การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา
Keywords:
ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, เกมการศึกษา, เด็กปฐมวัย, Problem Solving Ability, Educational game, Pre-school childrenAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา 2) ศึกษาระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยอายุ 3-4 ที่ศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน 16 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จำนวน 16 แผน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้เกมการศึกษา จำนวน 16 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test (dependent) ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษา เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับดี
Abstract
The purposes of this research were 1) to compare the problem solving ability of pre-school children before and after learning through educational game 2) to study the proficiency level in problem solving after learning through educational game. Sample group was 3-4 year old pre-school children in Watwangsomrong School Child Derelopment Center, Taphahin, Phichit on the second term of academic year 2015 (16 pre-school children in 1 classrom) by simple random sampling. Reserch Instruments were 16 experience learning plans and 16 items the proficiency test in problem solving through educational game. The data resulted from the experimentation were analyzed by using mean ( ), percentage (%), standard deviation (SD) and dependent t-test.
The results of this research were as follows ;
- After learning through educational game the pre-school children ability in
problem solving was higher than pre-learning at 0.5 significance level.
- After learning through educational game the pre-school children ability in
problem solving was at good level overall.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Any articles or comments appearing in the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University, are the intellectual property of the authors, and do not necessarily reflect the views of the editorial board. Published articles are copyrighted by the Journal of Humanities and Social Sciences, Rajabhat Phibulsongkram University.