แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • สุกานดา ผิวอ่อนดี นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการประยุกต์, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อุษณีย์ เส็งพาณิช อาจารย์ ดร. ประจำคณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ธัมมะทินนา ศรีสุพรรณ อาจารย์ ดร. ประจำคณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

Keywords:

แนวทางการบริหารจัดการ, กองทุนหมู่บ้าน, Management practices, Optimize

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคิดเห็นของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี และเพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของกองทุนหมู่บ้าน ในเขตตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกกองทุนหมู่บ้านภายในเขตตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 340 คน ได้มาโดยการคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และสุ่มโดยวิธีแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportion Stratified Random Sampling) ใช้แบบสอบถามตามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกกองทุนหมู่บ้านมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการกองทุนตามหลักการบริหารจัดการที่ดีของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านนิติธรรม ด้านความรับผิดชอบ ด้านคุณธรรม ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความคุ้มค่า และด้านความโปร่งใส ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ในเขตตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี พบว่ามีการเสนอแนะในด้านความรับผิดชอบมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความโปร่งใส ด้านคุณธรรม ด้านความคุ้มค่า ด้านนิติธรรม และด้านการมีส่วนร่วม ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วเห็นว่ามีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดให้มีการอบรมการประกอบอาชีพเสริมให้แก่สมาชิกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

Management Practices to Optimize the Fund Management Fund in Tambon Tha Muen Ram Wangthong District of Phitsanulok Province

The purpose of this research were to study the opinion on the efficiency of fund management in Tambon Tha Muen Ram Wang Thong District of Phitsanulok province according to good management and to study the guidelines for the management to optimize the fund management in Tambon Tha Muen Ram Wang Thong District of Phitsanulok province.

The samples used in the research were 340 people by the formula of Taro Yamane size 95% with random stratified proportional method. The questionnaire was developed as a tool to collect data. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, and standard deviation.

The results showed that additional funds opinions the members ‘s opinions on fund management principles and good management of the fund at a high level. When considering by each item it was found were was high in all aspects ranging from high to low in the following: rule of law, management of the responsibility was the moral and participation were responsibility, moral, participation, worthiness and transparency. Suggestions to fund village in Tambon Tha Muen Ram Wang Thong district of Phitsanulok province based on the good management principle found that the recommendation in the transparency, moral, worthiness, rule of law and participation respectively. When considering by each item, it was found that the recommendations relating to the provision of supplementary occupational training to its members should be organized at least 1 time per year.

Downloads

How to Cite

ผิวอ่อนดี ส., เส็งพาณิช อ., & ศรีสุพรรณ ธ. (2016). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านในเขตตำบลท่าหมื่นราม อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. Humanities and Social Sciences Journal of Pibulsongkram Rajabhat University, 9(2), 125–141. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/GraduatePSRU/article/view/55716