่มโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. คะแนนเฉลี่ยความสามารถทางการวิจัยของนักศึกษา ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านความรู้    การวิจัยเบื้องต้น ด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผล และด้าน  การอภิปรายผลการวิจัยหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนด้านปฏิบัติการวิจัยภาคสนาม (สาขาวิชาคณิตศาสตร์) มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 24.80 คิดเป็นร้อยละ 82.66 มีความสามารถด้านการปฏิบัติการวิจัยอยู่ในระดับดีมาก

3. คะแนนความสามารถด้านการวิจัยของนักศึกษาครู เมื่อแปลงคะแนนเป็นผลการเรียนโดยใช้คะแนนดิบได้เกรด A จำนวน 8 คน ได้เกรด B+ จำนวน 17 คน ได้เกรด B จำนวน 16 คน ได้เกรด C+ จำนวน 8 คน และได้เกรด C จำนวน 1 คน และใช้คะแนนการเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ ได้เกรด A จำนวน 36 คน ได้เกรด B+ จำนวน 7 คน และได้เกรด B จำนวน 7 คน จำนวนความถี่ที่ได้แต่ละผลการเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

A Study on Research Ability Growth Score of Teacher Students of Pibulsongkram Rajabhat University, Phitsanulok Province

The objectives of this research were 1) to study and compare the research ability of teacher students, 2) to develop the research ability and practice in field research of teacher students and 3) to study the relative change score concerning with the research ability of teacher students. The research population was drawn from the Pibulsongkram Rajabhat University’s students in the 2012 academic year. The samples were selected by purposive samplings which were the first year students in the 2012 academic year in Mathematics and English language from Faculty of Education, Pibulsongkram Rajabhat University in the amount of 50 students and 30 students, respectively. The instruments used in this research were ability test concerning with the research, basic research knowledge test, data collection knowledge test, data analysis and interpretation knowledge test, discussion knowledge test and field research evaluation test. The statistics used in data analysis were mean, standard deviation, t–test for dependent sample, t–test for Independent samples, Chi-square and Relative change score. The results of study were as follows:

1. The means of research ability scores of teacher students before attending and after attending the project were 16.70 and 57.23, respectively. After finishing the research ability development project, the research ability of teacher students was higher than before attending the project with significantly different at of 0.01 level.

2. The mean scores of research abilities of teacher students in 4 dimensions which were basic research knowledge, data collection, data analysis and interpretation and research discussion after attending the project were higher than before attending the project in 4 dimensions with significantly different at of .01 level. The mean of field research practice score, only for Mathematics, was 24.80 which was 82.66 percent. Therefore the research practice ability was in the excellent level.

3. The research ability score of teacher students, after transforming the studying result to the raw score, the students have obtained grade A, grade B+, grade B, grade C+ and grade C in the amount of 8, 17, 16, and 1, respectively. Using relative change score, the students have obtained grade A, grade B+, and grade B in the amount of 36, 7, and 7, respectively. The frequency for each study result was with significantly different at of .01 level.

Downloads

How to Cite

ใบกุหลาบ ป., & คำสอน ส. (2016). การศึกษาคะแนนพัฒนาการความสามารถด้านการวิจัยของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 9(2), 29–50. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55700